แสดง 1 ถึง 15 จาก 50 รายการ
-
ข้ามโพสต์ซับฯ (post-subculture): ข้อถกเถียงและทิศทางการศึกษาวัฒนธรรมวัยรุ่น
การศึกษาวัยรุ่นในบริบทร่วมสมัยเกิดดีเบตในแวดวงวิชาการระหว่างสองกระบวนทัศน์ ได้แก่ หลังวัฒนธรรมย่อย และวัฒนธรรมย่อย การโต้เถียงที่เกิดขึ้นนำมาสู่การเสนอกระบวนทัศน์การศึกษาวัฒนธรรมวัยรุ่นในแนวทางใหม่
ข้ามโพสต์ซับฯ, post-subculture, ข้อถกเถียง, ทิศทางการศึกษา, วัฒนธรรมวัยรุ่น
-
พินิจวิกฤตทุนนิยมผ่านซอมบี้ศึกษา (Zombie study)
แม้ซอมบี้ไม่ใช่ผี ปีศาจ หรืออสูรกายที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศไทย แต่ทว่าเรื่องราวของซอมบี้ได้ปรากฏให้เห็นโดยทั่วไปในสังคม ทั้งในรูปแบบหนังสือ ซีรีส์ ไปจนถึงสื่อภาพยนตร์
-
ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์: พิจารณาความทุกข์ในฐานะเหตุการณ์ทางปรัชญา
นักอ่านที่สนใจงานฝ่ายซ้ายใหม่ ๆ ในไทยน่าจะคุ้นชื่อของ Alain Badiou และมโนทัศน์เรื่องเหตุการณ์ของเขา ซึ่งหมายถึงเหตุการณ์ที่ท้าทายโครงสร้างทางสังคม ระบบระเบียบ และสถานะเดิม
-
สงครามระหว่างศาสตร์และบทสะท้อนหลังสงคราม
เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ทางปัญญาของโลกวิชาการ นำมาซึ่งการโต้เถียงอย่างเผ็ดร้อนระหว่างนักวิชาการกลุ่มที่สมาทานแนวคิดแบบหลังสมัยใหม่ในสายมนุษยศาสตร์ และนักวิชาการที่สมาทานแนวคิดแบบวิทยาศาสตร์
-
จากเครือข่ายการแลกเปลี่ยนระหว่างมนุษย์ สู่เครือข่ายของสรรพสิ่ง (From Human Relations to the Entangled Material-Semiotic Relation)
แนวคิดเครือข่าย-ผู้กระทำการจัดเป็นหนึ่งในกลุ่ม "ทฤษฎีเครือข่าย" ที่มุ่งศึกษาเส้นทางและกระบวนการของการปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นภายในระบบหนึ่ง ๆ ซึ่งมีนัยยะหลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละแนวคิด
-
เอ็นจอยอย่างไหน ก็เป็นอย่างนั้น?: จิตวิเคราะห์กับฝ่ายซ้าย
บทความนี้ตั้งใจคงคำว่าเอ็นจอยเมนต์ไว้ในรูปศัพท์อังกฤษ เพราะคำแปลไทยที่มีอยู่ทั่วไป ยังไม่อาจครอบคลุมความหมายทั้งหมดตามแนวทางจิตวิเคราะห์สาย Jacques Lacan ซึ่งยังมีแง่มุมของความเจ็บปวด ความสูญเสีย หรือการทำลายตัวเองด้วย
-
มานุษยวิทยาของเวลา (Anthropology of Time)
งานศึกษา“เวลา”ของนักมานุษยวิทยาที่สำคัญชี้ให้เห็นว่าเมื่อเข้าไปทำงานภาคสนามและอยู่ในพื้นที่วัฒนธรรมของคนพื้นเมือง สิ่งที่ปฏิบัติในเรื่องเวลาคือการปรับตัวเข้ากับท้องถิ่น เสมือนว่ากำลังอยู่ในเวลาเดียวกับคนท้องถิ่น
-
Posthuman Anthropology: ข้อสังเกตของ Alf Hornborg
นักมานุษยวิทยาที่สนใจระบบทุนนิยมโลกที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ชี้ให้เห็นว่าความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจได้บดบังกลไกที่ไม่เป็นธรรมและสร้างความเหลื่อมล้ำให้กับคนจำนวนมาก
-
ข้ามพรมแดนความรู้ด้วยมุมมองข้ามศาสตร์ผ่านเลนส์ “ทฤษฎีเครือข่าย – ผู้กระทำการ (Actors - Network Theory)”
เมื่อพูดถึงศาสตร์ที่มนุษย์เราเล่าเรียนเส้นแบ่งที่พบคือการแยกองค์ความรู้ต่าง ๆ เป็นสองขั้ว คือฝั่งของวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ยิ่งก้าวขึ้นไปในวงการการศึกษาระดับสูงเส้นแบ่งของทั้งสองศาสตร์ก็ยิ่งถูกลากให้ชัดเจนขึ้น
ความรู้, พรมแดน, มุมมองข้ามศาสตร์, ทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำการ, Actor-Network Theory
-
เทคนิคเชิงจักรวาลทัศน์ (Cosmotechnics)
ทบทวนสถานะและบทบาทของมนุษย์ที่กระทำต่อโลกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความปั่นป่วน ความไม่มั่นคง และการเสื่อมคลายอำนาจของตะวันตก ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าโลกจะเดินหน้าไปอย่างไรท่ามกลางความขัดแย้งและความเหลื่อมล้ำ
-
แนวคิดการเปลี่ยนสภาพ (metamorphosis)
แนวคิดเรื่องการเปลี่ยนสภาพ ใช้อธิบายสถานการณ์โลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ทั้งในเชิงกายภาพ ความคิด และความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน ถือเป็นการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่ถอนรากถอนโคน
-
ทฤษฎีสมคบคิดในมุมมองมานุษยวิทยา
ทฤษฎีสมคบคิดเป็นโครงสร้างของเรื่องเล่าแบบหนึ่งที่เกิดจากการรวบรวมเงื่อนงำเล็ก ๆ และข้อสงสัยเข้าด้วยกันเพื่ออธิบายการกระทำของผู้มีอำนาจที่มองไม่เห็น ซึ่งความจริงของเรื่องเล่านั้นมักเป็นปริศนาหรือไม่กระจ่างชัด
-
มานุษยวิทยากับการหันมามอง “ความไม่รู้”
ความไม่รู้ เป็นสภาวะของการขาดความรู้ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ตั้งแต่ความบริสุทธิ์ไร้เดียงสา ความไม่สามารถเข้าถึง รับรู้ หรือเข้าใจข้อมูลบางอย่างได้ ตลอดจนการติดอยู่ในจิตสำนึกที่ผิดพลาดซึ่งเป็นผลมาจากจุดยืนทางอุดมการณ์บางอย่าง
-
วิถีการ/ความรู้ในโลกทางสังคม
การรู้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการประมวลข้อมูลที่ได้จากการรับรู้จนเกิดเป็นความเข้าใจในระดับต่าง ๆ กระนั้นเอง ความเข้าใจที่เกิดขึ้นก็อาจผันแปรต่างกันไปได้ในบรรดาผู้คนซึ่งมีอัตวิสัยแตกต่างกัน
-
มานุษยวิทยาพ้นสังคม (Post-Social Anthropology) กับการท้าทายของมานุษยวิทยาชายขอบ
มานุษยวิทยาข้ามพ้นสังคมหมายถึงมานุษยวิทยาที่ยังไม่มีใครรู้จัก เป็นการทำความเข้าใจสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตแต่ไม่สามารถคาดเดาและประเมินได้อย่างแน่ชัด สิ่งนี้ทำให้เกิดการสร้างเนื้อหามานุษยวิทยาแบบใหม่
มานุษยวิทยา, มานุษยวิทยาพ้นสังคม, ชายขอบ, Post-Social Anthropology