บทความ

แสดง 1-1 จากทั้งหมด 1 รายการ

รื้อสร้างมายาคติ “ความเป็นชาย” ในสังคมไทย


        บทความเรื่องนี้เป็นการทบทวนการศึกษา “ความเป็นชาย” ในสังคมไทย ซึ่งมักจะตกอยู่ใต้กระบวนทัศน์แบบตะวันตก ทำให้การอธิบายและการวิเคราะห์บทบาทของผู้ชายทั้งในแง่เพศภาวะและเพศวิถีเป็นการมองแบบสูตรสำเร็จที่เกิดจากบรรทัดฐานของรักต่างเพศ (Heteronormativity)  และอิทธิพลความรู้ทางวิทยาศาสตร์/ชีววิทยา ที่ใช้อธิบายความแตกต่างของเพศภาวะหญิงชาย   กระบวนทัศน์นี้ส่งผลให้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นชายในสังคมไทยผูกติดกับเพศสรีระและเชื่อว่าความเป็นชายเป็นสิ่งเกิดขึ้นโดยกำเนิดและติดตัวมากับเพศชาย    นอกจากนั้น ยังทำให้เชื่อว่าผู้ชายเป็นเพศตรงข้ามกับผู้หญิง และมีอำนาจเหนือกว่าผู้หญิง ความเชื่อนี้มีอิทธิพลต่อแนวคิดทฤษฎีเฟมินิสต์ ทฤษฎีอัตลักษณ์ทางเพศ และทฤษฎีจิตเวิเคราะห์ตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา และได้ถูกทำให้กลายเป็นทฤษฎีสากลสำหรับการอธิบายว่าอะไรคือบทบาทของหญิงและชาย

                การรื้อสร้างมายาคติและภาพตัวแทนดังกล่าวข้างต้น จำเป็นต้องทำความเข้าใจว่าทำไมนักวิชาการไทยจึงศึกษาความสัมพันธ์ชายหญิงด้วยกระบวนัทศน์ตะวันตก ที่เชื่อว่าเป็นสิ่งสากลและนำไปใช้อธิบายปรากฎการณ์เกี่ยวกับเพศภาวะและเพศวิถีได้ทุกหนทุกแห่ง  ความเข้าใจเรื่องเพศภายใต้อิทธิพลความรู้ตะวันตกนี้ได้บิดเบือนและบดบังบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่มีเงื่อนไขเฉพาะของสังคมไทย   จนทำให้นักวิชาการกระโจนเข้าหาทฤษฎีเฟมินิสต์ หรืออัตลักษณ์ทางเพศโดยลืมที่จะตั้งคำถามต่อตัวทฤษฎีเหล่านั้น   ในแวดวงวิชาการ เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่าการนำทฤษฎีเกี่ยวกับเพศภาวะและเพศวิถีตะวันตกมาอธิบายบทบาทชายหญิงในสังคมอื่นเป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะจะไม่ได้ช่วยให้เข้าใจความหลากหลายของการแสดงออกถึงความเป็นหญิงและชาย   รวมทั้ง   ยังทำให้เกิดการผลิตซ้ำวาทกรรมเรื่องสัญชาตญาณทางเพศที่ธรรมชาติสร้างขึ้น หรืออัตลักษณ์ทางเพศแบบคงที่ถาวร   ดังนั้น การศึกษาความเป็นชายในสังคมไทยจึงต้องตรวจสอบทฤษฎีตะวันตกที่นำมาวิเคราะห์

อ่านต่อ..
คำสำคัญ: ความเป็นชาย, บรรทัดฐานรักต่างเพศ, เพศภาวะ, เฟมินิสม์, สังคมสยาม, ความศิวิไลซ์