บทความ

แสดง 1-5 จากทั้งหมด 5 รายการ

เควียร์กับการวิพากษ์มานุษยวิทยากระแสหลัก


ในบทความนี้ต้องการจะชี้ให้เห็นว่ากรอบความคิดแบบเควียร์ ไม่ใช่เป็นตัวทฤษฎีที่มีไว้อธิบายว่าอะไรคือเพศภาวะและเพศวิถี  หากแต่เป็นชุดความคิดหรือกระบวนทัศน์ของการตั้งคำถามเชิงญาณวิทยา (Epistemology)ว่ากระบวนการแสวงหาความรู้คืออะไร (David E. Hall, 2003, p.6.)    ซึ่งจะเข้าไปตรวจสอบและวิพากษ์กระบวนทัศน์ทางสังคมต่างๆที่แฝงอคติทางเพศหรือเป็นผลผลิตของบรรทัดฐานทางเพศแบบตะวันตก  ในที่นี้ผู้เขียนแปลคำว่า queer เป็นภาษาไทยว่า “เพศวิภาษ” หมายถึง เพศที่ไม่ได้อยู่ในบรรทัดฐานใดๆ แต่เป็นเพศเพื่อการโต้แย้ง   กระบวนทัศน์ดังกล่าวนี้พยายามตั้งคำถามว่าบรรทัดฐานอะไรที่กำหนดสิ่งที่เรียกว่า “เพศปกติ” และ “เพศผิดปกติ”  ความเป็นปกติเกิดจากอะไร ใครเป็นผู้นิยามและทำไมต้องแบ่งประเภทหรือจัดหมวดหมู่ “เพศ” ออกเป็นคู่ตรงข้าม  การแบ่งชนิดเพศของมนุษย์เป็นชายและหญิงโดยอาศัยความรู้ชีววิทยานั้นเป็นการแบ่งที่เป็นสากลหรือไม่ ความเป็นหญิงชายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ใช่หรือไม่  ในแต่ละสังคมจำเป็นต้องมีวิธีการจัดหมวดหมู่เพศเหมือนกันหรือไม่  ความรู้เรื่องเพศเป็นความรู้ที่ปราศจากมายาคติ อคติ และความลำเอียงใช่หรือไม่

อ่านต่อ..
คำสำคัญ: ทฤษฎีเควียร์, มานุษยวิทยา, บรรทัดฐานรักต่างเพศ, เพศวิถี, ญาณวิทยา

ทบทวนวิธีการสร้างความรู้ / ความจริงเรื่องเพศ


บทความนี้ต้องการสำรวจแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องเพศ โดยการย้อนมองไปในแวดวงวิชาการตะวันตกที่เริ่มสนใจประเด็นเรื่องเพศมาตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่วิทยาศาสตร์กำลังมีอำนาจทางสังคม  การสำรวจในที่นี้จะย้อนกลับไปมองช่วงเวลานั้นโดยอาศัยมุมมองทางมานุษยวิทยาเพื่อทำความเข้าใจ “ชีวิตทางเพศ” ของมนุษย์ หรือมองเรื่องเพศในมิติทางวัฒนธรรม       ผู้อ่านจะเข้าใจว่ามิติทางวัฒนธรรมของเรื่องเพศนั้นคืออะไร และเกี่ยวข้องกับบริบททางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองอย่างไร   คำถามที่ผู้คนมักจะถามกันบ่อยๆ ก็คือเรื่องเพศเป็นเรื่องของธรรมชาติ หรือเป็นเรื่องทางสังคมวัฒนธรรม   และคำตอบที่ได้รับก็มักจะเป็นการแบ่งคนออกเป็นสองกลุ่มซึ่งถกเถียงกันด้วยแนวคิดทฤษฎีที่ต่างกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์ที่เชื่อเรื่องธรรมชาติ  ซึ่งได้ฉายาว่าเป็นพวกเชื่อความจริงแท้ (Essentialist)  กับนักสังคมศาสตร์ที่เชื่อเรื่องสังคมวัฒนธรรม ซึ่งได้ฉายาว่าเป็นพวกเชื่อการผลิตสร้างทางสังคม (Social Constructionist)      สำหรับในบทนี้  ต้องการจะทำความเข้าใจว่ากรอบแนวคิดทฤษฎีที่ต่างกันนั้นส่งผลต่อการอธิบายเรื่องเพศต่างกันอย่างไรบ้าง  และเราจะใช้แนวคิดทฤษฎีเหล่านั้นมาอธิบายปรากฎการณ์เกี่ยวกับเรื่องเพศของมนุษย์ในมิติใด

อ่านต่อ..
คำสำคัญ: เพศภาวะ, เพศวิถี, ทฤษฎีเควียร์, สตรีนิยม, มานุษยวิทยา, ความหลากหลายทางเพศ, เพศศึกษา, จิตเวชศาสตร์

มานุษยวิทยากับการศึกษาพฤติกรรมข้ามเพศและรักเพศเดียวกัน


เรื่องเพศ เป็นพรมแดนที่มีเรื่องซ้อนทับกันหลายอย่าง ทั้งสรีระร่างกาย  การแสดงพฤติกรรม อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด และการให้คุณค่าและความหมายต่อสรีระและพฤติกรรมทางเพศ  หรือกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องเพศเป็นทั้งสิ่งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้    แต่การศึกษาเรื่องเพศเป็นเรื่องใหม่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก่อนหน้านั้นเรื่องเพศจะไม่ถูกพูดถึงในวงวิชาการเพราะถูกมองว่าเป็นเรื่องของการสืบพันธุ์หรือการสังวาท เป็นเรื่องต้องห้ามและเป็นบาปทางศาสนา(Bland and Doan, 1994, p.2.)      นักวิทยาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 คือผู้มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดความคิดเรื่องเพศภาวะและเพศวิถี (Gender and Sexuality) เช่นการศึกษาของ คราฟท์-อีบิง(1886) อธิบายให้เห็นภายภาพของเพศ โดยมองว่าเป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างมา เช่น เพศหญิงมีความอ่อนโยน เพศชายมีความเข้มแข็ง  เพศภาวะของผู้หญิงและผู้ชายจึงถูกกำหนดจากเพศสรีระที่ต่างกัน  และเชื่อว่าเพศวิถีที่เป็นความต้องการทางเพศ เป็นแรงขับตามธรรมชาติที่เพศชายจะมีกับเพศหญิงเท่านั้น เพราะถือว่าเป็นการสืบพันธุ์เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์  

อ่านต่อ..
คำสำคัญ: เพศวิถี, เพศภาวะ, มานุษยวิทยา, คนข้ามเพศ, สังคมไทย

การทำความเข้าใจเบื้องต้นเรื่อง Queer Theory (เพศวิภาษ)


การศึกษาเรื่องเพศของมนุษย์ มีเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจหลายระดับ ทั้งเรื่องที่จับต้องมองเห็นได้ สัมผัสได้ เช่น อวัยวะเพศ รูปร่างสรีระ การแต่งกาย กิริยาท่าทาง   กับเรื่องที่มองไม่เห็นและไม่สามารถคาดเดาได้ เช่น อารมณ์ปรารถนา ความเสน่หา ความรัก กามารมณ์ สำนึก ความคิด และความเชื่อ   รวมทั้งการให้คุณค่า การวางกำหนดกฎเกณฑ์ การจัดประเภท การควบคุมพฤติกรรมและอารมณ์ทางเพศ สิ่งต่างๆเหล่านี้สัมพันธ์กับอำนาจทางสังคมที่เข้ามานิยาม ให้ความหมาย และจัดการตามคติความเชื่อและความรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย  

อ่านต่อ..
คำสำคัญ: เควียร์, เพศวิถี, เพศภาวะ, กระบวนทัศน์, การวิพากษ์, ความรู้

ความรู้และอำนาจ เบื้องหลังเซ็กและโสเภณี


         บทความนี้เป็นการทบทวนการศึกษาและองค์ความรู้เกี่ยวกับโสเภณี ซึ่งมักจะถูกอธิบายด้วยทฤษฎีของเฟมินิสต์ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ทฤษฏีพฤติกรรมศาสตร์ ทฤษฎีเบี่ยงเบนทางเพศ มีผลทำให้สังคมเข้าใจว่าโสเภณีคือความเสื่อมเสียทางศีลธรรม ด้านหนึ่งจะมองว่าโสเภณีเป็นปัญหาสังคมที่เต็มไปด้วยการกดขี่ข่มเหง การเอารัดเอาเปรียบ การล่อลวง การใช้ความรุนแรง การใช้อำนาจ ทำให้ผู้หญิงและเด็ก(ทั้งชายและหญิง)ตกเป็นเหยื่อทางเพศ เป็นคนที่น่าสงสารที่ต้องได้รับการช่วยเหลือและสงเคราะห์  อีกด้านหนึ่งมองโสเภณีในมิติทางเศรษฐกิจที่ลดคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ร่างกายและสรีระทางเพศจะถูกทำให้เป็น “วัตถุ” (สินค้า) เพื่อตอบสนองตัณหาราคะ ปราศจากความรักและความเมตตา โสเภณีจะถูกตีตราว่าเป็น “คนไม่ดี”  ผู้ซื้อบริการทางเพศจะถูกประณามว่า “ส่ำส่อน” หรือหมกมุ่นในกาม  ความคิดทั้งสองด้านนี้ทำให้โสเภณีกลายเป็น “อันตราย”  บทความนี้ต้องการชี้ให้เห็นว่าความเข้าใจดังกล่าวเป็นการมองโสเภณีเพียงผิวเผิน และทำให้เซ็กเป็นความสกปรกโสมม จึงมีความจำเป็นต้องตรวจสอบความเข้าใจเหล่านี้โดยผู้เขียนจะนำข้อสังเกตของมิเชล ฟูโกต์ เรื่อง Deployment of Sexuality มาเป็นแนวทางวิเคราะห์เพื่อชี้ให้เห็นว่าเซ็กและโสเภณีในสังคมทุนนิยม/บริโภคนิยมคือกลไกและผลผลิตของปฏิบัติการเชิงอำนาจและความรู้แบบวิทยาศาสตร์  ที่สร้างระเบียบและกฎกติกาใหม่ของการแสดงความปรารถนาทางเพศของมนุษย์

อ่านต่อ..
คำสำคัญ: โสเภณี. เซ็ก, ทุนนิยม, บริโภคนิยม, เฟมินิสต์, อำนาจ, เพศภาวะ, เพศวิถี, กามารมณ์