15 มิ.ย. 2015
โดย ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
เรื่องเพศ เป็นพรมแดนที่มีเรื่องซ้อนทับกันหลายอย่าง ทั้งสรีระร่างกาย การแสดงพฤติกรรม อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด และการให้คุณค่าและความหมายต่อสรีระและพฤติกรรมทางเพศ หรือกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องเพศเป็นทั้งสิ่งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ แต่การศึกษาเรื่องเพศเป็นเรื่องใหม่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก่อนหน้านั้นเรื่องเพศจะไม่ถูกพูดถึงในวงวิชาการเพราะถูกมองว่าเป็นเรื่องของการสืบพันธุ์หรือการสังวาท เป็นเรื่องต้องห้ามและเป็นบาปทางศาสนา(Bland and Doan, 1994, p.2.) นักวิทยาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 คือผู้มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดความคิดเรื่องเพศภาวะและเพศวิถี (Gender and Sexuality) เช่นการศึกษาของ คราฟท์-อีบิง(1886) อธิบายให้เห็นภายภาพของเพศ โดยมองว่าเป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างมา เช่น เพศหญิงมีความอ่อนโยน เพศชายมีความเข้มแข็ง เพศภาวะของผู้หญิงและผู้ชายจึงถูกกำหนดจากเพศสรีระที่ต่างกัน และเชื่อว่าเพศวิถีที่เป็นความต้องการทางเพศ เป็นแรงขับตามธรรมชาติที่เพศชายจะมีกับเพศหญิงเท่านั้น เพราะถือว่าเป็นการสืบพันธุ์เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์
คำสำคัญ:
เพศวิถี,
เพศภาวะ,
มานุษยวิทยา,
คนข้ามเพศ,
สังคมไทย
24 มิ.ย. 2015
โดย ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
บทความเรื่องนี้ต้องการวิพากษ์ “ความเป็นหญิง” (Femininity) ของบุคคลที่เป็นชายใจหญิงหรือหญิงในร่างชาย หรือรู้จักโดยทั่วไปว่ากะเทย เท่าที่ผ่านมาการศึกษาพฤติกรรมและอัตลักษณ์ทางเพศของคนกลุ่มนี้มักจะวางอยู่บนสมมติฐานเรื่อง “ตัวตนที่แท้จริง” (Truth of Self) ที่ซ่อนอยู่ข้างใน ซึ่งเชื่อว่าบุคคลที่เป็นหญิงในร่างชายจะมีจิตใจเป็นหญิงมาตั้งแต่กำเนิด (Born to Be)และค่อยๆพัฒนาอัตลักษณ์ความเป็นหญิงในทางวัฒนธรรมในภายหลัง การอธิบายดังกล่าวนี้เป็นการเชื่อว่าตัวตนของหญิงในร่างชายเป็นผลผลิตจากธรรมชาติมากกว่าจะเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นจากอุดมการณ์เรื่องเพศที่สังคมได้วางกฎเกณฑ์ไว้ ผลที่ตามมาก็คือ เราจะเห็นกลุ่มหญิงในร่างชาย(ชายใจหญิง) ต่างเชื่อมั่นใน “ความเป็นหญิง” ของตนและใช้สิ่งนี้เป็นเครื่องมือในการเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียม บทความนี้ต้องการชวนให้คิดเพื่อก้าวไปให้พ้นกับดักของ “ตัวตนตามธรรมชาติ” เพื่อที่จะมองใหม่ว่าตัวตนของหญิงในร่างชายไม่ได้เป็นอิสระจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจ/ความรู้และบรรทัดฐานทางเพศที่สังคมได้สร้างขึ้นมาแต่อย่างใด
คำสำคัญ:
คนข้ามเพศ,
คนแปลงเพศ,
ความเป็นหญิง,
เพศภาวะ,
กะเทย