บทความ

แสดง 1-2 จากทั้งหมด 2 รายการ

มานุษยวิทยากับการศึกษาพฤติกรรมข้ามเพศและรักเพศเดียวกัน


เรื่องเพศ เป็นพรมแดนที่มีเรื่องซ้อนทับกันหลายอย่าง ทั้งสรีระร่างกาย  การแสดงพฤติกรรม อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด และการให้คุณค่าและความหมายต่อสรีระและพฤติกรรมทางเพศ  หรือกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องเพศเป็นทั้งสิ่งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้    แต่การศึกษาเรื่องเพศเป็นเรื่องใหม่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก่อนหน้านั้นเรื่องเพศจะไม่ถูกพูดถึงในวงวิชาการเพราะถูกมองว่าเป็นเรื่องของการสืบพันธุ์หรือการสังวาท เป็นเรื่องต้องห้ามและเป็นบาปทางศาสนา(Bland and Doan, 1994, p.2.)      นักวิทยาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 คือผู้มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดความคิดเรื่องเพศภาวะและเพศวิถี (Gender and Sexuality) เช่นการศึกษาของ คราฟท์-อีบิง(1886) อธิบายให้เห็นภายภาพของเพศ โดยมองว่าเป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างมา เช่น เพศหญิงมีความอ่อนโยน เพศชายมีความเข้มแข็ง  เพศภาวะของผู้หญิงและผู้ชายจึงถูกกำหนดจากเพศสรีระที่ต่างกัน  และเชื่อว่าเพศวิถีที่เป็นความต้องการทางเพศ เป็นแรงขับตามธรรมชาติที่เพศชายจะมีกับเพศหญิงเท่านั้น เพราะถือว่าเป็นการสืบพันธุ์เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์  

อ่านต่อ..
คำสำคัญ: เพศวิถี, เพศภาวะ, มานุษยวิทยา, คนข้ามเพศ, สังคมไทย

การศึกษาเกย์ในสังคมไทย : 5ทศวรรษของการสร้างความรู้


คำว่า “เกย์” เป็นคำที่มีนัยยะเชิงการเมืองและมีมิติทางประวัติศาสตร์   คำนี้เพิ่งปรากฎในสังคมตะวันตกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 และถูกใช้เป็นคำเรียกเพื่อบ่งบอกว่าคนรักชอบเพศเดียวกันมีอัตลักษณ์เป็นอย่างไร และแตกต่างจากหญิงและชาย     อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาทางวัฒนธรรม คำว่า “เกย์” อาจใช้ได้เฉพาะสังคมที่มีการนิยามและจัดระเบียบอารมณ์ความปรารถนาทางเพศ เช่นในสังคมยุโรปและอเมริกา ซึ่งเชื่อว่าความรู้สึกรักเพศเดียวกันมีแก่นแท้ในตัวเองและบุคคลสามารถหยั่งรู้ได้จากจิตสำนึก ความรู้สึกนี้ถูกนิยามด้วยคำว่า “โฮโมเซ็กช่วล”      แต่อีกหลายสังคม ไม่มีวิธีคิดเกี่ยวกับการนิยามอารมณ์ทางเพศ ทำให้การแสดงพฤติกรรมรักเพศเดียวกันเป็นเพียงการแสดงบทบาทหน้าที่ทางสังคม และไม่ถูกยกให้เป็นอัตลักษณ์ของบุคคล      ดังนั้นการศึกษา “เกย์” ในทางวัฒนธรรมจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจอิทธิพลความคิดของตะวันตกกับวิธีคิดเรื่องเพศในท้องถิ่น ซึ่งมีความซับซ้อนต่อการสร้างนิยามความหมายของอัตลักษณ์และพฤติกรรมทางเพศของบุคคล

อ่านต่อ..
คำสำคัญ: เกย์, สังคมไทย, ประวัติศาสตร์, อัตลักษณ์, การศึกษา, วัฒนธรรม