บทความ

แสดง 1-2 จากทั้งหมด 2 รายการ

การศึกษาเกย์ในสังคมไทย : 5ทศวรรษของการสร้างความรู้


คำว่า “เกย์” เป็นคำที่มีนัยยะเชิงการเมืองและมีมิติทางประวัติศาสตร์   คำนี้เพิ่งปรากฎในสังคมตะวันตกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 และถูกใช้เป็นคำเรียกเพื่อบ่งบอกว่าคนรักชอบเพศเดียวกันมีอัตลักษณ์เป็นอย่างไร และแตกต่างจากหญิงและชาย     อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาทางวัฒนธรรม คำว่า “เกย์” อาจใช้ได้เฉพาะสังคมที่มีการนิยามและจัดระเบียบอารมณ์ความปรารถนาทางเพศ เช่นในสังคมยุโรปและอเมริกา ซึ่งเชื่อว่าความรู้สึกรักเพศเดียวกันมีแก่นแท้ในตัวเองและบุคคลสามารถหยั่งรู้ได้จากจิตสำนึก ความรู้สึกนี้ถูกนิยามด้วยคำว่า “โฮโมเซ็กช่วล”      แต่อีกหลายสังคม ไม่มีวิธีคิดเกี่ยวกับการนิยามอารมณ์ทางเพศ ทำให้การแสดงพฤติกรรมรักเพศเดียวกันเป็นเพียงการแสดงบทบาทหน้าที่ทางสังคม และไม่ถูกยกให้เป็นอัตลักษณ์ของบุคคล      ดังนั้นการศึกษา “เกย์” ในทางวัฒนธรรมจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจอิทธิพลความคิดของตะวันตกกับวิธีคิดเรื่องเพศในท้องถิ่น ซึ่งมีความซับซ้อนต่อการสร้างนิยามความหมายของอัตลักษณ์และพฤติกรรมทางเพศของบุคคล

อ่านต่อ..
คำสำคัญ: เกย์, สังคมไทย, ประวัติศาสตร์, อัตลักษณ์, การศึกษา, วัฒนธรรม

สถานภาพความรู้ในการศึกษา การเคลื่อนไหวทางสังคมของชาวเกย์


การศึกษาการเคลื่อนไหวทางสังคมของชาวเกย์ มีความสำคัญในฐานะเป็นการทบทวนองค์ความรู้ แนวคิดทฤษฎี และกระบวนทัศน์ที่ปรากฎอยู่ในแวดวงวิชาการและนักเคลื่อนไหวชาวเกย์  หากจะมองในระดับปฏิบัติการจะเห็นว่าการเคลื่อนไหวทางสังคมของเกย์เป็นการต่อสู้และเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ ความเท่าเทียมและความยุติธรรมทางสังคมของกลุ่มคนชายขอบที่ถูกสังคมรังเกียจหรือได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียม ชาวเกย์จึงออกมาต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และให้สังคมตระหนักว่าเกย์หรือชายรักชายสามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมนี้ได้อย่างปกติเหมือนคนอื่นๆ      อย่างไรก็ตาม เป้าหมายและอุดมการณ์ที่อยู่เบื้องหลังการต่อสู้นี้ยังเป็นสิ่งที่น่าศึกษาและวิเคราะห์ว่าเหตุผลอะไรที่ทำให้การต่อสู้และการเคลื่อนไหวของเกย์มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  การเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้มีเป้าหมายและอุดมการณ์เหมือนหรือแตกต่างกัน กลุ่มและองค์กรเกย์ทั้งหลายคิดถึงเรื่องสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่  คำถามเหล่านี้จะนำไปสู่การตรวจสอบแนวคิดทฤษฎีและกระบวนทัศน์ที่ใช้ขับเคลื่อนในการเคลื่อนไหวเหล่านั้น

อ่านต่อ..
คำสำคัญ: เกย์, การเคลื่อนไหวทางสังคม, สิทธิเสรีภาพ, ความเท่าเทียม, อัตลักษณ์ทางเพศ