ฐานข้อมูลคำศัพท์ทางมานุษยวิทยา


ฐานข้อมูลศัพท์มานุษยวิทยา เป็นการรวบรวมคำศัพท์ แนวคิดและทฤษฎีทางมานุษยวิทยาและสาขาที่เกี่ยวข้องมาอธิบายเพื่อให้นักศึกษา นักวิชาการ และประชาชนที่สนใจเกิดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นมาและทิศทางการศึกษาของแนวคิดและทฤษฎีที่นักมานุษยวิทยาใช้อธิบายปรากฎการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์ในภูมิภาคต่างๆของโลก จากอดีตจนถึงปัจจุบัน

A | B | C | D | E | F | G | H | I | J | K | L | M | N | O | P | Q | R | S | T | U | V | W | X | Y | Z | ทั้งหมด

คำศัพท์ใหม่

  • Post-Marxist anthropology

    นักวิชาการสายพ้นมาร์กซิสต์มิได้สนใจกลไกต่อสู้เพื่อที่จะปลดปล่อยสังคมให้เป็นอิสระจากระบบทุนนิยม ในทางตรงกันข้าม นักวิชาการพยายามศึกษามิติที่ซับซ้อนของการเคลื่อนไหวทางการเมือง การมองแค่เพียงความสัมพันธ์ทางการผลิตซึ่งมาร์กซิสต์รุ่นเก่ามักจะตอกย้ำเสมออาจเป็นสิ่งที่ผิวเผินต่อการทำความเข้าใจการดำรงอยู่ของสังคมปัจจุบัน

  • Corruption

    การศึกษาคอร์รัปชั่นในทางมานุษยวิทยาเพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นาน แต่สิ่งที่ทำให้ต่างไปจากการศึกษาของนักสังคมศาสตร์ทั่วไปคือ นักมานุษยวิทยาพยายามทำความเข้าใจวิธีปฏิบัติของมนุษย์ในฐานะที่เป็นผู้กระทำการคอร์รัปชั่น ซึ่งอาศัยการเข้าไปสังเกตแบบมีส่วนร่วมเพื่อให้เห็นประสบการณ์ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น

  • Necropolitics

    การเมืองมรณะหมายถึงระบอบอำนาจที่กระทำต่อชีวิตคนที่ถูกตีตราว่าชั่วร้ายซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในสภาพที่ทุกข์ยาก ไร้ที่พึ่ง ดิ้นรนตามลำพัง ติดอยู่กับสภาพที่ไร้ทางออก ซึ่งเป็นประสบการณ์ของการถูกปิดกั้น ตัวอย่างที่ชัดเจนคือผู้ที่ยากจนและไร้บ้าน

  • Anthropology of Beauty

    จากการศึกษาและเก็บข้อมูลของนักมานุษยวิทยาทั่วโลกในพื้นที่ที่แตกต่าง จะพบว่ามนุษย์ในแต่ละวัฒนธรรมล้วนมีวิธีการสร้างความงามบนร่างกายที่ไม่เหมือนกัน เช่น การทำรอยแผลเป็นบนร่างกายและใบหน้าของชนเผ่านูบาในประเทศซูดาน การเขียนลายบนใบหน้าของชาว Caduveo ในประเทศบราซิล การมัดเท้าของชาวจีน การรัดเอวของชนพื้นเมืองในหมู่เกาะปาปัว และการทำให้คอยึดยาวขึ้นของชาวปาดองในพม่า เป็นต้น

  • The Cyborg Manifesto

    บทความเรื่อง A Cyborg Manifesto ของดอนน่า ฮาราเวย์ ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1985 เปรียบเสมือนเป็น “นิเวศวิทยาของความรู้” (Sofoulis, 2015) ซึ่งเป็นทั้งการโต้แย้ง ท้าทาย ล้มล้าง และวิพากษ์ความรู้กระแสหลักที่ถูกสถาปนาขึ้นโดยกระบวนทัศน์แบบปฏิฐานนิยมและระบบเหตุผลวิทยาศาสตร์ซึ่งครอบงำและชี้นำความจริงและความรู้ที่เป็นมาตรฐานสากล