แสดง 1 ถึง 6 จาก 6 รายการ
Precarity
แนวคิดสภาวะอันตราย (Precarity หรือ Precariousness) เกิดขึ้นในวงวิชาการตะวันตกช่วงทศวรรษ 1980 ถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 เพื่อตอบโต้กับปัญหาการแบ่งแยกกีดกันและสภาพสังคมที่เต็มไปด้วยคนจนที่ขาดรายได้และไร้ที่พึ่ง (Han, 2018; Kasmir, 2018) ความหมายของคำว่า precarity หมายถึงสภาพที่ประชากรของโลกกำลังตกงาน ส่งผลให้ชีวิตขาดความมั่นคง ล่อแหลมต่อความล้มเหลวในทางเศรษฐกิจและสังคม
Entrepreneurship
หากย้อนกลับไปดูความหมายของ entrepreneur จะพบว่าเป็นคำภาษาฝรั่งเศสซึ่งปรากฏครั้งแรกในพจนานุกรม Dictionnaire de la langue français ในปี ค.ศ. 1437 ซึ่งเป็นคำนามที่ความหมายพื้นฐานที่สุดบ่ง ชี้ถึง “บุคคลผู้กระตือรือล้นและบรรลุเป้าหมายบางอย่าง” (a person who is active and achieves somethings” ส่วนคำกริยา entreprendre นั้นหมายถึง “การทำหน้าที่บางอย่าง” (to undertake something)
Garbology
คำว่าขยะที่อาจใช้คำว่า garbage, trash, waste, rubbish, litter แม้จะเป็นคำที่มีความหมายแตกต่างกัน (Drackner, 2005) แต่ก็ต่างก็เป็นคำที่แสดงถึงหมวดหมู่เดียวกันของสิ่งที่ถูกปฏิเสธโดยคนส่วนใหญ่ (rejected matter) ซึ่งได้เริ่มถูกกล่าวถึงในแวดวงของมานุษยวิทยาเชิงโครงสร้าง (structural anthropology)
Fandom
การศึกษาแฟนคลับในโลกที่ซับซ้อนมิใช่การค้นหาอัตลักษณ์ที่ถาวรหรือการสร้างชุมชนที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Hills, 2017a) แต่เป็นการทำความเข้าใจเครือข่ายสังคมที่หลากหลายที่ทำให้กลุ่มต่างๆเชื่อมโยงเข้าหากันภายใต้ปฏิสัมพันธ์และปฏิบัติการที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจช่วยขยายมุมมองต่อแฟนคลับจากกลุ่มที่มีเอกภาพแบบของใครของมันไปสู่การมองแฟนคลับในฐานะเป็น “โลก” ที่เคลื่อนตัวไปตลอดเวลาและไม่มีความมั่นคงในอัตลักษณ์
Anthropology of Beauty
จากการศึกษาและเก็บข้อมูลของนักมานุษยวิทยาทั่วโลกในพื้นที่ที่แตกต่าง จะพบว่ามนุษย์ในแต่ละวัฒนธรรมล้วนมีวิธีการสร้างความงามบนร่างกายที่ไม่เหมือนกัน เช่น การทำรอยแผลเป็นบนร่างกายและใบหน้าของชนเผ่านูบาในประเทศซูดาน การเขียนลายบนใบหน้าของชาว Caduveo ในประเทศบราซิล การมัดเท้าของชาวจีน การรัดเอวของชนพื้นเมืองในหมู่เกาะปาปัว และการทำให้คอยึดยาวขึ้นของชาวปาดองในพม่า เป็นต้น
Post-Marxist anthropology
นักวิชาการสายพ้นมาร์กซิสต์มิได้สนใจกลไกต่อสู้เพื่อที่จะปลดปล่อยสังคมให้เป็นอิสระจากระบบทุนนิยม ในทางตรงกันข้าม นักวิชาการพยายามศึกษามิติที่ซับซ้อนของการเคลื่อนไหวทางการเมือง การมองแค่เพียงความสัมพันธ์ทางการผลิตซึ่งมาร์กซิสต์รุ่นเก่ามักจะตอกย้ำเสมออาจเป็นสิ่งที่ผิวเผินต่อการทำความเข้าใจการดำรงอยู่ของสังคมปัจจุบัน
ทุนนิยม, อำนาจ, ความเหลื่อมล้ำ, มาร์กซิสต์, อุดมการณ์, ชนชั้น