คำศัพท์

A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z All
แสดง 1 ถึง 4 จาก 4 รายการ

Oral Tradition

คำว่า “บอกเล่า” (oral) มีความหมายในสองลักษณะคือ การไม่ใช้ตัวหนังสือ และการใช้ภาษาพูด การบอกเล่ายังหมายถึงการแสดงออกด้วยคำพูด เช่น การร้องเพลง การเล่านิทาน การใช้คำพังเพย หรือสุภาษิต ซึ่งเป็นการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์แตกต่างจากการแสดงออกแบบอื่นที่ต้องใช้ตัวหนังสือ 

ประเพณีบอกเล่า

Ontology

คำว่า Ontology แปลเป็นภาษาไทยว่า “ภววิทยา” โดยประกอบด้วยคำสองคำคือ คำบาลี “ภว” หมายถึง สภาวะแห่งการดำรงอยู่ กับคำสันสกฤต “วิทยา” หมายถึงความรู้ ซึ่งราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่าเป็นปรัชญาสาขาหนึ่งของอภิปรัชญา (metaphysics) ที่ศึกษาเรื่องสภาวะแห่งความเป็นอยู่ (being) เป็นวิธีการตั้งคำถามเกี่ยวกับการมีอยู่ของตัวตน (entity) แบบต่าง ๆ เพื่อค้นหาและทำความเข้าใจว่าแต่ละสันตภาพมีความเหมือนและต่างกันอย่างไร ดำรงอยู่ร่วมกันในลักษณะใด

มานุษยวิทยา, ปรัชญา

Otakuology

คำว่า Otakuology หมายถึงการศึกษาคนที่คลั่งไคล้และชื่นชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมากล้น เสมือนเป็นสาวกที่เกาะติดและเฝ้าติดตามสิ่งนั้นอย่างไม่ห่างหาย บางครั้งอาจมีอาการหมกหมุ่น ใจจดใจจ่อต่อสิ่งนั้นตลอดเวลา โดยเฉพาะกลุ่มคนที่นิยมชมชอบการ์ตูนแอนิเมะมังงะของญี่ปุ่น ในวัฒนธรรมญี่ปุ่นคำว่า “โอตาคุ” (Otaku) ถูกใช้อย่างอย่างแพร่หลายในแวดวงการศึกษาวัฒนธรรมป๊อปเพื่ออธิบายปรากฎการณ์ที่บุคคลหรือผู้บริโภคยอมเสียเงิน เสียเวลาเพื่อติดตามสินค้าที่ตนเองคลั่งไคล้

โอตาคุ, ญี่ปุ่น, แอนิเมะมังงะ, ความคลั่งไคล้

Object-oriented ontology

แนวการศึกษาภววิทยาวัตถุเป็นปรัชญาว่าด้วยความจริง พยายามชี้ว่า “วัตถุ” มีส่วนกำหนดสภาพจิตใจของมนุษย์และทำให้มนุษย์ตระหนักถึงการมีตัวตน (Bryant, 2011) วัตถุดำรงอยู่อย่างเป็นอิสระและอยู่นอกขอบเขตการรับรู้ของมนุษย์ (human cognition)

วัตถุ, ภววิทยา, การดำรงอยู่, ความจริง