คำศัพท์

A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z All
แสดง 1 ถึง 18 จาก 18 รายการ

Economic Anthropology

มานุษยวิทยาเศรษฐกิจคือการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ ซึ่งนักมานุษยวิทยามาลีนอฟสกี้ได้อธิบายไว้ในเรื่อง Argonauts of the Western Pacific (1922) โดยชี้ให้เห็นเครือข่ายของการแลกเปลี่ยนของมีค่าของชนพื้นเมืองในเขตหมู่เกาะทรอเบียนด์ มาลีนอฟสกี้เชื่อว่าการแลกเปลี่ยนนี้สะท้อนความอยากได้ทรัพย์สินเงินทองของปัจเจกบุคคล เพราะบุคคลจะคาดหวังว่าเมื่อนำของมีค่าไปแลกแล้วจะต้องได้รับสิ่งมีค่ากลับคืนมาแบบเท่าเทียมกัน

มานุษยวิทยาเศรษฐกิจ

Emic / Etic

Emic หมายถึงวิธีคิดของชาวบ้าน ส่วน Etic หมายถึงความคิดและการตีความของนักมานุษยวิทยา ความคิดสองแบบนี้จะเกิดขึ้นในกระบวนการศึกษาของนักมานุษยวิทยา วิธีคิดที่ชาวบ้านใช้อธิบายโลกและชีวิตของตัวเองอาจจะไม่ใช่สิ่งเดียวกับการตีความที่นักมานุษยวิทยา ใช้อธิบายวัฒนธรรมของชาวบ้าน เพราะนักมานุษยวิทยาอาจใช้ทฤษฎีบางอย่างวิเคราะห์วัฒนธรรมของมนุษย์ แต่ชาวบ้านอาจมีวิธีคิดต่อวัฒนธรรมของตัวเองต่างออกไปจากทฤษฎี ความคิดแบบคนในหรือชาวบ้าน กับความคิดแบบคนนอกหรือนักวิชาการจึงเป็นสิ่งที่ต้องถูกทบทวน

วิธีคิดของชาวบ้านและวิธีคิดของนักวิชาการ

Ethnicity

คำว่า ethnicity หมายถึงความเป็นกลุ่มทางชาติพันธุ์ที่สมาชิกในกลุ่มจะมีวัฒนธรรมและการแสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีขนบธรรมประเพณี ภาษา ศาสนา ความเชื่อ การแต่งกาย หรือการทำมากินแบบเดียวกัน คำว่า ethnic มาจากภาษากรีกคำว่า ethnos หมายถึงกลุ่มคนที่มีขนบธรรมเนียมเดียวกัน คำนี้ปรากฏในภาษาอังกฤษในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยใช้อธิบายประเทศที่มิใช่ชาวยิวหรือคริสเตียน เช่น พวกคนป่า หรือไม่มีศาสนา 

ความเป็นกลุ่มทางชาติพันธุ์

Ethnochoreology

Ethnochoreology หมายถึงการศึกษารูปแบบวิธีการร่ายรำ เต้นรำ ฟ้อนรำ และการเคลื่อนไหวร่างกายในท่วงท่าต่าง ๆ ซึ่งมนุษย์ในแต่ละวัฒนธรรมจะมีวิธีการแสดงออกแตกต่างกัน ในมุมมมองมานุษยวิทยาการร่ายรำของมนุษย์เป็นเรื่องที่สัมพันธ์กับระบบความคิดและความเชื่อ มิใช่เรื่องของความบันเทิงเริงรมย์หรือความสวยงาม การศึกษาเรื่องการร่ายรำในมิติทางชาติพันธุ์จะสนใจบริบทของการร่ายรำที่มนุษย์ใช้ร่างกายของตัวเองเป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อที่จะแสดงความเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเทพเจ้า

การเคลื่อนไหวร่างกายเชิงชาติพันธุ์

Ethnocide

Ethnocide หมายถึงการทำลายวัฒนธรรมของคนกลุ่มหนึ่งที่มีต่ออีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งนักกฎหมายชื่อราฟาเอล เรมคิน คิดคำนี้ขึ้นมาในปี 1944 โดยใช้อธิบายเหตุการณ์ในสงครามโลกครั้งที่สองที่นาซีของเยอรมันฆ่าชาวยิวจำนวนมาก ในทางมานุษยวิทยา คำว่า ethnocide อาจมีความหมายใกล้เคียงกับการที่วัฒนธรรมหนึ่งมีอิทธิพลเหนือกว่าอีกวัฒนธรรมหนึ่ง หรือมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า Cultural Genocide ซึ่งหมายถึงการทำลายวัฒนธรรม เช่น วัฒนธรรมของชนพื้นเมืองถูกทำลายไปเพราะความเจริญแบบตะวันตก

การทำลายวัฒนธรรม

Ethnogenesis

Ethnogenesis หมายถึงกระบวนการที่คนกลุ่มหนึ่งโหยหาหรือถวิลหารากเหง้าทางชาติพันธุ์ของตัวเอง เป็นการค้นหาความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ตัวตน อัตลักษณ์ และต้นกำเนิดความเป็นกลุ่มและความเป็นเผ่าพันธุ์ของตัวเอง ซึ่งกระบวนการนี้คือการตอกย้ำตัวตนทางวัฒนธรรม หรือการสร้างตัวตนผ่านการโหยหารากเหง้าทางประวัติศาสตร์ ในทางมานุษยวิทยา มองว่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ หรือเรื่องที่เขียนถึงคนในอดีต

การค้นหารากเหง้าทางชาติพันธุ์

Ethnographic Film

ภาพยนตร์ทางชาติพันธุ์ (Ethnographic Film) หมายถึงการบันทึกเรื่องราวชีวิตทางสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์ ซึ่งนักมานุษยวิทยาใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาและการเก็บข้อมูลภาคสนาม ภาพยนตร์ทางชาติพันธุ์จึงมิใช่เรื่องแต่งหรือมีการเขียนบทเตรียมไว้ รวมทั้งมิใช่สารคดีที่นำเสนอเรื่องราวในเชิงสุนทรียะ ตัวอย่างเช่น การทำงานภาคสนามของนักมานุษยวิทยาอัลเฟร็ด คอร์ต เฮดดอน ในปี 1898 ที่เดินทางไปเก็บข้อมูลชีวิตชนพื้นเมืองในหมู่เกาะทอร์เรส สเตรทส์ ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย เขาได้ใช้กล้องภาพยนตร์บันทึกเรื่องราวทางสังคมของกลุ่มคนเหล่านี้

ภาพยนตร์ทางชาติพันธุ์

Ethnography

Ethnography คือการศึกษาวัฒนธรรมและสังคมของมนุษย์ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง โดยผู้ศึกษาจะเข้าไปอยู่อาศัยในพื้นที่ เข้าไปพูดคุย และสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในเหตุการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มคนที่ศึกษาเป็นระยะเวลายาวนานและนำข้อมูลมาเขียนเรียบเรียงและอธิบายให้เห็นวิถีชีวิตของคนกลุ่มนั้น นอกจากนั้นยังหมายถึง การศึกษาวัฒนธรรมในเชิงเปรียบเทียบและจัดระเบียบชนิดของวัฒนธรรม ซึ่งต้องมีการพรรณนารายละเอียด งานเขียนทางชาติพันธุ์ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการศึกษามานุษยวิทยาวัฒนธรรม

งานเขียนทางชาติพันธุ์

Ethnology

ชาติพันธุ์วิทยา (Ethnology) หมายถึง การศึกษาวิเคราะห์ประเภทของวัฒนธรรมและเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ เป็นการศาสตร์ที่อาศัยการเปรียบเทียบ เพื่ออธิบายวัฒนธรรมที่เป็นรากเหง้าที่แตกต่างกันของบุคคล และเพื่ออธิบายประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมที่พัฒนามายาวนาน ทั้งเงื่อนไขของการอพยพ และการติดต่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ประเด็นที่นักมานุษยวิทยาสนใจศึกษาเปรียบเทียบ ได้แก่ ความเชื่อทางศาสนา ภาษา ความสัมพันธ์ทางเพศ ระบบเครือญาติ เทคโนโลยีในการเกษตร ระบบเศรษฐกิจและการเมือง 

ชาติพันธุ์วิทยา

Ethnomedicine

การแพทย์ทางชาติพันธุ์ (Ethnomedicine) หมายถึง วิธีการปฏิบัติทางการแพทย์และการรักษาโรคของคนในวัฒนธรรมต่าง ๆ ซึ่งมีวิธีวินิจฉัย การสร้างคำนิยาม การอธิบาย การใช้ยารักษา และการดูแลคนป่วยแตกต่างกัน ซึ่งบางครั้งการปฏิบัติเหล่านี้อาจเรียกว่า “การแพทย์พื้นบ้าน” ซึ่งเป็นความรู้ท้องถิ่นที่ชาวบ้านถ่ายทอดผ่านคำบอกเล่าจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง โดยอาจไม่มีการเขียนตำราเหมือนโลกตะวันตก การศึกษาการแพทย์ทางชาติพันธุ์ ต้องอาศัยความรู้แบบสหสาขาวิชา เช่น มานุษยวิทยาการแพทย์ พฤษศาสตร์ชาติพันธุ์ เภสัชศาสตร์ชาติพันธุ์ คติชาวบ้าน ฯลฯ

การแพทย์ทางชาติพันธุ์

Ethnoscience

วิทยาศาสตร์ชาติพันธุ์ (Ethnoscience) คือการศึกษาความคิดที่มนุษย์ในวัฒนธรรมต่าง ๆ นำไปจัดระเบียบประสบการณ์ต่าง ๆ การศึกษานี้พัฒนาขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยอาศัยการวิเคราะห์การจัดระเบียบประสบการณ์ของชนพื้นเมือง เช่น เรื่องระบบเครือญาติ ประเภทสี ชนิดของพืช และโรคภัยไข้เจ็บ เป็นต้น

วิทยาศาสตร์ชาติพันธุ์

Ethnic Conflict

ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ถือเป็นความขัดแย้งทางสังคม (social conflict) รูปแบบหนึ่งที่แสดงให้เห็นการมีอคติ (prejudices) และการขาดการสื่อสารระหว่างกันอย่างเหมาะสมเพียงพอ เป็นผลให้เกิดการขัดกันหรือเข้ากันไม่ได้ทางวัฒนธรรมระหว่างกลุ่ม (cultural incompatibility) ซึ่งอาจจะลุกลามไปสู่สภาวะของความหวาดกลัว/เกลียดชัง (homophobia) ทั้งที่ซ่อนเร้นและที่เปิดเผยสู่การแสดงออกต่าง ๆ

ชาติพันธุ์, อคติ, ความขัดแย้ง

Ethnography in Space of Violence

นักมานุษยวิทยาอาจพบว่าในสนามที่ตนศึกษาวิจัยอยู่นั้นอาจเป็นพื้นที่ที่มีประเด็นของความขัดแย้งหรือความรุนแรงเกิดขึ้นอยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้ง/รุนแรงภายในกลุ่มหรือระหว่างกลุ่ม ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการทำงานใน ‘สนามของความขัดแย้ง/รุนแรง หรือ สนามที่อันตราย’ อันเป็นสนามที่นักมานุษยวิทยาต้องเผชิญกับความยากลำบากและข้อท้าทายต่าง ๆ ทั้งในแง่ของระเบียบวิธีวิจัยหรือทฤษฎี จริยธรรมการวิจัยหรือเชิงศีลธรรม และในแง่ของความรับผิดชอบหรือบทบาทของนักมานุษยวิทยาในสนามของความขัดแย้ง/รุนแรง (ชยันต์, 2001; Barcott et al., 2008)

ชาติพันธุ์นิพนธ์, ความรุนแรง, อันตราย, ความขัดแย้ง

Extraterrestrial Intelligence

นักมานุษยวิทยาที่บุกเบิกการศึกษาในประเด็นสิ่งมีชีวิตนอกโลกคือ Robert and Marcia Ascher (1962) โดยเขียนบทความเรื่อง Interstellar communication and human evolution เพื่อชี้ให้เห็นว่าการติดต่อสื่อสารกับสิ่งมีชีวิตนอกโลกอาจดูได้จากวิธีการที่มนุษย์ในอดีตใช้ติดต่อสื่อสารกัน

วิวัฒนาการทางวัฒนธรรม, วิทยาศาสตร์, สิ่งมีชีวิตนอกโลก, การติดต่อสื่อสาร

Erotic Anthropology

Valentine (2007) เสนอว่าการทำความเข้าใจอารมณ์และความต้องการทางเพศ อาจต้องแสวงหาวิธีวิทยาและวิธีศึกษาใหม่ๆที่สามารถมองเห็นผัสสะและความรู้สึกที่ปรากฎอยู่ในกิจกรรมทางเพศ เนื่องจากประสบการณ์ทางร่างกายขณะมีอารมณ์ทางเพศย่อมจะถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือไม่ได้อย่างตรงไปตรงมา

เพศวิถี, เพศภาวะ, ผัสสะ, เซ็กส์, อารมณ์ทางเพศ, การปฏิบัติทางเพศ, เรือนร่าง

Eco-Cultural Lanscapes

ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม หมายถึงการทำกิจกรรมของมนุษย์ในสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศซึ่งต่างมีผลต่อกัน มนุษย์จะคิดค้นเทคโนโลยีเพื่อใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ขณะที่ธรรมชาติจะกำหนดวิธีการที่มนุษย์จะปรับตัวอยู่กับสภาพแวดล้อม ประเด็นสำคัญคือความหมายที่มนุษย์ให้กับธรรมชาติดำรงอยู่ในโลกทัศน์ทางวัฒนธรรม

มานุษยวิทยา, นิเวศวัฒนธรรม, ธรรมชาติ, ภูมิทัศน์, มนุษย์, ชีววัฒนธรรม

Entrepreneurship

หากย้อนกลับไปดูความหมายของ entrepreneur จะพบว่าเป็นคำภาษาฝรั่งเศสซึ่งปรากฏครั้งแรกในพจนานุกรม Dictionnaire de la langue français ในปี ค.ศ. 1437 ซึ่งเป็นคำนามที่ความหมายพื้นฐานที่สุดบ่ง ชี้ถึง “บุคคลผู้กระตือรือล้นและบรรลุเป้าหมายบางอย่าง” (a person who is active and achieves somethings” ส่วนคำกริยา entreprendre นั้นหมายถึง “การทำหน้าที่บางอย่าง” (to undertake something)

ทุนนิยม, ผู้ประกอบการ, ธุรกิจ, เศรษฐกิจ

Exorcism

การถูกผีสิงคือประสบการณ์ทางร่างกายที่เชื่อมโยงกับแบบแผนทางวัฒนธรรมและการแสดงตัวตนทางสังคม ในการทำความเข้าใจประสบการณ์ประเภทนี้ในแต่ละวัฒนธรรมมีคำอธิบายที่แตกต่างกัน Alter (2014) ตั้งข้อสังเกตว่าประสบการณ์เกี่ยวกับการถูกผีสิงที่แสดงออกในร่างกายของมนุษย์อาจจะคล้ายกับความรู้สึกและพฤติกรรมของคนที่ดื่มสุราจนเมาและควบคุมตัวเองไม่ได้

พิธีกรรม, ผี, การไล่ผี, ผีสิง, ร่างกาย