คำศัพท์

A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z All
แสดง 1 ถึง 20 จาก 29 รายการ

Acculturation

คำว่า acculturation หมายถึงการเปลี่ยนแปลงของประสบการณ์ทางอารมณ์ความคิดที่เป็นผลมาจากการผสมผสานแลกเปลี่ยนหรือผนวกรวมสองวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน ซึ่งวัฒนธรรมหนึ่งอาจเจริญกว่าอีกวัฒนธรรมหนึ่ง ผลที่เกิดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมนั้นอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระดับบุคคลและระดับสังคมที่สัดส่วนที่ต่างกัน

การผสมผสานทางวัฒนธรรม

Adolescence

วัยรุ่นคือช่วงวัยของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอยู่ในรอยต่อระหว่างการเป็นเด็กกับการเป็นผู้ใหญ่ เป็นช่วงที่มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วทั้งในด้านร่างกาย สรีระ อารมณ์ ความคิด พฤติกรรม และสังคม ทำให้ช่วงวัยรุ่นเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของบุคลิกภาพ

วัยรุ่น

Adornment

พฤติกรรมการตกแต่งร่างกายของมนุษย์เป็นพฤติกรรมที่เป็นสากล และพบได้ในทุกวัฒนธรรม โดยนักมานุษยวิทยาได้แยกข้อพิจารณาเป็น 2 ประเด็นคือ หนึ่ง รูปแบบและลักษณะของการตกแต่งร่างกาย เช่น เสื้อผ้า ทรงผม ฯลฯ และ สอง ความหมายของการแต่งกาย

การตกแต่งร่างกาย

Aging

การมีอายุหรือวัยชรา คือการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและเกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคน โดยที่สังคมแต่ละแห่งมีการให้ความหมายต่อ “วัยชรา” แตกต่างกัน กระบวนการแก่ชราทางร่างกาย เป็นการสร้างคำอธิบายที่พิจารณาจากความเสื่อมสภาพของสรีระของมนุษย์

วัยชรา

Alcohol and Drugs

สารอัลกอฮอล์คือวัตถุทางวัฒนธรรมที่มีลักษณะเฉพาะเพราะมีผลทางจิต ประสาท อารมณ์และความรู้สึกของผู้ใช้ ซึ่งมนุษย์ในหลายวัฒนธรรมรู้จักใช้สารชนิดนี้ในกิจกรรมและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน 

อัลกอฮอล์และยา

Alliance Theory

ทฤษฎีเรื่องการสร้างพันธมิตร หรือ Alliance Theory เริ่มต้นจากแนวคิดของนักมานุษยวิทยาชื่อคล้อด เลวี่-เสตราส์ ซึ่งอธิบายไว้ในหนังสือเรื่อง Elementary Structures of Kinship (1949) ทฤษฎีนี้เป็นการอธิบายความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนสมาชิกสองตระกูลผ่านการแต่งงาน

การสร้างพันธมิตรจากการแต่งงาน

Altruism

Altruism หมายถึง การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และความไม่เห็นแก่ตัว มีข้อถกเถียงทางวิชาการในหลายแง่มุม ทั้งทางจิตวิทยา ชีววิทยา วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ คำว่า Altruism เริ่มปรากฎในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยการเริ่มต้นจากออกุสต์ คอมท์ ซึ่งอธิบายว่าเป็นความเอื้อเฟื้อ ตรงข้ามกับความเห็นแก่ตัว

ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

Animal Domestication

การเลี้ยงสัตว์ของมนุษย์มีประวัติมายาวนาน โดยเชื่อว่าปรากฎขึ้นในยุคหินกลาง เมื่อประมาณ 9,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยมนุษย์นำสัตว์ป่าที่ล่ามาเลี้ยงไว้ในครัวเรือน สัตว์ชนิดแรกๆที่มนุษย์นำมาเลี้ยง เช่น สุนัข แกะ แพะ ฯลฯ

การเลี้ยงสัตว์

Animism

Animism หมายถึง ความเชื่อและโลกทัศน์เกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพลังอำนาจเหนือธรรมชาติ เช่น ผีสางเทวดาวิญญาณที่สิงสถิตย์อยู่ในวัตถุและธรรมชาติ โดยมนุษย์จะแสดงความเคารพและบูชาสิ่งเหล่านี้ ในการศึกษาทางมานุษยวิทยา ความเชื่อเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติจะสัมพันธ์กับความเชื่อทางศาสนาและการแสดงออกทางพิธีกรรมต่าง ๆ สามารถพบเห็นได้ในสังคมชนเผ่าในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก 

ความเชื่อเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติ

Anthropology and Human Right

ความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนในทางมานุษยวิทยา หมายถึงการทำความเข้าใจวิธีคิดและระบบคุณค่าที่มนุษย์มีต่อสิทธิของบุคคล โดยทำความเข้าใจฐานความคิดที่รองรับคำอธิบายเกี่ยวกับสิทธิและตัวตนความเป็นมนุษย์ ทำความเข้าใจวิธีปฏิบัติ การแสดงออก และการได้มาในสิทธิของบุคคลในบริบทต่าง ๆ

มานุษยวิทยากับสิทธิมนุษยชน

Anthropology of Music

การศึกษาดนตรีในทางมานุษยวิทยา เป็นการศึกษาวัฒนธรรมดนตรีที่อยู่นอกสังคมตะวันตก เพื่อสำรวจและทำความเข้าใจประสบการณ์ของการใช้อุปกรณ์สร้างเสียงชนิดต่างๆที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน นักมานุษยวิทยาก็หันมาศึกษาวัฒนธรรมดนตรีในสังคมตะวันตกด้วย เพราะเชื่อว่าในแต่ละวัฒนธรรม มนุษย์จะมีกิจกรรมทางดนตรีในแบบของตัวเอง

มานุษยวิทยาดนตรี

Anthropology of Science

วิทยาศาสตร์ในมุมมองทางมานุษยวิทยา คือชุดของความรู้อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมตะวันตกในยุคสมัยใหม่ และมีอิทธิพลต่อการอธิบายความจริงต่าง ๆ ของสังคมและชีวิตมนุษย์ นักมานุษยวิทยาที่วิพากษ์ความรู้วิทยาศาสตร์ ตั้งคำถามเกี่ยวกับญาณวิทยาและกระบวนทัศน์ที่นักวิทยาศาสตร์ใช้สร้างทฤษฎีเกี่ยวกับมนุษย์และสังคม ซึ่งครอบงำแวดวงวิชาการ แม้แต่มานุษยวิทยาในระยะแรก ๆ ก็นำเอากระบวนทัศน์แบบวิทยาศาสตร์มาใช้ศึกษาวัฒนธรรมของมนุษย์ด้วย 

มานุษยวิทยาว่าด้วยวิทยาศาสตร์

Anthropology of Tourism

การท่องเที่ยวในมิติมานุษยวิทยา สนใจรูปแบบและผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีต่อมนุษย์และชุมชนท้องถิ่น ในแง่ของรูปแบบ จะเป็นการศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยว การจัดการท่องเที่ยว และกิจกรรมต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับการท่องเที่ยว ในแง่ของผลกระทบ จะเป็นการศึกษาสิ่งที่เปลี่ยนแปลงในชุมชนท้องถิ่นในมิติต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ การทำมาหากิน วัฒนธรรม วิถีชีวิต และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

มานุษยวิทยาการท่องเที่ยว

Anthrozoology

Anthrozoology คือวิชาที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ หรือเป็นการศึกษาชีวิตทางสังคมของสัตว์ในวัฒนธรรมของมนุษย์ การศึกษาดังกล่าวนี้เพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นานและเป็นศาสตร์ที่อาสัยความรู้จากหลายสาขาวิชา ทั้งมานุษยวิทยา สังคมวิทยา สัตววิทยา ชาติพันธุ์วิทยา จิตวิทยา สัตวแพทยศาสตร์ ชีววิทยา ประวัติศาสตร์ และปรัชญา เป็นต้น

ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์

Applied Anthropology

มานุษยวิทยาประยุกต์ หมายถึง การนำเอาแนวคิดทฤษฎีและระเบียบวิธีวิจัยทางมานุษยวิทยาไปประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์และการแก้ปัญหาทางสังคม นอกจากนั้น นักมานุษยวิทยาที่ทำงานดังกล่าวยังต้องร่วมมือกับนักวิชาการสาขาอื่น ๆ ในการแสวงหาแนวคิดและแนวทางแก้ปัญหาในประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งอาจช่วยสร้างแนวนโยบายให้กับองค์กรของรัฐและเอกชนในการพัฒนาสังคมและช่วยเหลือมนุษย์

มานุษยวิทยาประยุกต์

Avunculate

Avunculate หรือ Avunculism คือลักษณะของสังคมที่ผู้ชายที่เป็นญาติข้างแม่จะมีบทบาทหน้าที่พิเศษภายใต้ความสัมพันธ์กับหลานที่เป็นลูกของพี่สาวหรือน้องสาว โดยทั่วไป พี่ชายคนโตของแม่มักจะมีความสำคัญและจะทำหน้าที่เป็นหัวหน้าครัวเรือน ส่วนสามีของแม่ที่มาจากคนต่างตระกูลจะมีบทบาทน้อยกว่า  

ความสัมพันธ์ระหว่างลุงกับหลาน

Anthropocene

“แอนโทรพอซีน” (Anthropocene) เป็นศัพท์ทางวิชาการ ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงานด้านวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์ หมายถึง สมัยที่กิจกรรมของมนุษย์รบกวนสภาวะตามธรรมชาติของโลก โดยสอดคล้องกับปรากฏการณ์การเติบโตของประชากรแบบก้าวกระโดด ผลกระทบของกิจกรรมเหล่านี้ ได้ทิ้งร่องรอยไว้ในอากาศ น้ำ และตะกอนดินทับถม ซึ่งสามารถตรวจวัดได้ด้วยวิธีทางธรณีวิทยา และวิทยาศาสตร์แขนงอื่น

แอนโทรพอซีน, วิทยาศาสตร์, สังคมศาสตร์

Actor-Network Theory

ทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ที่เริ่มต้นจากฐานคิดที่ถือว่าสิ่ง ต่าง ๆ ไม่ว่าจะดำรงอยู่ในโลกทางสังคมวัฒนธรรมหรือโลกธรรมชาติต่างก็เกาะเกี่ยวกันอยู่ภายใน “ข่ายใยความสัมพันธ์” (web of relations) และความสัมพันธ์ดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิด “ความจริง” (reality) หรือ “รูปร่าง” (form) ของสิ่งนั้น ๆ

มานุษยวิทยา, ทฤษฎ๊, เครือข่ายผู้กระทำ

Anthropology of Care

เอียน วิลคินสัน (Iian Wilkinson) และอาร์เธอร์ ไคลน์แมน (Arthur Kleinman) เสนอว่าการหันมาให้ความสนใจกับปฏิบัติการของการใส่ใจดูแลเป็นส่วนหนึ่งของการตอบสนองและแก้ไขความทุกข์ทนทางสังคม และการพัฒนาความรู้ในประเด็นนี้ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน โดยเฉพาะการนำความรู้เรื่องนี้ไปประยุกต์ใช้ในโลกแห่งความเป็นจริงอย่างกระตือรือร้น

มานุษยวิทยา, การใส่ใจ, การดูแล, ความห่วงใย

Anthropology of Secularism

โลกิยนิยม (Secularism) หมายถึงการให้คุณค่าชีวิตที่ดำรงอยู่ในกิจกรรมทางสังคมที่จับต้องและสัมผัสได้เชิงประจักษ์ บางครั้งตอบโต้กับความเชื่อทางศาสนาที่สอนให้เชื่อในอำนาจของพระเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความสงสัยและความหมดศรัทธาต่อพระเจ้าและคำสอนทางศาสนาคือเงื่อนไขหนึ่งที่ทำให้เกิดการโต้แย้งเกี่ยวกับคุณค่าของมนุษย์ นำไปสู่การตื่นตัวของระบบเหตุผลและการใช้สติปัญญาเพื่อหาทางออกใหม่ ๆ ที่ต่างไปจากกฎทางศาสนา

มานุษยวิทยา, สังคม, โลกิยนิยม, เหตุผล, ความรู้วิทยาศาสตร์