คำว่า acculturation หมายถึงการเปลี่ยนแปลงของประสบการณ์ทางอารมณ์ความคิดที่เป็นผลมาจากการผสมผสานแลกเปลี่ยนหรือผนวกรวมสองวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน ซึ่งวัฒนธรรมหนึ่งอาจเจริญกว่าอีกวัฒนธรรมหนึ่ง ผลที่เกิดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมนั้นอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระดับบุคคลและระดับสังคมที่สัดส่วนที่ต่างกัน
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
การผสมผสานทางวัฒนธรรม
วัยรุ่นคือช่วงวัยของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอยู่ในรอยต่อระหว่างการเป็นเด็กกับการเป็นผู้ใหญ่ เป็นช่วงที่มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วทั้งในด้านร่างกาย สรีระ อารมณ์ ความคิด พฤติกรรม และสังคม ทำให้ช่วงวัยรุ่นเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของบุคลิกภาพ
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
วัยรุ่น
พฤติกรรมการตกแต่งร่างกายของมนุษย์เป็นพฤติกรรมที่เป็นสากล และพบได้ในทุกวัฒนธรรม โดยนักมานุษยวิทยาได้แยกข้อพิจารณาเป็น 2 ประเด็นคือ หนึ่ง รูปแบบและลักษณะของการตกแต่งร่างกาย เช่น เสื้อผ้า ทรงผม ฯลฯ และสองความหมายของการแต่งกาย
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
การตกแต่งร่างกาย
การมีอายุหรือวัยชรา คือการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและเกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคน โดยที่สังคมแต่ละแห่งมีการให้ความหมายต่อ “วัยชรา” แตกต่างกัน กระบวนการแก่ชราทางร่างกาย เป็นการสร้างคำอธิบายที่พิจารณาจากความเสื่อมสภาพของสรีระของมนุษย์
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
วัยชรา
สารอัลกอฮอล์คือวัตถุทางวัฒนธรรมที่มีลักษณะเฉพาะเพราะมีผลทางจิต ประสาท อารมณ์และความรู้สึกของผู้ใช้ ซึ่งมนุษย์ในหลายวัฒนธรรมรู้จักใช้สารชนิดนี้ในกิจกรรมและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
อัลกอฮอล์และยา
ทฤษฎีเรื่องการสร้างพันธมิตร หรือ Alliance Theory เริ่มต้นจากแนวคิดของนักมานุษยวิทยาชื่อคล้อด เลวี่-เสตราส์ ซึ่งอธิบายไว้ในหนังสือเรื่อง Elementary Structures of Kinship (1949) ทฤษฎีนี้เป็นการอธิบายความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนสมาชิกสองตระกูลผ่านการแต่งงาน
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
การสร้างพันธมิตรจากการแต่งงาน
Altruism หมายถึง การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และความไม่เห็นแก่ตัว มีข้อถกเถียงทางวิชาการในหลายแง่มุม ทั้งทางจิตวิทยา ชีววิทยา วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ คำว่า Altruism เริ่มปรากฎในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยการเริ่มต้นจากออกุสต์ คอมท์ ซึ่งอธิบายว่าเป็นความเอื้อเฟื้อ ตรงข้ามกับความเห็นแก่ตัว
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
การเลี้ยงสัตว์ของมนุษย์มีประวัติมายาวนาน โดยเชื่อว่าปรากฎขึ้นในยุคหินกลาง เมื่อประมาณ 9,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยมนุษย์นำสัตว์ป่าที่ล่ามาเลี้ยงไว้ในครัวเรือน สัตว์ชนิดแรกๆที่มนุษย์นำมาเลี้ยง เช่น สุนัข แกะ แพะ ฯลฯ
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
การเลี้ยงสัตว์
Animism หมายถึง ความเชื่อและโลกทัศน์เกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพลังอำนาจเหนือธรรมชาติ เช่น ผีสางเทวดาวิญญาณที่สิงสถิตย์อยู่ในวัตถุและธรรมชาติ โดยมนุษย์จะแสดงความเคารพและบูชาสิ่งเหล่านี้ ในการศึกษาทางมานุษยวิทยา ความเชื่อเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติจะสัมพันธ์กับความเชื่อทางศาสนาและการแสดงออกทางพิธีกรรมต่างๆ สามารถพบเห็นได้ในสังคมชนเผ่าในภูมิภาคต่างๆของโลก
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ความเชื่อเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติ
ความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนในทางมานุษยวิทยา หมายถึงการทำความเข้าใจวิธีคิดและระบบคุณค่าที่มนุษย์มีต่อสิทธิของบุคคล โดยทำความเข้าใจฐานความคิดที่รองรับคำอธิบายเกี่ยวกับสิทธิและตัวตนความเป็นมนุษย์ ทำความเข้าใจวิธีปฏิบัติ การแสดงออก และการได้มาในสิทธิของบุคคลในบริบทต่างๆ
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยากับสิทธิมนุษยชน