คำศัพท์

A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z All
แสดง 1 ถึง 6 จาก 6 รายการ

Legal Anthropology

มานุษยวิทยากฎหมายศึกษาองค์ประกอบที่สำคัญสามส่วน คือ หนึ่ง แต่ละวัฒนธรรมจะมีวิธีแยกแยะกฎต่าง ๆ และมีกระบวนการสร้างกฎหมาย  สอง ขบวนการจัดการกับความขัดแย้งจะอาศัยรูปแบบและสถาบันที่แน่นอน สังคมจะมีระบบจัดการความขัดแย้งซึ่งเป็นระบบที่ทุกคนเห็นร่วมกัน  และ สาม กฎหมายจะเกิดขึ้นพร้อมกับการสร้างมาตรการควบคุมและระบบคุณค่าทางสังคม เช่น การใช้ขนบธรรมเนียม และศีลธรรม 

มานุษยวิทยากฎหมาย

Leisure

เวลาว่าง คือ เวลาอิสระที่มนุษย์สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้นอกเหนือไปจากงานในอาชีพและภาระหน้าที่ประจำ แต่อย่างไรก็ตาม การนิยามความหมายของ “เวลาว่าง” ก็ยังเป็นเรื่องยากเพราะการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์อาจไม่ได้แบ่งเวลาแยกขาดจากกันเด็ดขาด  

เวลาว่าง

Literary Anthropology

มานุษยวิทยาที่วิเคราะห์วรรณกรรม หมายถึง การสำรวจบทบาทของงานเขียนและวรรณกรรมที่ปรากฎอยู่ในสังคมของมนุษย์ ซึ่งจะมีการตรวจสอบวิธีการแสดงออกทางภาษาในรูปแบบต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ เกี่ยวข้องกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่หล่อหลอมและมีอิทธิพลต่อการสร้างงานเขียน

มานุษยวิทยาวรรณกรรม

Love

นักประวัติศาสตร์อธิบายว่า “ความรักแบบเสน่หาอาวรณ์” เป็นเรื่องทางประวัติศาสตร์ที่พบเห็นได้ในสังคมตะวันตก ลอว์เรนส์ สโตนกล่าวว่า ถ้าความรักโรแมนติกเกิดนอกทวีปยุโรป มันก็เป็นเพียงความรักของชนชั้นสูงที่มีเวลาสำหรับการหาความสุนทรีย์ ความคิดเรื่องรักของชาวยุโรปนั้นวางอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าทุกๆอย่างมีความสมบูรณ์ ซึ่งเป็นไปตามคติสมัยใหม่และปัจเจกนิยม ซึ่งทำให้ความรักก่อตัวเป็นรูปร่างอย่างชัดเจน 

ความรัก

Life History

ประวัติศาสตร์ชีวิตเป็นการศึกษาปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม โดยการสืบประวัติและประสบการณ์ของบุคคลในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง นักมานุษยวิทยาจะสนใจประวัติศาสตร์ชีวิตของกลุ่มคนในท้องถิ่น ชนพื้นเมือง กลุ่มชาติพันธุ์ หรือกลุ่มคนที่ไม่มีอำนาจ

ประวัติชีวิต

Lacanian Anthropology

“ความจริง” ที่มนุษย์อธิบายผ่านความหมายต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินแบบตรงไปตรงมา (Clifford, 1986) ในการอธิบายและสร้างความหมายให้กับสรรพสิ่งต่าง ๆ ด้วยคำและภาษา มนุษย์จึงเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใช้ภาษาเพื่อสร้างความจริง ในแง่นี้ทักษะและความสามารถเชิงภาษาจึงใกล้ชิดกับข้อถกเถียงของ Jacques Lacan ซึ่งสนใจ “ปฏิบัติการของคำพูด” (act of speech) ที่ทำให้มนุษย์สร้างตัวตนและการดำรงอยู่ ในขณะที่นักมานุษยวิทยาภาษามองว่า “การพูด” คือกิจกรรมเชิงสังคมและเกี่ยวข้องกับบริบท (contextualised activity) (Hoye, 2006) ในแง่นี้ จึงกล่าวได้ว่าความสนใจของมานุษยวิทยาและจิตวิทยาเข้ามาใกล้กันมากเมื่อทั้งสองศาสตร์สนใจทักษะและบทบาทของ “ภาษา” ที่มนุษย์ใช้เพื่อสร้างความหมาย

มานุษยวิทยา, จิตวิทยา, ฌาคส์ ลากอง, ตัวตน, ภาษา, ความหมาย