แสดง 1 ถึง 6 จาก 6 รายการ
Incest Taboo
ข้อห้ามการมีเพศสัมพันธ์กับญาติพี่น้อง (Incest Taboo) เป็นกฎสำหรับพี่น้องร่วมสายโลหิตในครอบครัวเดี่ยว และอาจรวมถึงญาติที่เกิดจากการแต่งงาน ข้อห้ามนี้พบเห็นได้ในหลายวัฒนธรรม ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ข้อห้ามการร่วมประเวณีในครอบครัวเป็นปรากฏการณ์ที่ก่อให้เกิดแนวคิดทฤษฎี ครอบครัวถูกนิยามด้วยระบบคุณค่าที่ต่างกันสองแบบ แบบแรกโดยฟอร์เตส นิยามความหมายของครอบครัวว่าเป็นหลักเกณฑ์ของการสร้างมิตร ซึ่งจำเป็นต้องมีญาติพี่น้องที่ปฏิบัติต่อกันอย่างซื่อสัตย์และเป็นเอกภาพเดียวกัน แบบที่สอง ตามความหมายของข้อห้ามการร่วมประเวณี ครอบครัวหมายถึงบุคคลที่มีพลังขับทางเพศที่ต้องการระบาย และอยู่นอกกฎเกณฑ์ข้อผูกมัดทางสังคม
Infanticide
การฆ่าทารก (Infanticide) เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นมากนักในสังคมมนุษย์ อาจพบเห็นได้ในสงครามหรือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ส่วนกรณีอื่น ๆ ไม่มีรายงานอย่างเป็นทางการ การฆ่าทารกมักจะถูกโจมตีว่าเป็นการกระทำที่ผิดศีลธรรม เช่น กรณีที่มารดาไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรแรกเกิดของตนได้ เธออาจทำแท้ง หรือฆ่าทารกตั้งแต่แรกคลอด นอกจากนั้นการตายของทารกอาจเกิดจากการถูกทิ้งให้อดตาย ขาดอาหาร ซึ่งเป็นการฆาตกรรมทางอ้อม ชาวยุโรปมักจะประณามการฆ่าทารกว่าเป็นความโหดเหี้ยม และเป็นความป่าเถื่อน
Initiation Rites
พิธีกรรมแรกรับ หรือพิธีกรรมรับเข้ากลุ่ม (Initiation Rites) หมายถึง พิธีที่เปลี่ยนสถานะและบทบาทของบุคคล ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมกับการรับเข้าไปอยู่ในกลุ่มอายุ เช่น กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มผู้ใหญ่ กลุ่มผู้ชาย กลุ่มผู้หญิง หรือการได้รับสถานะพิเศษ เช่น การเป็นพระ พ่อมดแม่มด หรือกษัตริย์ พิธีกรรมดังกล่าวนี้ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การนำบุคคลออกจากสถานะเดิม การเปลี่ยนแปลงสถานะ และการรับเข้าไปสู่สถานะใหม่
Islamophobia
“อิสลาโมโฟเบีย” (Islamophobia) หรือ ความหวาดกลัวอิสลาม หรือบ้างก็เรียกว่า โรคหวาดกลัวอิสลาม อันเป็นปรากฏการณ์ของความรู้สึกหวาดกลัว รังเกียจเดียดฉันท์ และมีอคติต่อศาสนาอิสลาม (Islam) และชาวมุสลิม (Muslims) อย่างรุนแรง
Incest
Malinowski (1927) ตั้งข้อสังเกตว่ากฎการแต่งงานกับคนนนอกกลุ่มทำให้การร่วมประเวณีระหว่างญาติพี่น้องเป็นสิ่งต้องห้าม นำไปสู่บรรทัดฐานของครอบครัวที่ไม่ต้องการให้สมาชิกมีความสัมพันธ์ทางเพศ สมาชิกชายหญิงในเครือญาติเดียวกันจำเป็นต้องไปหาคู่ครองกับคนต่างสายเลือด
ความรัก, การแต่งงาน, ความรักร่วมสายเลือด, ประเวณีของญาติพี่น้อง, ครอบครัว
Intertextuality
ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 แนวคิดเรื่อง “สัมพันธบท” (Intertexuality) ได้รับความสนใจในแวดวงวิชาการอย่างกว้างขวาง ขอบเขตและเป้าหมายของแนวคิดนี้ให้ความสนใจเรื่องคำ ภาษาและเรื่องเขียนที่ปรากฎอยู่ในเรื่องเล่าต่าง ๆ การถกเถียงเรื่องสัมพันธบทเกิดขึ้นจากข้อสงสัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างภาษาที่มีต่อโลกภายนอกหรือการดำรงอยู่ของสิ่งต่าง ๆ ทั้งนี้ภาษาที่ถูกใช้เป็นตัวแทนอาจมิใช่ความหมายที่เกิดขึ้นจริง
สื่อ, ภาษา, ตัวบท, เรื่องแต่ง, ข้อเขียน