แสดง 161 ถึง 180 จาก 232 รายการ
Ethnoscience
วิทยาศาสตร์ชาติพันธุ์ (Ethnoscience) คือการศึกษาความคิดที่มนุษย์ในวัฒนธรรมต่าง ๆ นำไปจัดระเบียบประสบการณ์ต่าง ๆ การศึกษานี้พัฒนาขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยอาศัยการวิเคราะห์การจัดระเบียบประสบการณ์ของชนพื้นเมือง เช่น เรื่องระบบเครือญาติ ประเภทสี ชนิดของพืช และโรคภัยไข้เจ็บ เป็นต้น
Cultural Studies
วัฒนธรรมศึกษา ได้รับการพัฒนาขึ้นจากความคิดของนักสังคมวิทยาชาวอังกฤษ คือ ริชาร์ด ฮ็อคการ์ด, อี พี ทอมป์สัน, สจ๊วต ฮอลล์ และเรย์มอนด์ วิลเลียมส์ ซึ่งอธิบายว่าวัฒนธรรมหมายถึงสินค้าเพื่อการบริโภคและตอบสนองการใช้เวลาว่าง เช่น การดูหนังฟังเพลง ทำงานศิลปะ เล่นดนตรี กีฬา สันทนาการ แต่งตัวตามแฟชั่น การรับประทานอาหารนอกบ้าน เป็นต้น
Ontology
คำว่า Ontology แปลเป็นภาษาไทยว่า “ภววิทยา” โดยประกอบด้วยคำสองคำคือ คำบาลี “ภว” หมายถึง สภาวะแห่งการดำรงอยู่ กับคำสันสกฤต “วิทยา” หมายถึงความรู้ ซึ่งราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่าเป็นปรัชญาสาขาหนึ่งของอภิปรัชญา (metaphysics) ที่ศึกษาเรื่องสภาวะแห่งความเป็นอยู่ (being) เป็นวิธีการตั้งคำถามเกี่ยวกับการมีอยู่ของตัวตน (entity) แบบต่าง ๆ เพื่อค้นหาและทำความเข้าใจว่าแต่ละสันตภาพมีความเหมือนและต่างกันอย่างไร ดำรงอยู่ร่วมกันในลักษณะใด
Multispecies Ethnography
หลากสายพันธุ์นิพนธ์คือความพยายามที่จะนำสิ่งมีชีวิตอื่นมาอยู่หน้าฉาก และทำให้ชีวิตของพวกมันปรากฏเคียงข้างมนุษย์ เพราะการมีชีวิตหรือการสิ้นชีวิตของพวกมันก็มีความสำคัญและเกี่ยวพันกับการดำรงอยู่ของมนุษย์และสังคม
Anthropocene
“แอนโทรพอซีน” (Anthropocene) เป็นศัพท์ทางวิชาการ ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงานด้านวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์ หมายถึง สมัยที่กิจกรรมของมนุษย์รบกวนสภาวะตามธรรมชาติของโลก โดยสอดคล้องกับปรากฏการณ์การเติบโตของประชากรแบบก้าวกระโดด ผลกระทบของกิจกรรมเหล่านี้ ได้ทิ้งร่องรอยไว้ในอากาศ น้ำ และตะกอนดินทับถม ซึ่งสามารถตรวจวัดได้ด้วยวิธีทางธรณีวิทยา และวิทยาศาสตร์แขนงอื่น
Xenophobia
ความเกลียดคนต่างชาติ (Xenophobia) หมายถึง ความกลัวคนแปลกหน้าหรือคนที่มิใช่พวกเดียวกัน แต่ความรู้สึกนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องเชื้อชาติและวัฒนธรรมซึ่งนำไปสู่การแบ่งแยกกีดกันคนอื่นและพยายามยกย่องชาติของตนเองให้เหนือกว่าชาติอื่น
Holocene
โฮโลซีน (Holocene) คือชื่อสมัย (epoch) ทางธรณีวิทยา เริ่มตั้งแต่ 11,700 ปีมาแล้วจนถึงปัจจุบัน โดยโฮโลซีนเป็นสมัยต่อเนื่องมาจากสมัยไพลสโตซีน (Pleistocene) ทั้งสองสมัยอยู่ในยุคควอเทอร์นารี (Quaternary Period; 2.58 ล้านปีมาแล้ว - ปัจจุบัน) ของมหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic Era; 66 ล้านปีมาแล้ว - ปัจจุบัน) (Walker et al. 2018; Cohen et al. 2020)
Actor-Network Theory
ทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ที่เริ่มต้นจากฐานคิดที่ถือว่าสิ่ง ต่าง ๆ ไม่ว่าจะดำรงอยู่ในโลกทางสังคมวัฒนธรรมหรือโลกธรรมชาติต่างก็เกาะเกี่ยวกันอยู่ภายใน “ข่ายใยความสัมพันธ์” (web of relations) และความสัมพันธ์ดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิด “ความจริง” (reality) หรือ “รูปร่าง” (form) ของสิ่งนั้น ๆ
Islamophobia
“อิสลาโมโฟเบีย” (Islamophobia) หรือ ความหวาดกลัวอิสลาม หรือบ้างก็เรียกว่า โรคหวาดกลัวอิสลาม อันเป็นปรากฏการณ์ของความรู้สึกหวาดกลัว รังเกียจเดียดฉันท์ และมีอคติต่อศาสนาอิสลาม (Islam) และชาวมุสลิม (Muslims) อย่างรุนแรง
Zombie Studies
การศึกษาของ McAlister (2017) พบว่าเรื่องราวของซอมบี้ในภาพยนตร์สะท้อนตัวละคร “อสูรกาย” ในยุคสมัยใหม่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับลัทธิอาณานิคมในประเทศเฮติ ความเชื่อเกี่ยวกับเวทมนต์คาถาของชาวเฮติขัดแย้งกับความรู้วิทยาศาสตร์ของชาวตะวันตก
Posthuman Anthropology
จุดท้าทายเริ่มแรกของการก้าวข้ามความเป็นมนุษย์ คือการรื้อทำลายมายาคติความเป็นมนุษย์ที่อยู่เหนือสรรพสิ่ง Kopnina (2012a, 2012b) เสนอว่าการศึกษาทางมานุษยวิทยาจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์โดยมองไปที่สิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ที่มีส่วนทำให้โลกเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น กระบวนทัศน์การพ้นมนุษย์จึงเป็นการล้มล้างและท้าทายความคิดตะวันตกที่เอามนุษย์เป็นศูนย์กลาง (anthropocentrism)
Sensory Anthropology
ในแวดวงมานุษยวิทยาซึ่งใช้วิธีการศึกษาแบบการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและเข้าไปคลุกคลีกับกลุ่มคนที่ถูกศึกษาเป็นเวลานานนำไปสู่ความสนใจเรื่องความรู้สึกที่นักมานุษยวิทยามีต่อสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในพื้นที่ศึกษา สิ่งนี้นำไปสู่ระเบียบวิธีวิจัยที่เรียกว่า วิธีวิทยาแห่งผัสสะ (sensory methodology) ซึ่งใช้ความรู้สึกเป็นเครื่องมือเพื่อแสวงหาความรู้
Materiality
วัตถุภาวะ คือ แนวคิดที่พยายามทำความเข้าใจมิติทางสังคมและวัฒนธรรมที่พัวพันอยู่กับสรรพสิ่ง ซึ่งไม่จำเป็นต้องปรากฏเป็นรูปเป็นร่างที่จับต้องได้เสมอไป การทำความเข้าใจวัตถุภาวะยังมาพร้อมกับคำถามต่อสิ่งที่เป็น “วัตถุ” เช่น มนุษย์รับรู้ความเป็นวัตถุได้อย่างไร การดำรงอยู่ของวัตถุเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับความรู้และอำนาจอย่างไร วัตถุเป็นสื่อของความหมายต่างๆได้อย่างไร เป็นต้น
Public Anthropology
Borofsky and Lauri (2019) อธิบายว่ามานุษยวิทยาสาธารณะบ่งชี้ถึงความสามารถของความรู้มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยาในการแก้ไขปัญหาสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ และให้ความกระจ่างในประเด็นทางสังคมที่กว้างขวางในโลกปัจจุบัน ตลอดจนสนับสนุนการสนทนากับสาธารณะเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
Cyborg Anthropology
คำว่า Cyborg Anthropology เป็นการนำคำว่า Cyborg ซึ่งหมายถึงเครื่องจักรมาไว้รวมกับคำว่า Anthropology ที่เป็นการศึกษามนุษย์ ทำให้เกิดความหมายใหม่ที่บ่งชี้ถึงแนวการศึกษาที่สนใจชีวิตมนุษย์ที่ดำรงอยู่ร่วมกับสิ่งที่มิใช่มนุษย์ ในยุคที่ความรู้มานุษยวิทยาก้าวข้าวมนุษย์ไป การศึกษาการดำรงอยู่ของสิ่งที่มิใช่มนุษย์คือโจทย์ที่ท้าทายกระบวนทัศน์และวิธีวิทยา
Lacanian Anthropology
“ความจริง” ที่มนุษย์อธิบายผ่านความหมายต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินแบบตรงไปตรงมา (Clifford, 1986) ในการอธิบายและสร้างความหมายให้กับสรรพสิ่งต่าง ๆ ด้วยคำและภาษา มนุษย์จึงเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใช้ภาษาเพื่อสร้างความจริง ในแง่นี้ทักษะและความสามารถเชิงภาษาจึงใกล้ชิดกับข้อถกเถียงของ Jacques Lacan ซึ่งสนใจ “ปฏิบัติการของคำพูด” (act of speech) ที่ทำให้มนุษย์สร้างตัวตนและการดำรงอยู่ ในขณะที่นักมานุษยวิทยาภาษามองว่า “การพูด” คือกิจกรรมเชิงสังคมและเกี่ยวข้องกับบริบท (contextualised activity) (Hoye, 2006) ในแง่นี้ จึงกล่าวได้ว่าความสนใจของมานุษยวิทยาและจิตวิทยาเข้ามาใกล้กันมากเมื่อทั้งสองศาสตร์สนใจทักษะและบทบาทของ “ภาษา” ที่มนุษย์ใช้เพื่อสร้างความหมาย
Structural Violence
ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง หมายถึง สังคมที่มีกลไกที่หลบซ่อนที่ทำให้คนบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงสิทธิและโอกาสที่จะทำให้ชีวิตมีคุณภาพได้เท่าเทียมกับคนกลุ่มอื่น กลไกเหล่านี้จะเกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งในกฎระเบียบทางกฎหมาย มาตรการ บรรทัดฐาน นโยบาย วิธีปฏิบัติที่ดำรงอยู่ในสถาบันทางการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ สาธารณสุข สวัสดิการ ศาสนา ขนบธรรมเนียมและแบบแผนทางวัฒนธรรม ซึ่งเอื้อให้คนบางกลุ่มได้เปรียบและได้ประโยชน์มากกว่าคนบางกลุ่ม
Anthropology of Care
เอียน วิลคินสัน (Iian Wilkinson) และอาร์เธอร์ ไคลน์แมน (Arthur Kleinman) เสนอว่าการหันมาให้ความสนใจกับปฏิบัติการของการใส่ใจดูแลเป็นส่วนหนึ่งของการตอบสนองและแก้ไขความทุกข์ทนทางสังคม และการพัฒนาความรู้ในประเด็นนี้ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน โดยเฉพาะการนำความรู้เรื่องนี้ไปประยุกต์ใช้ในโลกแห่งความเป็นจริงอย่างกระตือรือร้น
Otakuology
คำว่า Otakuology หมายถึงการศึกษาคนที่คลั่งไคล้และชื่นชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมากล้น เสมือนเป็นสาวกที่เกาะติดและเฝ้าติดตามสิ่งนั้นอย่างไม่ห่างหาย บางครั้งอาจมีอาการหมกหมุ่น ใจจดใจจ่อต่อสิ่งนั้นตลอดเวลา โดยเฉพาะกลุ่มคนที่นิยมชมชอบการ์ตูนแอนิเมะมังงะของญี่ปุ่น ในวัฒนธรรมญี่ปุ่นคำว่า “โอตาคุ” (Otaku) ถูกใช้อย่างอย่างแพร่หลายในแวดวงการศึกษาวัฒนธรรมป๊อปเพื่ออธิบายปรากฎการณ์ที่บุคคลหรือผู้บริโภคยอมเสียเงิน เสียเวลาเพื่อติดตามสินค้าที่ตนเองคลั่งไคล้
Cultural Right
ปฏิญญาไฟร์บูร์กว่าด้วยสิทธิทางวัฒนธรรม (Fribourg Declaration on Cultural Rights) ที่สนับสนุนโดย UNESCO (ประกาศในปี 2007) ได้กำหนดประเด็นเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมภายใต้ปฏิญญาสากลด้านสิทธิมนุษยชน โดยให้ความหมายของวัฒนธรรมว่าครอบคลุมทั้งค่านิยม ความเชื่อ ความศรัทธา ภาษา ความรู้ ศิลปะ ประเพณี ความเป็นสถาบันและวิถีชีวิตที่บุคคลหรือกลุ่มคนได้แสดงออกถึงการดำรงอยู่และการพัฒนาของพวกเขา