แสดง 21 ถึง 33 จาก 33 รายการ
Primitivism
คำว่า primitivism หมายถึงลักษณะที่ตรงข้ามกับอารยธรรม ซึ่งเกิดขึ้นในสังคมเรียบง่าย คำว่า พรีมีทีพ อาจอยู่ตรงข้ามกับสิ่งที่ก้าวหน้า เป็นคำที่ชาวตะวันตกเรียกสังคมในอดีต เช่น สังคมมายา เอซเต็ก อินเดีย และ จีน รากศัพท์ของคำว่า primitivism ย้อนกลับไปถึงสมัยกรีก นักเขียนกรีกได้อธิบายถึงลักษณะเรียบง่าย 2 อย่างคือ chronological primitivism กับ cultural primitivism
Psychic Unity
Psychic Unity หมายถึงสภาพหรือความสามารถที่มนุษย์มีร่วมกัน ไม่ว่ามนุษย์จะเกิดในวัฒนธรรมใดก็ตาม ประเด็นนี้คือประเด็นที่ถกเถียงกันในทางมานุษยวิทยา เช่นเดียวกับข้อถกเถียงทางปรัชญา แนวคิดเรื่อง Psychic Unity หรือ สภาวะจิตร่วมกัน มีหลายลักษณะ บางครั้งอาจเป็นเรื่องบุคลิกภาพของมนุษย์ หรือเป็นหลักการอธิบายของมนุษย์ในวัฒนธรรมต่าง ๆ หรือเป็นแบบแผนวิวัฒนาการเดียวกันของมนุษย์
Psychological Anthropology
มานุษยวิทยาจิตวิทยา เป็นคำเรียกการศึกษาที่ใช้แนวคิดทฤษฎีทางจิตวิทยามาทำความเข้าใจวัฒนธรรม ทฤษฎีทางจิตวิทยาที่นักมานุษยวิทยาใช้มีหลากหลาย ตั้งแต่ทฤษฎีสากลที่อธิบายธรรมชาติมนุษย์ และความมีเอกภาพ ไปจนถึงลักษณะเฉพาะทางเผ่าพันธุ์และเชื้อชาติ
Purity and Pollution
ในหลายวัฒนธรรมจะแยกความแตกต่างระหว่างสิ่งสะอาดและสิ่งสกปรก สิ่งที่บริสุทธิ์กับสิ่งที่มีมลทิน ไม่ว่าจะเป็นคนสัตว์หรือสิ่งของก็ตาม บางครั้งการแบ่งแยกนี้เกิดขึ้นโดยความเชื่อทางศาสนา ซึ่งความบริสุทธิ์จะถูกมองว่าเป็นสภาวะจิตใจที่สูงสุด แต่บางครั้งความบริสุทธิ์อาจเป็นเรื่องชีวิตประจำวัน เช่น เรื่องสุขภาพดีและรสนิยมดี เป็นต้น
Posthuman Anthropology
จุดท้าทายเริ่มแรกของการก้าวข้ามความเป็นมนุษย์ คือการรื้อทำลายมายาคติความเป็นมนุษย์ที่อยู่เหนือสรรพสิ่ง Kopnina (2012a, 2012b) เสนอว่าการศึกษาทางมานุษยวิทยาจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์โดยมองไปที่สิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ที่มีส่วนทำให้โลกเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น กระบวนทัศน์การพ้นมนุษย์จึงเป็นการล้มล้างและท้าทายความคิดตะวันตกที่เอามนุษย์เป็นศูนย์กลาง (anthropocentrism)
Public Anthropology
Borofsky and Lauri (2019) อธิบายว่ามานุษยวิทยาสาธารณะบ่งชี้ถึงความสามารถของความรู้มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยาในการแก้ไขปัญหาสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ และให้ความกระจ่างในประเด็นทางสังคมที่กว้างขวางในโลกปัจจุบัน ตลอดจนสนับสนุนการสนทนากับสาธารณะเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
Precarity
แนวคิดสภาวะอันตราย (Precarity หรือ Precariousness) เกิดขึ้นในวงวิชาการตะวันตกช่วงทศวรรษ 1980 ถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 เพื่อตอบโต้กับปัญหาการแบ่งแยกกีดกันและสภาพสังคมที่เต็มไปด้วยคนจนที่ขาดรายได้และไร้ที่พึ่ง (Han, 2018; Kasmir, 2018) ความหมายของคำว่า precarity หมายถึงสภาพที่ประชากรของโลกกำลังตกงาน ส่งผลให้ชีวิตขาดความมั่นคง ล่อแหลมต่อความล้มเหลวในทางเศรษฐกิจและสังคม
Plant Ethnography
พืชในฐานะเป็นสิ่งมีชีวิตที่เจริญเติบโตได้ มันสามารถรับรู้สิ่งต่างๆ มีปฏิสัมพันธ์ สื่อสารกับสิ่งรอบข้าง เรียนรู้ จดจำ ประเมิน ตัดสินใจและแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมที่มันดำรงอยู่ ในสถานที่ที่พืชเติบโตและดำรงอยู่ พืชจะปรับตัวและตอบสนองกับสิ่งอื่นที่อยู่แวดล้อมตัวมัน ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต
Pluriversality
ความหมายของ Pluriversality คือการเห็นความหลากหลายของความคิดที่มีอยู่ในสังคมต่าง ๆ และต้องการท้าทายล้มล้างวิธีคิดที่พยายามชี้นำและครอบงำสังคม กล่าวคือ ต้องการโอบอุ้มความคิดที่แตกต่างให้ดำเนินไปพร้อมกันโดยไม่ยกย่องหรือเชิดชูความคิดของใครหรือแบบใดเพียงหนึ่งเดียว
ภววิทยา, ความหลากหลาย, การอยู่ร่วมกัน, พหุจักรวาล, ปฏิสัมพันธ์, จักรวาลวิทยา
Prostitution
การทำความเข้าใจชีวิตของผู้ที่ขายบริการทางเพศ จำเป็นต้องศึกษาบริบทที่เกิดขึ้นในสังคมและวัฒนธรรมที่คนเหล่านั้นเติบโตและใช้ชีวิตอยู่ ทำให้รูปแบบ ความหมายและลักษณะของการขายบริการทางเพศมีความแตกต่างกัน การนำมุมมองแบบตะวันตกไปอธิบายการขายบริการทางเพศอาจไม่ช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับการขายบริการทางเพศ
Perspectivism
ทัศนพิสัยนิยมคือการทำความเข้าใจว่าความคิด ความเชื่อ และทัศนคติของมนุษย์ ที่มีต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขสังคมผ่านการเรียนรู้ การอบรมสั่งสอนและประสบการณ์ที่คนแต่ละถูกขัดเกลามาไม่เหมือนกัน ส่งผลให้คนแต่ละคนอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นผ่านมุมมองของตัวเองเป็นสำคัญ
Post-Marxist anthropology
นักวิชาการสายพ้นมาร์กซิสต์มิได้สนใจกลไกต่อสู้เพื่อที่จะปลดปล่อยสังคมให้เป็นอิสระจากระบบทุนนิยม ในทางตรงกันข้าม นักวิชาการพยายามศึกษามิติที่ซับซ้อนของการเคลื่อนไหวทางการเมือง การมองแค่เพียงความสัมพันธ์ทางการผลิตซึ่งมาร์กซิสต์รุ่นเก่ามักจะตอกย้ำเสมออาจเป็นสิ่งที่ผิวเผินต่อการทำความเข้าใจการดำรงอยู่ของสังคมปัจจุบัน
ทุนนิยม, อำนาจ, ความเหลื่อมล้ำ, มาร์กซิสต์, อุดมการณ์, ชนชั้น