แสดง 221 ถึง 232 จาก 232 รายการ
Sexual Violence
ความหมายของ “ความรุนแรงทางเพศ” ในมุมมองทางมานุษยวิทยาเป็นเรื่องที่คลุมเครือ เพราะการศึกษาที่ผ่านมา นักมานุษยวิทยามิได้สนใจเก็บข้อมูลเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงที่เกิดจากกิจกรรมทางเพศ ความสนใจในประเด็นนี้จึงเริ่มต้นอย่างจริงจังจากกลุ่มนักมานุษยวิทยาแนวสตรีนิยมที่พยายามนำประสบการณ์ของผู้หญิงที่เคยถูกกระทำทางเพศหรือถูกข่มขืน รวมทั้งประสบการณ์ของผู้ที่ใช้ความรุนแรงทางเพศมาอธิบายให้เห็นความสัมพันธ์ทางสังคมที่ซับซ้อนและเต็มไปด้วยความขัดแย้ง
เพศภาวะ, สตรีนิยม, อำนาจ, ความรุนแรงทางเพศ, การข่มขืน, ผู้หญิง
Garbology
คำว่าขยะที่อาจใช้คำว่า garbage, trash, waste, rubbish, litter แม้จะเป็นคำที่มีความหมายแตกต่างกัน (Drackner, 2005) แต่ก็ต่างก็เป็นคำที่แสดงถึงหมวดหมู่เดียวกันของสิ่งที่ถูกปฏิเสธโดยคนส่วนใหญ่ (rejected matter) ซึ่งได้เริ่มถูกกล่าวถึงในแวดวงของมานุษยวิทยาเชิงโครงสร้าง (structural anthropology)
Border Studies
ความเป็นพื้นที่ชายแดนของรัฐ เป็นการปฏิบัติเชิงการเมืองที่มีผู้กระทำการเข้ามาเกี่ยวข้องหลายส่วน ดังนั้นในการทำความเข้าใจประเด็นนี้จำเป็นต้องศึกษาปฏิบัติการของคนกลุ่มต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบริเวณชายแดนและการควบคุมของรัฐ ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบว่าพื้นที่ที่รัฐเข้าไปจัดระเบียบถูกต่อรองและรื้อสร้างความหมายอย่างไร
รัฐ, ชายแดน, ชาติ, ปฏิบัติการ
Russian Anthropology
บริบทสังคมและการเมืองแบบคอมมิวนิสต์ในรัสเซียมีผลต่อการทำงานของนักมานุษยวิทยา กล่าวคือ นักมานุษยวิทยารัสเซียถูกสอนให้เขียนงานวิจัยด้วยระบบเหตุผลและเน้นข้อมูลที่ตรวจสอบได้เชิงประจักษ์ งานเขียนจึงไม่ปรากฎอารมณ์และความรู้สึกของคนศึกษาและผู้ถูกศึกษา
มานุษยวิทยา, ชาติ, เชื้อชาติ, คอมมิวเนิสต์, สหภาพโซเวียต, รัสเซีย
Fandom
การศึกษาแฟนคลับในโลกที่ซับซ้อนมิใช่การค้นหาอัตลักษณ์ที่ถาวรหรือการสร้างชุมชนที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Hills, 2017a) แต่เป็นการทำความเข้าใจเครือข่ายสังคมที่หลากหลายที่ทำให้กลุ่มต่างๆเชื่อมโยงเข้าหากันภายใต้ปฏิสัมพันธ์และปฏิบัติการที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจช่วยขยายมุมมองต่อแฟนคลับจากกลุ่มที่มีเอกภาพแบบของใครของมันไปสู่การมองแฟนคลับในฐานะเป็น “โลก” ที่เคลื่อนตัวไปตลอดเวลาและไม่มีความมั่นคงในอัตลักษณ์
Exorcism
การถูกผีสิงคือประสบการณ์ทางร่างกายที่เชื่อมโยงกับแบบแผนทางวัฒนธรรมและการแสดงตัวตนทางสังคม ในการทำความเข้าใจประสบการณ์ประเภทนี้ในแต่ละวัฒนธรรมมีคำอธิบายที่แตกต่างกัน Alter (2014) ตั้งข้อสังเกตว่าประสบการณ์เกี่ยวกับการถูกผีสิงที่แสดงออกในร่างกายของมนุษย์อาจจะคล้ายกับความรู้สึกและพฤติกรรมของคนที่ดื่มสุราจนเมาและควบคุมตัวเองไม่ได้
Gig Economy
คำว่า Gig Economy หมายถึงระบบเศรษฐกิจที่เกิดจากงานชั่วคราวระยะสั้น หรืองานที่รับจ้างทำแล้วจบไป (Janadari & Preena, 2020; Minter, 2017) ผู้ที่เลือกทำงานแบบชั่วคราวโดยไม่ผูกมัดกับการเป็นลูกจ้างถาวรในองค์กร คือคนทำงานชั่วคราว (giger หรือ gig worker หรือ gig employee) คนกลุ่มนี้จะใช้ชีวิตอย่างเป็นอิสระและเลือกรับจ้างทำงานตามที่ตนเองพึงพอใจ
The Cyborg Manifesto
บทความเรื่อง A Cyborg Manifesto ของดอนน่า ฮาราเวย์ ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1985 เปรียบเสมือนเป็น “นิเวศวิทยาของความรู้” (Sofoulis, 2015) ซึ่งเป็นทั้งการโต้แย้ง ท้าทาย ล้มล้าง และวิพากษ์ความรู้กระแสหลักที่ถูกสถาปนาขึ้นโดยกระบวนทัศน์แบบปฏิฐานนิยมและระบบเหตุผลวิทยาศาสตร์ซึ่งครอบงำและชี้นำความจริงและความรู้ที่เป็นมาตรฐานสากล
Anthropology of Beauty
จากการศึกษาและเก็บข้อมูลของนักมานุษยวิทยาทั่วโลกในพื้นที่ที่แตกต่าง จะพบว่ามนุษย์ในแต่ละวัฒนธรรมล้วนมีวิธีการสร้างความงามบนร่างกายที่ไม่เหมือนกัน เช่น การทำรอยแผลเป็นบนร่างกายและใบหน้าของชนเผ่านูบาในประเทศซูดาน การเขียนลายบนใบหน้าของชาว Caduveo ในประเทศบราซิล การมัดเท้าของชาวจีน การรัดเอวของชนพื้นเมืองในหมู่เกาะปาปัว และการทำให้คอยึดยาวขึ้นของชาวปาดองในพม่า เป็นต้น
Necropolitics
การเมืองมรณะหมายถึงระบอบอำนาจที่กระทำต่อชีวิตคนที่ถูกตีตราว่าชั่วร้ายซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในสภาพที่ทุกข์ยาก ไร้ที่พึ่ง ดิ้นรนตามลำพัง ติดอยู่กับสภาพที่ไร้ทางออก ซึ่งเป็นประสบการณ์ของการถูกปิดกั้น ตัวอย่างที่ชัดเจนคือผู้ที่ยากจนและไร้บ้าน
Corruption
การศึกษาคอร์รัปชั่นในทางมานุษยวิทยาเพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นาน แต่สิ่งที่ทำให้ต่างไปจากการศึกษาของนักสังคมศาสตร์ทั่วไปคือ นักมานุษยวิทยาพยายามทำความเข้าใจวิธีปฏิบัติของมนุษย์ในฐานะที่เป็นผู้กระทำการคอร์รัปชั่น ซึ่งอาศัยการเข้าไปสังเกตแบบมีส่วนร่วมเพื่อให้เห็นประสบการณ์ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น
อำนาจ, รัฐ, ความเหลื่อมล้ำ, เศรษฐกิจ, คอร์รัปชั่น, ธรรมาภิบาล
Post-Marxist anthropology
นักวิชาการสายพ้นมาร์กซิสต์มิได้สนใจกลไกต่อสู้เพื่อที่จะปลดปล่อยสังคมให้เป็นอิสระจากระบบทุนนิยม ในทางตรงกันข้าม นักวิชาการพยายามศึกษามิติที่ซับซ้อนของการเคลื่อนไหวทางการเมือง การมองแค่เพียงความสัมพันธ์ทางการผลิตซึ่งมาร์กซิสต์รุ่นเก่ามักจะตอกย้ำเสมออาจเป็นสิ่งที่ผิวเผินต่อการทำความเข้าใจการดำรงอยู่ของสังคมปัจจุบัน
ทุนนิยม, อำนาจ, ความเหลื่อมล้ำ, มาร์กซิสต์, อุดมการณ์, ชนชั้น