คำศัพท์

A | B | C | D | E | F | G | H | I | J | K | L | M | N | O | P | Q | R | S | T | U | V | W | X | Y | Z | ทั้งหมด
แสดง 11-18 จากทั้งหมด 18 รายการ

วิทยาศาสตร์ชาติพันธุ์ (Ethnoscience)  คือการศึกษาความคิดที่มนุษย์ในวัฒนธรรมต่างๆนำไปจัดระเบียบประสบการณ์ต่างๆ  การศึกษานี้พัฒนาขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยอาศัยการวิเคราะห์การจัดระเบียบประสบการณ์ของชนพื้นเมือง  เช่น เรื่องระบบเครือญาติ ประเภทสี ชนิดของพืช และโรคภัยไข้เจ็บ เป็นต้น  

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: วิทยาศาสตร์ชาติพันธุ์

นักมานุษยวิทยาอาจพบว่าในสนามที่ตนศึกษาวิจัยอยู่นั้นอาจเป็นพื้นที่ที่มีประเด็นของความขัดแย้งหรือความรุนแรงเกิดขึ้นอยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้ง/รุนแรงภายในกลุ่มหรือระหว่างกลุ่ม ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการทำงานใน ‘สนามของความขัดแย้ง/รุนแรง หรือ สนามที่อันตราย’ อันเป็นสนามที่นักมานุษยวิทยาต้องเผชิญกับความยากลำบากและข้อท้าทายต่าง ๆ ทั้งในแง่ของระเบียบวิธีวิจัยหรือทฤษฎี จริยธรรมการวิจัยหรือเชิงศีลธรรม และในแง่ของความรับผิดชอบหรือบทบาทของนักมานุษยวิทยาในสนามของความขัดแย้ง/รุนแรง (ชยันต์, 2001; Barcott et al., 2008)

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: สัมพันธ์ วารี

หัวเรื่องอิสระ: ชาติพันธุ์นิพนธ์, อันตราย, ความรุนแรง, ความขัดแย้ง

นักมานุษยวิทยาที่บุกเบิกการศึกษาในประเด็นสิ่งมีชีวิตนอกโลกคือ Robert and Marcia Ascher (1962) โดยเขียนบทความเรื่อง Interstellar communication and human evolution เพื่อชี้ให้เห็นว่าการติดต่อสื่อสารกับสิ่งมีชีวิตนอกโลกอาจดูได้จากวิธีการที่มนุษย์ในอดีตใช้ติดต่อสื่อสารกัน

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: สิ่งมีชีวิตนอกโลก, วิทยาศาสตร์, วิวัฒนาการทางวัฒนธรรม, การติดต่อสื่อสาร

Valentine (2007) เสนอว่าการทำความเข้าใจอารมณ์และความต้องการทางเพศ อาจต้องแสวงหาวิธีวิทยาและวิธีศึกษาใหม่ๆที่สามารถมองเห็นผัสสะและความรู้สึกที่ปรากฎอยู่ในกิจกรรมทางเพศ เนื่องจากประสบการณ์ทางร่างกายขณะมีอารมณ์ทางเพศย่อมจะถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือไม่ได้อย่างตรงไปตรงมา

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: เพศภาวะ, เพศวิถี, เซ็กส์, อารมณ์ทางเพศ, การปฏิบัติทางเพศ, ผัสสะ, เรือนร่าง

ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม หมายถึงการทำกิจกรรมของมนุษย์ในสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศซึ่งต่างมีผลต่อกัน มนุษย์จะคิดค้นเทคโนโลยีเพื่อใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ขณะที่ธรรมชาติจะกำหนดวิธีการที่มนุษย์จะปรับตัวอยู่กับสภาพแวดล้อม ประเด็นสำคัญคือความหมายที่มนุษย์ให้กับธรรมชาติดำรงอยู่ในโลกทัศน์ทางวัฒนธรรม

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, นิเวศวัฒนธรรม, ธรรมชาติ, ภูมิทัศน์, มนุษย์, ชีววัฒนธรรม

หากย้อนกลับไปดูความหมายของ entrepreneur จะพบว่าเป็นคำภาษาฝรั่งเศสซึ่งปรากฏครั้งแรกในพจนานุกรม Dictionnaire de la langue français ในปี ค.ศ. 1437 ซึ่งเป็นคำนามที่ความหมายพื้นฐานที่สุดบ่ง ชี้ถึง “บุคคลผู้กระตือรือล้นและบรรลุเป้าหมายบางอย่าง” (a person who is active and achieves somethings” ส่วนคำกริยา entreprendre นั้นหมายถึง “การทำหน้าที่บางอย่าง” (to undertake something)

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ชัชชล อัจนากิตติ

หัวเรื่องอิสระ: ผู้ประกอบการ, ทุนนิยม, ธุรกิจ, เศรษฐกิจ

การถูกผีสิงคือประสบการณ์ทางร่างกายที่เชื่อมโยงกับแบบแผนทางวัฒนธรรมและการแสดงตัวตนทางสังคม ในการทำความเข้าใจประสบการณ์ประเภทนี้ในแต่ละวัฒนธรรมมีคำอธิบายที่แตกต่างกัน Alter (2014) ตั้งข้อสังเกตว่าประสบการณ์เกี่ยวกับการถูกผีสิงที่แสดงออกในร่างกายของมนุษย์อาจจะคล้ายกับความรู้สึกและพฤติกรรมของคนที่ดื่มสุราจนเมาและควบคุมตัวเองไม่ได้

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ผี, การไล่ผี, พิธีกรรม, ผีสิง, ร่างกาย

ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ถือเป็นความขัดแย้งทางสังคม (social conflict) รูปแบบหนึ่งที่แสดงให้เห็นการมีอคติ (prejudices) และการขาดการสื่อสารระหว่างกันอย่างเหมาะสมเพียงพอ เป็นผลให้เกิดการขัดกันหรือเข้ากันไม่ได้ทางวัฒนธรรมระหว่างกลุ่ม (cultural incompatibility) ซึ่งอาจจะลุกลามไปสู่สภาวะของความหวาดกลัว/เกลียดชัง (homophobia) ทั้งที่ซ่อนเร้นและที่เปิดเผยสู่การแสดงออกต่าง ๆ

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: สัมพันธ์ วารี

หัวเรื่องอิสระ: