ความอาฆาตบาดหมางและการเป็นศัตรูกันระหว่างพี่น้องและเครือญาติ (Feuding) ต่างจากความขัดแย้งทางการเมืองที่นำไปสู่การสู้รบและสงคราม คีธ เอฟ ออตเตอร์บีน และ ชาร์ล็อตต์ สวอนสัน อธิบายว่าความเป็นศัตรูระหว่างคนร่วมสายเลือดว่าคือการปองร้าย แก้แค้น และฆ่าคนในครอบครัวหรือญาติพี่น้อง ลีโอพอลด์ พอสพิซิล กล่าวว่าการเป็นศัตรูของคนร่วมสายเลือดมี 3 ลักษณะ คือ การฆ่ากันเอง การใช้อำนาจบีบบังคับ และการแก้แค้น คริสโตเฟอร์ โบเอ็ม(1984) อธิบายว่าความบาดหมางระหว่างญาติพี่น้อง จะมีการฆ่าเพื่อแก้แค้น หรือล้างแค้นเพื่อชดเชย หรือทดแทนสิ่งที่เคยถูกกระทำไว้ในลักษณะเดียวกัน
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
การเป็นศัตรูระหว่างพี่น้อง
งานภาคสนาม (Fieldwork) หมายถึง การเข้าไปอยู่กิน สนทนา พูดคุย เข้าร่วมกิจกรรม สังเกตชีวิตของชาวบ้าน เรียนรู้ภาษาของชาวบ้าน โดยเข้าไปอยู่อาศัยเป็นเวนายาวนานเพื่อที่จะทำความเข้าใจว่าชาวบ้านคิดอย่างไร ใช้ชีวิตอย่างไร ซึ่งความเข้าใจเหล่านี้ใช้วิธีคิดแบบชาวบ้านเป็นรากฐาน และข้อมูลที่ได้มาก็จะนำไปสู่ความเข้าใจสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มคนที่ถูกศึกษา ทั้งนี้ งานภาคสนามของนักมานุษยวิทยาอาจเป็นหมู่บ้านเล็กๆในชนบท พื้นที่ในชุมชนเมือง ในสถาบัน องค์กร หน่วยงาน ชมรม หรือแม้แต่ชุมชนเสมือนจริงในอินเตอร์เน็ต
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
งานภาคสนาม
คติชาวบ้าน (Folklore) หมายถึง แบบแผนการแสดงออกทางความคิดความเชื่อของชาวบ้านในรูปแบบต่างๆ เช่น ดนตรี ตำนาน ความเชื่อ สุภาษิต คำพังเพย คติพจน์ นิทาน เรื่องเล่า เป้นต้น คำว่า Folklore เริ่มใช้ในปี ค.ศ.1846 โดย วิลเลียม โธมัส หมายถึง นิยายของชาวบ้าน โดยทั่วไปคติชาวบ้านจะใช้การแสดงออกทางภาษาซึ่งแฝงด้วยความเชื่อทางศาสนา มีการเล่าแบบปากต่อปากจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
คติชาวบ้าน
การผลิต การเตรียม การปรุง และการกินอาหารเป็นกิจกรรมที่สำคัญของมนุษย์ การศึกษาทางมานุษยวิทยาในเรื่องนี้ต้องการทำความเข้าใจว่ามนุษย์ในแต่ละวัฒนธรรมมีกระบวนการผลิตอาหารอย่างไร ให้คุณค่าต่ออาหารอย่างไร และมีแบบแผนการกินอาหารแตกต่างกันอย่างไร รวมทั้งสนใจอาหารในบริบทต่างๆเช่น อาหารในพิธีกรรม ในความสัมพันธ์ทางสังคม อาหารกับชนชั้นและสถานะ อาหารในวัฒนธรรมบริโภค อาหารในฐานะเป็นสินค้า สุนทรียะ และสัญลักษณ์ อาหารกับการดูแลสุขภาพ เป็นต้น
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
อาหารและการกิน
ทฤษฎีหน้าที่นิยม (Functionalism) ต้องการอธิบายว่าสังคมประกอบด้วยส่วนต่างๆที่มีหน้าที่เฉพาะและพึ่งพาอาศัยเหมือนกับอวัยวะต่างๆในร่างกายที่ช่วยให้ชีวิตดำรงอยู่ด้วย กล่าวคือหน่วยต่างๆในสังคมจะถูกมองเหมือนเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่จรรโลงให้สังคมดำรงอยู่ได้ ถ้าหน่วยต่างๆในสังคมไม่ทำงานก็จะส่งผลให้สังคมล่มสลาย ในทางมานุษยวิทยา ทฤษฎีหน้าที่นิยมเป็นสกุลความคิดหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยนักมานุษยวิทยาที่สำคัญสองคน คือ โบรนิสโลว์ มาลีนอฟสกี้ ซึ่งมองสถาบันสังคมจะทำหน้าที่ช่วยให้บุคคลดำรงชีพอยู่ได้อย่างมีความสุขทั้งในเชิงเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สถาบัน ส่วน เรดคลิฟฟ์-บราวน์ อธิบายว่าสังคมคือระบบความสัมพันธ์ที่หน่วยต่างๆจะสร้างกฎเกณฑ์เพื่อจรรโลงให้สังคมอยู่ได้
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ทฤษฎีหน้าที่นิยม
วัฒนธรรมพื้นบ้าน (Folk Culture) หมายถึงการแสดงออกของวิถีชีวิตชาวบ้านและคนท้องถิ่นซึ่งยึดถือในพิธีกรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีและอยู่ห่างไกลจากสังคมเมือง เช่น ชุมชนชาวนาที่ยั่งชีพแบบเรียบง่าย แต่เดิม แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมพื้นบ้านใช้อธิบายลักษณะ คุณค่า และโครงสร้างสังคมที่มีอยู่ในชุมชนชนบท
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
วัฒนธรรมพื้นบ้าน
วิธีวิทยาแบบติดตามเริ่มต้นจากการตั้งคำถามถึงการดำรงอยู่ที่ข้ามพ้นไปจากการแบ่งคู่ตรงข้ามหลักของสังคมสมัยใหม่ นั่นคือ การแบ่งแยกระหว่างธรรมชาติและวัฒนธรรม ซึ่งทำให้เห็นว่ามนุษย์ไม่ได้ดำรงอยู่ในโลกทางวัฒนธรรม ส่วนสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์อยู่ในโลกธรรมชาติอย่างแยกขาดจากกัน แต่ทั้งมนุษย์และสิ่งอื่นเชื่อมต่อกันในลักษณะเครือข่ายที่สิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ พืช สัตว์ หรือแม้สิ่งของ สามารถเป็นผู้กระทำ (actor) ที่การกระทำของพวกเขา/พวกมันสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงและส่งผลต่อการดำรงอยู่ของสิ่งอื่น
ผู้เขียน:
ชัชชล อัจนากิตติ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยา,
วิธีวิทยา,
การติดตามวัตถุที่ศึกษา,
ผู้กระทำการ
ในความคิดของชาวตะวันตก เครื่องรางของขลังที่ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมอื่นสะท้อนความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าและวิญญาณที่ศักดิ์สิทธิ์ที่กลุ่มชนพื้นเมืองมีเก็บไว้ในบ้านและเป็นวัตถุประจำตัว ชาวตะวันตกใช้คำว่า fetish เพื่อบ่งบอกถึงวัตถุที่เป็นของบูชาโดยมีรากศัพท์มาจากภาษาโปรตุเกส (feitiço) ซึ่งหมายถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับเวทมนตร์คาถา (magical event) โดยมิได้เกี่ยวข้องกับอำนาจของเทพเจ้าแต่อย่างใด
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
เครื่องของขลัง,
ความเชื่อ,
สิ่งศักดิ์สิทธิ์,
โชคลาภ
ในช่วงทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา นักมานุษยวิทยาในสหรัฐอเมริกาจึงเริ่มระมักระวังในการเขียนงานทางชาติพันธุ์ โดยตรวจสอบบริบททางสังคมและความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ศึกษาและผู้ถูกศึกษา ประเด็นเรื่อง “อำนาจ” ที่ซ่อนเร้นในการเขียนจึงได้รับการถกเถียงอย่างกว้างขวาง อำนาจของการเขียนจึงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายขนบการทำงานทางมานุษยวิทยา และวิธีตรวจสอบอำนาจแบบฟูโกต์จะถูกนำมาใช้อย่างเข้มข้น
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มิเชล ฟูโกต์,
อำนาจ,
ปรัชญา,
มานุษยวิทยา,
ชีวะการเมือง
การศึกษาแฟนคลับในโลกที่ซับซ้อนมิใช่การค้นหาอัตลักษณ์ที่ถาวรหรือการสร้างชุมชนที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Hills, 2017a) แต่เป็นการทำความเข้าใจเครือข่ายสังคมที่หลากหลายที่ทำให้กลุ่มต่างๆเชื่อมโยงเข้าหากันภายใต้ปฏิสัมพันธ์และปฏิบัติการที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจช่วยขยายมุมมองต่อแฟนคลับจากกลุ่มที่มีเอกภาพแบบของใครของมันไปสู่การมองแฟนคลับในฐานะเป็น “โลก” ที่เคลื่อนตัวไปตลอดเวลาและไม่มีความมั่นคงในอัตลักษณ์
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
แฟนคลับ,
กลุ่มสังคม,
วัฒนธรรมย่อย,
ความนิยม,
ทุนนิยม