ชาติพันธุ์วรรณายุคโบราณ (paleoethnography) หมายถึงการเขียนเรื่องราวมนุษย์ในอดีต ซึ่งนักโบราณคดีต้องการศึกษาชีวิตหรือเล่าเรื่องราวของมนุษย์ที่ตายไปแล้ว นักโบราณคดีต้องมีสมมุติฐานเกี่ยวกับแบบแผนทางสังคมวัฒนธรรมของมนุษย์ และต้องทำความเข้าใจว่าแบบแผนเหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร และมีสาเหตุอะไรที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ชาติพันธุ์วรรณายุคโบราณ
คำว่า Patriarchy หมายถึงระบบสังคมซึ่งมีพ่อทำหน้าที่หลักในการดูแลควบคุมสั่งการ จัดระเบียบสิ่งต่างๆ ในบางวัฒนธรรม ครัวเรือนอาจมีคนที่เป็นทาสอาศัยอยู่ด้วย แนวคิดเกี่ยวกับ การปกครองโดยผู้เป็นพ่อมักจะใช้เพื่ออธิบายบทบาทของผู้ชายที่สังคมคาดหวังที่ต้องรับผิดชอบงานหรือภารกิจต่างๆของชุมชนทั้งหมด ผู้ชายที่มีบทบาทเหล่านี้ต้องเป็นตัวแทนของชาวบ้าน
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
สังคมที่ปกครองโดยผู้ชาย
คำว่า “ชาวนา” อาจหมายถึงผู้ที่อยู่อาศัยในเขตชนบทหรือเขตทุรกันดารไกลความเจริญ คำว่าชาวนา หรือ peasant มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน คือ pagensis หมายถึงเขตแดนของชนบท หรือเป็นดินแดนที่ป่าเถื่อน คำนี้ถูกใช้ในภาษาอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ตอนปลาย รูปแบบการยังชีพแบบชาวนาเป็นการทำมาหากินแบบดั้งเดิม
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
สังคมชาวนา
สังคมแบบ Peripatetics หมายถึงสังคมที่ประกอบด้วยกลุ่มเครือญาติกลุ่มเล็กๆ ซึ่งยังชีพและทำมาหากินด้วยการเป็นแรงงาน ลูกจ้าง หรือผลิตสินค้าให้กับคนอื่นๆ แต่การเป็นลูกจ้างของคนเหล่านี้จะไม่มีความยั่งยืน หรือเกิดขึ้นในเวลาสั้นๆ และอยู่ตามรอยต่อของพรมแดนรัฐชาติ กลุ่มคนที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวเหล่านี้ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง และไม่มีที่ทำกิน
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
กลุ่มคนเร่ร่อนรับจ้างชั่วคราว
คำว่าบุคลิกภาพ (personality) เป็นคำที่มีรากมาจากภาษาลาติน คำว่า persona หมายถึง หน้ากากที่นักแสดงสวมใส่ในบทบาทต่างๆ โดยทั่วไปคำว่าบุคลิกภาพจะเกี่ยวข้องกับปัจเจกบุคคล ซึ่งเป็นคุณสมบัติ หรือคุณลักษณะของบุคคล ทำให้คนแต่ละคนแตกต่างกัน
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
บุคลิกภาพ
มานุษยวิทยาที่ศึกษาปรากฏการณ์ หรือ Phenomenological Anthropology หมายถึงวิธีการเขียนงานทางมานุษยวิทยาและการศึกษาทางชาติพันธุ์ที่เน้นประเด็นเกี่ยวกับความคิดและสำนึก ในวิชาปรัชญา ปรากฏการณ์วิทยาหมายถึง วิธีวิทยาเพื่อศึกษาวิธีคิดที่เป็นบ่อเกิดของความรู้เกี่ยวกับการเข้าใจ และการหยั่งรู้ซึ่งเป็นพื้นฐานเบื้องต้น และในฐานะเป็นการสร้างความจริงเกี่ยวกับสำนึกในขั้นสุดท้าย การศึกษานี้เพื่อให้ทราบถึงโครงสร้างของจิตสำนึกเหล่านั้น
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยาเชิงปรากฎการณ์
การแต่งงานแบบ plural marriage หรือ polygamous marriage หมายถึงการแต่งงานที่ผู้ชายแต่งงานกับผู้หญิงหลายคนในเวลาเดียวกัน หรือ เรียกว่า polygyny ส่วนผู้หญิงที่แต่งงานกับผู้ชายหลายคนในเวลาเดียวกันเรียกว่า polyandry นอกจากนั้นยังมีการแต่งงานแบบหมู่ คือมีผู้ชายและผู้หญิงหลายคนที่แต่งงานพร้อมกัน การแต่งงานแบบกลุ่มเป็นการแต่งงานที่พบเห็นได้มากกว่าการแต่งงานหญิงหนึ่งชายหนึ่ง หรือ monogamy
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
การแต่งงานแบบหลายผัวหลายเมีย
Pluralism หมายถึงลักษณะทางสังคมที่ประกอบด้วยกลุ่มคนและวัฒนธรรมย่อยๆที่ดำรงอยู่ร่วมกัน คำว่า pluralism และ plural มิใช่คำที่ใช้อย่างโดดๆ คำว่า pluralism จะใช้พร้อมกับคำอื่นๆ เช่น cultural pluralism หรือ พหุลักษณ์ทางวัฒนธรรม คำว่า plural society หรือ สังคมพหุลักษณ์ ความหมายของ pluralism จึงใช้แตกต่างกันในสาขาวิชาต่างๆ
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
พหุนิยม
การวิจัยนโยบายและการวิเคราะห์นโยบายเป็นการศึกษาเพื่อที่จะศึกษาปัญหา และกระบวนการใช้นโยบายที่สะท้อนภาพข้อโต้แย้งทางสังคมที่กำลังซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ในแวดวงสังคมศาสตร์ นักวิชาการต้องการทำความเข้าใจอย่างรอบด้านว่าสาเหตุอะไรที่ทำให้เกิดนโยบาย
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยาเชิงนโยบาย
การศึกษาเรื่องการเมืองในทางมานุษยวิทยา มีจุดหมายเพื่อที่จะเข้าใจว่าในสังคมมนุษย์มีการใช้อำนาจและอิทธิพลต่อมนุษย์ด้วยกันอย่างไร และทำไมต้องเป็นเช่นนั้น การศึกษาเรื่องการเมืองครอบคลุมปรากฎการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมทุกรูปแบบทั้งในสังคมของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตประเภทลิง เพื่อที่จะนำเปรียบเทียบกับระบบการเมืองในสังคมมนุษย์
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยาการเมือง