Valentine (2007) เสนอว่าการทำความเข้าใจอารมณ์และความต้องการทางเพศ อาจต้องแสวงหาวิธีวิทยาและวิธีศึกษาใหม่ๆที่สามารถมองเห็นผัสสะและความรู้สึกที่ปรากฎอยู่ในกิจกรรมทางเพศ เนื่องจากประสบการณ์ทางร่างกายขณะมีอารมณ์ทางเพศย่อมจะถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือไม่ได้อย่างตรงไปตรงมา
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
เพศภาวะ,
เพศวิถี,
เซ็กส์,
อารมณ์ทางเพศ,
การปฏิบัติทางเพศ,
ผัสสะ,
เรือนร่าง
การทำความเข้าใจชีวิตของผู้ที่ขายบริการทางเพศ จำเป็นต้องศึกษาบริบทที่เกิดขึ้นในสังคมและวัฒนธรรมที่คนเหล่านั้นเติบโตและใช้ชีวิตอยู่ ทำให้รูปแบบ ความหมายและลักษณะของการขายบริการทางเพศมีความแตกต่างกัน การนำมุมมองแบบตะวันตกไปอธิบายการขายบริการทางเพศอาจไม่ช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับการขายบริการทางเพศ
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
โสเภณี,
การขายบริการทางเพศ,
เพศวิถี
ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงที่ประเทศในยุโรปมีการศึกษาวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับเพศ หรือ เพศศาสตร์ (Sexology) ทำให้เกิดการใช้ความรู้เพศสรีระและชีววิทยามาเป็นตัวพิสูจน์ความถูกผิดของเพศสภาพและเพศวิถี ส่งผลให้พฤติกรรมทางเพศในดินแดนต่างๆที่ชาวตะวันตกเข้าไปปกครองในช่วงอาณานิคมถูกตีความด้วยทฤษฎี “เบี่ยงเบนทางเพศ” เป็นการตอกย้ำความเสื่อมถอยและเผ่าพันธุ์ที่ต่ำต้อยของผู้ที่ผิดปกติทางเพศ
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
เพศภาวะ,
เพศวิถี,
พฤติกรรมข้ามเพศ,
คนรักเพศเดียวกัน