ในการศึกษาทางมานุษยวิทยา สังคมที่มีขนาดเล็กที่สุดคือสังคมแบบกลุ่มญาติ (Band) ซึ่งหมายถึงกลุ่มสังคมขนาดเล็กที่มีประชากรประมาณ 20-100 คน สมาชิกของกลุ่มจะเป็นญาติพี่น้องกัน (small kin group) หรือมีลักษณะคล้ายกลุ่มครัวเรือนที่ญาติพี่น้องรวมตัวกันอยู่อาศัย ไม่มีการตั้งถิ่นฐานถาวร แต่จะเดินทางเร่ร่อน หาเลี้ยงชีพด้วยตัวเองโดยการล่าสัตว์ เก็บของป่า มีการสะสมวัตถุบ้างเล็กน้อย มีการแลกเปลี่ยนสิ่งของกับคนกลุ่มอื่นๆ มีผู้นำแบบไม่เป็นทางการซึ่งมักจะเป็นผู้ที่แข็งแรงกล้าหาญ มีความสามารถในการต่อสู้ ไม่มีสถาบันสังคมที่ตายตัว สมาชิกของกลุ่มจะช่วยกันทำงาน ไม่มีใครที่มีความชำนาญเฉพาะเรื่อง ไม่มีการแบ่งชนชั้นหรือฐานะสูงต่ำ แต่ละคนจะมีฐานะเท่าๆกัน
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
สังคมแบบกลุ่มญาติ
มานุษยวิทยาชีววัฒนธรรม เป็นการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ที่ทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับลักษณะทางชีววิทยาของมนุษย์ ซึ่งนักมานุษยวิทยากายภาพมักจะศึกษาในมิติดังกล่าว โดยเชื่อว่าเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่ต่างกันส่งผลต่อการสร้างวัฒนธรรมที่ต่างกัน
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยาชีววัฒนธรรม
การศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมและการปรับสภาพแวดล้อมของมนุษย์ ในทางมานุษยวิทยามีเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจระบบความคิด ความเชื่อ ความหมาย ที่มนุษย์มีต่อสิ่งปลูกสร้างในสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น การสร้างที่อยู่อาศัยที่มีการแยกบิเวณส่วนของหญิงชาย พื้นที่ส่วนส่วนตัวกับสาธารณะ พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กับพื้นที่กิจวัตรประจำวัน เป็นต้น
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
การปรับสภาพแวดล้อมโดยมนุษย์
ความเป็นพื้นที่ชายแดนของรัฐ เป็นการปฏิบัติเชิงการเมืองที่มีผู้กระทำการเข้ามาเกี่ยวข้องหลายส่วน ดังนั้นในการทำความเข้าใจประเด็นนี้จำเป็นต้องศึกษาปฏิบัติการของคนกลุ่มต่างๆที่เกิดขึ้นบริเวณชายแดนและการควบคุมของรัฐ ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบว่าพื้นที่ที่รัฐเข้าไปจัดระเบียบถูกต่อรองและรื้อสร้างความหมายอย่างไร
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ชายแดน,
รัฐ,
ชาติ,
ปฏิบัติการ