Race หมายถึง เผ่าพันธุ์ในทางกายภาพ ซึ่งชาวตะวันตกใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยอาศัยความรู้วิทยาศาสตร์มาอธิบายการกำเนิดและวิวัฒนาการของเผ่าพันธุ์มนุษย์ หรือ Homo sapiens สายพันธุ์ของมนุษย์มีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสีผิว รูปศรีษะ หรืออวัยวะทางร่างกายต่างๆ ฟรังซัว เบอร์เนียร์ แยกประเภทเผ่าพันธุ์เป็น 4 เผ่า ได้แก่ เผ่ายุโรป แอฟริกา เอเชีย และแลปส์
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
เผ่าพันธุ์
การแลกเปลี่ยนสิ่งของ หรือ Reciprocity หมายถึง ผู้ให้และผู้รับจะมีการแลกเปลี่ยนสิ่งของกันในแบบเท่าเทียม แต่เงื่อนไขของการแลกเปลี่ยนสิ่งของยังขึ้นอยู่กับฐานะทางสังคมของบุคคล โอกาส ช่วงเวลา และความสัมพันธ์เชิงอำนาจ นักมานุษยวิทยาได้ชี้ให้เห็นว่าการแลกเปลี่ยนสิ่งของ ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางสังคม สร้างมิตรภาพ และรักษาระเบียบทางสังคม ซึ่งในสังคมชนเผ่า การแลกเปลี่ยนสิ่งของอาจมิใช่เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ แต่อาจเป็นเงื่อนไขทางศีลธรรมและวัฒนธรรม ในสังคมตะวันตก
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
การแลกเปลี่ยนสิ่งของ
ความเชื่อเรื่องการกลับชาติมาเกิด สามารถพบได้ในหลายวัฒนธรรม และพบมากในความเชื่อทางศาสนาในประเทศอินเดียและอิหร่าน ในศาสนาพุทธเชื่อเรื่องการเกิดใหม่ของชีวิต และเรื่องกฎแห่งกรรม มนุษย์ทำอะไรไว้ในชาตินี้ก็จะส่งผลต่อการเกิดเป็นคนหรือสัตว์ในชาติหน้า การกลับมาเกิดใหม่จึงเป็นเรื่องของศีลธรรม
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
การกลับชาติมาเกิด
สัมพัทธนิยม (Relativism) หมายถึงแนวคิดที่เชื่อว่าไม่มีความจริงแบบตายตัว ความจริงสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและสถานที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบความคิดความเชื่อ และโลกทัศน์ของคนแต่ละกลุ่ม ในทางมานุษยวิทยาอธิบายว่าสัมพัทธนิยมคือระเบียบวิธีที่นักมานุษยวิทยาใช้พิจารณาเพื่อทำงานภาคสนามในชุนชนของมนุษย์ที่มีวัฒนธรรมต่างไปจากตะวันตก
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
สัมพัทธนิยม
นักมานุษยวิทยาอธิบายว่าศาสนาคือกฎระเบียบที่ใช้สั่งสอน ศาสนาเปรียบเสมือนเป็นสถาบันทางสังคมที่ถ่ายทอดระบบความคิดและความเชื่อทางศีลธรรม อีมิล เดอร์ไคม์ กล่าวว่า ศาสนาคือระบบความเชื่อและการปฏิบัติที่เป็นเอกภาพซึ่งเกิดขึ้นต่อสิ่งศักสิทธิ์ทั้งหลาย นักศาสนวิทยาพยายามศึกษาความหมายและสัญลักษณ์ต่างๆเกี่ยวกับกฎระเบียบข้อบังคับ การปฏิบัติตน และสร้างเหตุผลให้กับสิ่งที่คาดเดาไม่ได้
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ศาสนา
พิธีกรรมเปลี่ยนผ่าน (Rite of Passage) เป็นคำที่นักคติชนชาวชาวฝรั่งเศส อาร์โนลด์ แวน เก็นเน็ปใช้อธิบายการกระทำที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงจากสภาวะหนึ่งไปสู่อีกสภาวะหนึ่ง จากสถานที่หนึ่งไปอีกสถานที่หนึ่ง การหมุนเวียนของวัฎจักรในรอบปี หรือ การเปลี่ยนสถานะของบุคคล ความเข้าใจเกี่ยวกับพิธีเปลี่ยนสถานะมีความสำคัญมากในพิธีกรรม
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
พิธีกรรมเปลี่ยนผ่าน
พิธีกรรม คือ การแสดงออกทางสังคมที่ถูกจัดระเบียบอย่างมีแบบแผนและมีความหมาย มีการกำหนดกฎเกณฑ์ และขั้นตอนไว้อย่างชัดเจน เพื่อใช้แสดงออกถึงความคิด พิธีกรรมเป็นเรื่องทางสังคม มิใช่เรื่องส่วนตัวของคนใดคนหนึ่ง พิธีกรรมจะช่วยบอกเล่าว่าสังคมควรจะเป็นอย่างไร และคนในสังคมจะประพฤติตัวอย่างไร
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
พิธีกรรม
กระบวนการสะท้อนตัวตนในทางมานุษยวิทยา หมายถึง การทบทวนตรวจสอบและตั้งคำถามเกี่ยวกับการทำงานและการสร้างคำอธิบายเกี่ยวกับสังคมมนุษย์ของนักมานุษยวิทยา การตรวจสอบนี้นำไปสู่การเกิดขึ้นของวิชามานุษยวิทยาในตะวันตกซึ่งปรากฎขึ้นในยุคที่ความรู้วิทยาศาสตร์กำลังมีอำนาจทางสังคม
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยาสะท้อนตัวตน
สังคมที่มีช่วงชั้น หมายถึง สังคมที่มีการจัดระเบียบสถานะของบุคคลให้มีลำดับชั้นสูงต่ำไม่เท่ากัน ซึ่งเงื่อนไขในการจัดระดับฐานะของแต่ละสังคมก็อาจมีแตกต่างกัน เมื่อบุคคลถูกจัดให้อยู่ในลำดับชั้นใดแล้ว บุคคลนั้นก็จะมีบทบาทหน้าที่และสิทธิบางอย่าง คนที่อยู่ต่างลำดับชั้นกันจะมีสิทธิที่ไม่เท่ากัน
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
สังคมที่มีช่วงชั้น
บริบทสังคมและการเมืองแบบคอมมิวนิสต์ในรัสเซียมีผลต่อการทำงานของนักมานุษยวิทยา กล่าวคือ นักมานุษยวิทยารัสเซียถูกสอนให้เขียนงานวิจัยด้วยระบบเหตุผลและเน้นข้อมูลที่ตรวจสอบได้เชิงประจักษ์ งานเขียนจึงไม่ปรากฎอารมณ์และความรู้สึกของคนศึกษาและผู้ถูกศึกษา
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยา,
รัสเซีย,
เชื้อชาติ,
ชาติ,
คอมมิวเนิสต์,
สหภาพโซเวียต