Gender หมายถึง เพศภาวะหรือเพศสภาพ บ่งบอกสถานะและบทบาททางเพศของบุคคล ซึ่งมีมิติทางกายภาพ สรีระ อารมณ์ พฤติกรรม สังคม และวัฒนธรรมประกอบอยู่ นักมานุษยวิทยาเริ่มถกเถียงเรื่องเพศภาวะของมนุษย์ในช่วงทศวรรษ 1970 ซึ่งเป็นช่วงที่นักสตรีนิยมเริ่มตั้งคำถามและทบทวนความคิดเรื่องเพศภาวะของหญิงและชาย ซึ่งมีความไม่เท่าเทียมกัน
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
เพศภาวะ
Valentine (2007) เสนอว่าการทำความเข้าใจอารมณ์และความต้องการทางเพศ อาจต้องแสวงหาวิธีวิทยาและวิธีศึกษาใหม่ๆที่สามารถมองเห็นผัสสะและความรู้สึกที่ปรากฎอยู่ในกิจกรรมทางเพศ เนื่องจากประสบการณ์ทางร่างกายขณะมีอารมณ์ทางเพศย่อมจะถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือไม่ได้อย่างตรงไปตรงมา
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
เพศภาวะ,
เพศวิถี,
เซ็กส์,
อารมณ์ทางเพศ,
การปฏิบัติทางเพศ,
ผัสสะ,
เรือนร่าง
ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงที่ประเทศในยุโรปมีการศึกษาวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับเพศ หรือ เพศศาสตร์ (Sexology) ทำให้เกิดการใช้ความรู้เพศสรีระและชีววิทยามาเป็นตัวพิสูจน์ความถูกผิดของเพศสภาพและเพศวิถี ส่งผลให้พฤติกรรมทางเพศในดินแดนต่างๆที่ชาวตะวันตกเข้าไปปกครองในช่วงอาณานิคมถูกตีความด้วยทฤษฎี “เบี่ยงเบนทางเพศ” เป็นการตอกย้ำความเสื่อมถอยและเผ่าพันธุ์ที่ต่ำต้อยของผู้ที่ผิดปกติทางเพศ
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
เพศภาวะ,
เพศวิถี,
พฤติกรรมข้ามเพศ,
คนรักเพศเดียวกัน
ความหมายของ “ความรุนแรงทางเพศ” ในมุมมองทางมานุษยวิทยาเป็นเรื่องที่คลุมเครือ เพราะการศึกษาที่ผ่านมา นักมานุษยวิทยามิได้สนใจเก็บข้อมูลเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงที่เกิดจากกิจกรรมทางเพศ ความสนใจในประเด็นนี้จึงเริ่มต้นอย่างจริงจังจากกลุ่มนักมานุษยวิทยาแนวสตรีนิยมที่พยายามนำประสบการณ์ของผู้หญิงที่เคยถูกกระทำทางเพศหรือถูกข่มขืน รวมทั้งประสบการณ์ของผู้ที่ใช้ความรุนแรงทางเพศมาอธิบายให้เห็นความสัมพันธ์ทางสังคมที่ซับซ้อนและเต็มไปด้วยความขัดแย้ง
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ความรุนแรงทางเพศ,
การข่มขืน,
เพศภาวะ,
สตรีนิยม,
ผู้หญิง,
อำนาจ