คำศัพท์

A | B | C | D | E | F | G | H | I | J | K | L | M | N | O | P | Q | R | S | T | U | V | W | X | Y | Z | ทั้งหมด
แสดง 1-3 จากทั้งหมด 3 รายการ

ในแวดวงมานุษยวิทยาซึ่งใช้วิธีการศึกษาแบบการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและเข้าไปคลุกคลีกับกลุ่มคนที่ถูกศึกษาเป็นเวลานานนำไปสู่ความสนใจเรื่องความรู้สึกที่นักมานุษยวิทยามีต่อสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในพื้นที่ศึกษา สิ่งนี้นำไปสู่ระเบียบวิธีวิจัยที่เรียกว่า วิธีวิทยาแห่งผัสสะ (sensory methodology) ซึ่งใช้ความรู้สึกเป็นเครื่องมือเพื่อแสวงหาความรู้

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, ผัสสะ, ความรู้สึก, ประสบการณ์

การศึกษาเสียงในเชิงสังคมและวัฒนธรรม คือการทำความเข้าใจปฏิบัติการของเสียงที่เกิดขึ้นในกิจกรรมต่างๆที่มนุษย์กระทำขึ้นหรืออาศัยวัตถุสิ่งของและสิ่งมีชีวิตอื่นมาประกอบสร้างเสียง ประเด็นสำคัญในการทำความเข้าใจเสียงคือการเข้าถึงการดำรงอยู่ของสิ่งต่างๆ อาจใช้เสียงและการได้ยินเป็นช่องทางสื่อสาร นอกเหนือไปจากการใช้ตา การมองเห็น การสัมผัสทางร่างกาย การลิ้มรส การดมกลิ่น การใช้โสตประสาทของมนุษย์เพื่อการรับรู้ถึงสรรพสิ่งอาจช่วยขยายความเข้าใจเกี่ยวกับตัวตนและปฏิสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ (Gershon, 2019)

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, ชาติพันธุ์นิพนธ์, เสียง, วิธีวิทยา, ผัสสะ

Valentine (2007) เสนอว่าการทำความเข้าใจอารมณ์และความต้องการทางเพศ อาจต้องแสวงหาวิธีวิทยาและวิธีศึกษาใหม่ๆที่สามารถมองเห็นผัสสะและความรู้สึกที่ปรากฎอยู่ในกิจกรรมทางเพศ เนื่องจากประสบการณ์ทางร่างกายขณะมีอารมณ์ทางเพศย่อมจะถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือไม่ได้อย่างตรงไปตรงมา

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: เพศภาวะ, เพศวิถี, เซ็กส์, อารมณ์ทางเพศ, การปฏิบัติทางเพศ, ผัสสะ, เรือนร่าง