คำศัพท์

A | B | C | D | E | F | G | H | I | J | K | L | M | N | O | P | Q | R | S | T | U | V | W | X | Y | Z | ทั้งหมด
แสดง 1-10 จากทั้งหมด 18 รายการ

มานุษยวิทยาเศรษฐกิจคือการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ ซึ่งนักมานุษยวิทยามาลีนอฟสกี้ได้อธิบายไว้ในเรื่อง Argonauts of the Western Pacific (1922) โดยชี้ให้เห็นเครือข่ายของการแลกเปลี่ยนของมีค่าของชนพื้นเมืองในเขตหมู่เกาะทรอเบียนด์ มาลีนอฟสกี้เชื่อว่าการแลกเปลี่ยนนี้สะท้อนความอยากได้ทรัพย์สินเงินทองของปัจเจกบุคคล เพราะบุคคลจะคาดหวังว่าเมื่อนำของมีค่าไปแลกแล้วจะต้องได้รับสิ่งมีค่ากลับคืนมาแบบเท่าเทียมกัน

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยาเศรษฐกิจ

Emic หมายถึงวิธีคิดของชาวบ้าน  ส่วน Etic หมายถึงความคิดและการตีความของนักมานุษยวิทยา ความคิดสองแบบนี้จะเกิดขึ้นในกระบวนการศึกษาของนักมานุษยวิทยา วิธีคิดที่ชาวบ้านใช้อธิบายโลกและชีวิตของตัวเองอาจจะไม่ใช่สิ่งเดียวกับการตีความที่นักมานุษยวิทยา ใช้อธิบายวัฒนธรรมของชาวบ้าน เพราะนักมานุษยวิทยาอาจใช้ทฤษฎีบางอย่างวิเคราะห์วัฒนธรรมของมนุษย์ แต่ชาวบ้านอาจมีวิธีคิดต่อวัฒนธรรมของตัวเองต่างออกไปจากทฤษฎี ความคิดแบบคนในหรือชาวบ้าน กับความคิดแบบคนนอกหรือนักวิชาการจึงเป็นสิ่งที่ต้องถูกทบทวน

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: วิธีคิดของชาวบ้านและวิธีคิดของนักวิชาการ

คำว่า ethnicity หมายถึงความเป็นกลุ่มทางชาติพันธุ์ที่สมาชิกในกลุ่มจะมีวัฒนธรรมและการแสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีขนบธรรมประเพณี ภาษา ศาสนา ความเชื่อ การแต่งกาย หรือการทำมากินแบบเดียวกัน   คำว่า ethnic มาจากภาษากรีกคำว่า ethnos  หมายถึงกลุ่มคนที่มีขนบธรรมเนียมเดียวกัน  คำนี้ปรากฏในภาษาอังกฤษในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15  โดยใช้อธิบายประเทศที่มิใช่ชาวยิวหรือคริสเตียน เช่นพวกคนป่า หรือไม่มีศาสนา 

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ความเป็นกลุ่มทางชาติพันธุ์

Ethnochoreology หมายถึงการศึกษารูปแบบวิธีการร่ายรำ เต้นรำ ฟ้อนรำ และการเคลื่อนไหวร่างกายในท่วงท่าต่างๆ ซึ่งมนุษย์ในแต่ละวัฒนธรรมจะมีวิธีการแสดงออกแตกต่างกัน  ในมุมมมองมานุษยวิทยาการร่ายรำของมนุษย์เป็นเรื่องที่สัมพันธ์กับระบบความคิดและความเชื่อ มิใช่เรื่องของความบันเทิงเริงรมย์หรือความสวยงาม การศึกษาเรื่องการร่ายรำในมิติทางชาติพันธุ์จะสนใจบริบทของการร่ายรำที่มนุษย์ใช้ร่างกายของตัวเองเป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อที่จะแสดงความเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเทพเจ้า

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: การเคลื่อนไหวร่างกายเชิงชาติพันธุ์

Ethnocide หมายถึงการทำลายวัฒนธรรมของคนกลุ่มหนึ่งที่มีต่ออีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งนักกฎหมายชื่อราฟาเอล เรมคิน คิดคำนี้ขึ้นมาในปี 1944  โดยใช้อธิบายเหตุการณ์ในสงครามโลกครั้งที่สองที่นาซีของเยอรมันฆ่าชาวยิวจำนวนมาก  ในทางมานุษยวิทยา คำว่า ethnocide อาจมีความหมายใกล้เคียงกับการที่วัฒนธรรมหนึ่งมีอิทธิพลเหนือกว่าอีกวัฒนธรรมหนึ่ง หรือมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า Cultural Genocide ซึ่งหมายถึงการทำลายวัฒนธรรม เช่น วัฒนธรรมของชนพื้นเมืองถูกทำลายไปเพราะความเจริญแบบตะวันตก

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: การทำลายวัฒนธรรม

Ethnogenesis   หมายถึงกระบวนการที่คนกลุ่มหนึ่งโหยหาหรือถวิลหารากเหง้าทางชาติพันธุ์ของตัวเอง เป็นการค้นหาความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ตัวตน อัตลักษณ์ และต้นกำเนิดความเป็นกลุ่มและความเป็นเผ่าพันธุ์ของตัวเอง ซึ่งกระบวนการนี้คือการตอกย้ำตัวตนทางวัฒนธรรม หรือการสร้างตัวตนผ่านการโหยหารากเหง้าทางประวัติศาสตร์ ในทางมานุษยวิทยา มองว่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ หรือเรื่องที่เขียนถึงคนในอดีต

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: การค้นหารากเหง้าทางชาติพันธุ์

ภาพยนตร์ทางชาติพันธุ์ (Ethnographic Film) หมายถึงการบันทึกเรื่องราวชีวิตทางสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์ ซึ่งนักมานุษยวิทยาใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาและการเก็บข้อมูลภาคสนาม ภาพยนตร์ทางชาติพันธุ์จึงมิใช่เรื่องแต่งหรือมีการเขียนบทเตรียมไว้ รวมทั้งมิใช่สารคดีที่นำเสนอเรื่องราวในเชิงสุนทรียะ  ตัวอย่างเช่น การทำงานภาคสนามของนักมานุษยวิทยาอัลเฟร็ด คอร์ต เฮดดอน ในปี 1898 ที่เดินทางไปเก็บข้อมูลชีวิตชนพื้นเมืองในหมู่เกาะทอร์เรส สเตรทส์ ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย เขาได้ใช้กล้องภาพยนตร์บันทึกเรื่องราวทางสังคมของกลุ่มคนเหล่านี้

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ภาพยนตร์ทางชาติพันธุ์

Ethnography คือการศึกษาวัฒนธรรมและสังคมของมนุษย์ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง โดยผู้ศึกษาจะเข้าไปอยู่อาศัยในพื้นที่ เข้าไปพูดคุย และสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในเหตุการณ์และกิจกรรมต่างๆของกลุ่มคนที่ศึกษาเป็นระยะเวลายาวนานและนำข้อมูลมาเขียนเรียบเรียงและอธิบายให้เห็นวิถีชีวิตของคนกลุ่มนั้น   นอกจากนั้นยังหมายถึง  การศึกษาวัฒนธรรมในเชิงเปรียบเทียบและจัดระเบียบชนิดของวัฒนธรรม  ซึ่งต้องมีการพรรณนารายละเอียด   งานเขียนทางชาติพันธุ์ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการศึกษามานุษยวิทยาวัฒนธรรม

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: งานเขียนทางชาติพันธุ์

การแพทย์ทางชาติพันธุ์ (Ethnomedicine) หมายถึง วิธีการปฏิบัติทางการแพทย์และการรักษาโรคของคนในวัฒนธรรมต่างๆซึ่งมีวิธีวินิจฉัย การสร้างคำนิยาม การอธิบาย การใช้ยารักษา และการดูแลคนป่วยแตกต่างกัน ซึ่งบางครั้งการปฏิบัติเหล่านี้อาจเรียกว่า “การแพทย์พื้นบ้าน” ซึ่งเป็นความรู้ท้องถิ่นที่ชาวบ้านถ่ายทอดผ่านคำบอกเล่าจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง โดยอาจไม่มีการเขียนตำราเหมือนโลกตะวันตก  การศึกษาการแพทย์ทางชาติพันธุ์ ต้องอาศัยความรู้แบบสหสาขาวิชา เช่น มานุษยวิทยาการแพทย์ พฤษศาสตร์ชาติพันธุ์ เภสัชศาสตร์ชาติพันธุ์ คติชาวบ้าน ฯลฯ

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: การแพทย์ทางชาติพันธุ์

ชาติพันธุ์วิทยา (Ethnology)  หมายถึง การศึกษาวิเคราะห์ประเภทของวัฒนธรรมและเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ เป็นการศาสตร์ที่อาศัยการเปรียบเทียบ เพื่ออธิบายวัฒนธรรมที่เป็นรากเหง้าที่แตกต่างกันของบุคคล  และเพื่ออธิบายประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมที่พัฒนามายาวนาน ทั้งเงื่อนไขของการอพยพ และการติดต่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ประเด็นที่นักมานุษยวิทยาสนใจศึกษาเปรียบเทียบ ได้แก่ ความเชื่อทางศาสนา ภาษา ความสัมพันธ์ทางเพศ ระบบเครือญาติ เทคโนโลยีในการเกษตร ระบบเศรษฐกิจและการเมือง 

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ชาติพันธุ์วิทยา