ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง หมายถึง สังคมที่มีกลไกที่หลบซ่อนที่ทำให้คนบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงสิทธิและโอกาสที่จะทำให้ชีวิตมีคุณภาพได้เท่าเทียมกับคนกลุ่มอื่น กลไกเหล่านี้จะเกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งในกฎระเบียบทางกฎหมาย มาตรการ บรรทัดฐาน นโยบาย วิธีปฏิบัติที่ดำรงอยู่ในสถาบันทางการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ สาธารณสุข สวัสดิการ ศาสนา ขนบธรรมเนียมและแบบแผนทางวัฒนธรรม ซึ่งเอื้อให้คนบางกลุ่มได้เปรียบและได้ประโยชน์มากกว่าคนบางกลุ่ม
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ความรุนแรง,
โครงสร้าง,
สังคม,
ความเหลื่อมล้ำ
นักมานุษยวิทยาอาจพบว่าในสนามที่ตนศึกษาวิจัยอยู่นั้นอาจเป็นพื้นที่ที่มีประเด็นของความขัดแย้งหรือความรุนแรงเกิดขึ้นอยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้ง/รุนแรงภายในกลุ่มหรือระหว่างกลุ่ม ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการทำงานใน ‘สนามของความขัดแย้ง/รุนแรง หรือ สนามที่อันตราย’ อันเป็นสนามที่นักมานุษยวิทยาต้องเผชิญกับความยากลำบากและข้อท้าทายต่าง ๆ ทั้งในแง่ของระเบียบวิธีวิจัยหรือทฤษฎี จริยธรรมการวิจัยหรือเชิงศีลธรรม และในแง่ของความรับผิดชอบหรือบทบาทของนักมานุษยวิทยาในสนามของความขัดแย้ง/รุนแรง (ชยันต์, 2001; Barcott et al., 2008)
ผู้เขียน:
สัมพันธ์ วารี
หัวเรื่องอิสระ:
ชาติพันธุ์นิพนธ์,
อันตราย,
ความรุนแรง,
ความขัดแย้ง