คำศัพท์

A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z All
แสดง 1 ถึง 20 จาก 232 รายการ

Acculturation

คำว่า acculturation หมายถึงการเปลี่ยนแปลงของประสบการณ์ทางอารมณ์ความคิดที่เป็นผลมาจากการผสมผสานแลกเปลี่ยนหรือผนวกรวมสองวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน ซึ่งวัฒนธรรมหนึ่งอาจเจริญกว่าอีกวัฒนธรรมหนึ่ง ผลที่เกิดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมนั้นอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระดับบุคคลและระดับสังคมที่สัดส่วนที่ต่างกัน

การผสมผสานทางวัฒนธรรม

Adolescence

วัยรุ่นคือช่วงวัยของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอยู่ในรอยต่อระหว่างการเป็นเด็กกับการเป็นผู้ใหญ่ เป็นช่วงที่มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วทั้งในด้านร่างกาย สรีระ อารมณ์ ความคิด พฤติกรรม และสังคม ทำให้ช่วงวัยรุ่นเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของบุคลิกภาพ

วัยรุ่น

Adornment

พฤติกรรมการตกแต่งร่างกายของมนุษย์เป็นพฤติกรรมที่เป็นสากล และพบได้ในทุกวัฒนธรรม โดยนักมานุษยวิทยาได้แยกข้อพิจารณาเป็น 2 ประเด็นคือ หนึ่ง รูปแบบและลักษณะของการตกแต่งร่างกาย เช่น เสื้อผ้า ทรงผม ฯลฯ และ สอง ความหมายของการแต่งกาย

การตกแต่งร่างกาย

Aging

การมีอายุหรือวัยชรา คือการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและเกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคน โดยที่สังคมแต่ละแห่งมีการให้ความหมายต่อ “วัยชรา” แตกต่างกัน กระบวนการแก่ชราทางร่างกาย เป็นการสร้างคำอธิบายที่พิจารณาจากความเสื่อมสภาพของสรีระของมนุษย์

วัยชรา

Alcohol and Drugs

สารอัลกอฮอล์คือวัตถุทางวัฒนธรรมที่มีลักษณะเฉพาะเพราะมีผลทางจิต ประสาท อารมณ์และความรู้สึกของผู้ใช้ ซึ่งมนุษย์ในหลายวัฒนธรรมรู้จักใช้สารชนิดนี้ในกิจกรรมและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน 

อัลกอฮอล์และยา

Alliance Theory

ทฤษฎีเรื่องการสร้างพันธมิตร หรือ Alliance Theory เริ่มต้นจากแนวคิดของนักมานุษยวิทยาชื่อคล้อด เลวี่-เสตราส์ ซึ่งอธิบายไว้ในหนังสือเรื่อง Elementary Structures of Kinship (1949) ทฤษฎีนี้เป็นการอธิบายความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนสมาชิกสองตระกูลผ่านการแต่งงาน

การสร้างพันธมิตรจากการแต่งงาน

Altruism

Altruism หมายถึง การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และความไม่เห็นแก่ตัว มีข้อถกเถียงทางวิชาการในหลายแง่มุม ทั้งทางจิตวิทยา ชีววิทยา วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ คำว่า Altruism เริ่มปรากฎในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยการเริ่มต้นจากออกุสต์ คอมท์ ซึ่งอธิบายว่าเป็นความเอื้อเฟื้อ ตรงข้ามกับความเห็นแก่ตัว

ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

Animal Domestication

การเลี้ยงสัตว์ของมนุษย์มีประวัติมายาวนาน โดยเชื่อว่าปรากฎขึ้นในยุคหินกลาง เมื่อประมาณ 9,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยมนุษย์นำสัตว์ป่าที่ล่ามาเลี้ยงไว้ในครัวเรือน สัตว์ชนิดแรกๆที่มนุษย์นำมาเลี้ยง เช่น สุนัข แกะ แพะ ฯลฯ

การเลี้ยงสัตว์

Animism

Animism หมายถึง ความเชื่อและโลกทัศน์เกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพลังอำนาจเหนือธรรมชาติ เช่น ผีสางเทวดาวิญญาณที่สิงสถิตย์อยู่ในวัตถุและธรรมชาติ โดยมนุษย์จะแสดงความเคารพและบูชาสิ่งเหล่านี้ ในการศึกษาทางมานุษยวิทยา ความเชื่อเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติจะสัมพันธ์กับความเชื่อทางศาสนาและการแสดงออกทางพิธีกรรมต่าง ๆ สามารถพบเห็นได้ในสังคมชนเผ่าในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก 

ความเชื่อเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติ

Anthropology and Human Right

ความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนในทางมานุษยวิทยา หมายถึงการทำความเข้าใจวิธีคิดและระบบคุณค่าที่มนุษย์มีต่อสิทธิของบุคคล โดยทำความเข้าใจฐานความคิดที่รองรับคำอธิบายเกี่ยวกับสิทธิและตัวตนความเป็นมนุษย์ ทำความเข้าใจวิธีปฏิบัติ การแสดงออก และการได้มาในสิทธิของบุคคลในบริบทต่าง ๆ

มานุษยวิทยากับสิทธิมนุษยชน

Anthropology of Music

การศึกษาดนตรีในทางมานุษยวิทยา เป็นการศึกษาวัฒนธรรมดนตรีที่อยู่นอกสังคมตะวันตก เพื่อสำรวจและทำความเข้าใจประสบการณ์ของการใช้อุปกรณ์สร้างเสียงชนิดต่างๆที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน นักมานุษยวิทยาก็หันมาศึกษาวัฒนธรรมดนตรีในสังคมตะวันตกด้วย เพราะเชื่อว่าในแต่ละวัฒนธรรม มนุษย์จะมีกิจกรรมทางดนตรีในแบบของตัวเอง

มานุษยวิทยาดนตรี

Anthropology of Science

วิทยาศาสตร์ในมุมมองทางมานุษยวิทยา คือชุดของความรู้อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมตะวันตกในยุคสมัยใหม่ และมีอิทธิพลต่อการอธิบายความจริงต่าง ๆ ของสังคมและชีวิตมนุษย์ นักมานุษยวิทยาที่วิพากษ์ความรู้วิทยาศาสตร์ ตั้งคำถามเกี่ยวกับญาณวิทยาและกระบวนทัศน์ที่นักวิทยาศาสตร์ใช้สร้างทฤษฎีเกี่ยวกับมนุษย์และสังคม ซึ่งครอบงำแวดวงวิชาการ แม้แต่มานุษยวิทยาในระยะแรก ๆ ก็นำเอากระบวนทัศน์แบบวิทยาศาสตร์มาใช้ศึกษาวัฒนธรรมของมนุษย์ด้วย 

มานุษยวิทยาว่าด้วยวิทยาศาสตร์

Anthropology of Tourism

การท่องเที่ยวในมิติมานุษยวิทยา สนใจรูปแบบและผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีต่อมนุษย์และชุมชนท้องถิ่น ในแง่ของรูปแบบ จะเป็นการศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยว การจัดการท่องเที่ยว และกิจกรรมต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับการท่องเที่ยว ในแง่ของผลกระทบ จะเป็นการศึกษาสิ่งที่เปลี่ยนแปลงในชุมชนท้องถิ่นในมิติต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ การทำมาหากิน วัฒนธรรม วิถีชีวิต และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

มานุษยวิทยาการท่องเที่ยว

Anthrozoology

Anthrozoology คือวิชาที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ หรือเป็นการศึกษาชีวิตทางสังคมของสัตว์ในวัฒนธรรมของมนุษย์ การศึกษาดังกล่าวนี้เพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นานและเป็นศาสตร์ที่อาสัยความรู้จากหลายสาขาวิชา ทั้งมานุษยวิทยา สังคมวิทยา สัตววิทยา ชาติพันธุ์วิทยา จิตวิทยา สัตวแพทยศาสตร์ ชีววิทยา ประวัติศาสตร์ และปรัชญา เป็นต้น

ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์

Applied Anthropology

มานุษยวิทยาประยุกต์ หมายถึง การนำเอาแนวคิดทฤษฎีและระเบียบวิธีวิจัยทางมานุษยวิทยาไปประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์และการแก้ปัญหาทางสังคม นอกจากนั้น นักมานุษยวิทยาที่ทำงานดังกล่าวยังต้องร่วมมือกับนักวิชาการสาขาอื่น ๆ ในการแสวงหาแนวคิดและแนวทางแก้ปัญหาในประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งอาจช่วยสร้างแนวนโยบายให้กับองค์กรของรัฐและเอกชนในการพัฒนาสังคมและช่วยเหลือมนุษย์

มานุษยวิทยาประยุกต์

Avunculate

Avunculate หรือ Avunculism คือลักษณะของสังคมที่ผู้ชายที่เป็นญาติข้างแม่จะมีบทบาทหน้าที่พิเศษภายใต้ความสัมพันธ์กับหลานที่เป็นลูกของพี่สาวหรือน้องสาว โดยทั่วไป พี่ชายคนโตของแม่มักจะมีความสำคัญและจะทำหน้าที่เป็นหัวหน้าครัวเรือน ส่วนสามีของแม่ที่มาจากคนต่างตระกูลจะมีบทบาทน้อยกว่า  

ความสัมพันธ์ระหว่างลุงกับหลาน

Band

ในการศึกษาทางมานุษยวิทยา สังคมที่มีขนาดเล็กที่สุดคือสังคมแบบกลุ่มญาติ (Band) ซึ่งหมายถึงกลุ่มสังคมขนาดเล็กที่มีประชากรประมาณ 20-100 คน สมาชิกของกลุ่มจะเป็นญาติพี่น้องกัน (small kin group) หรือมีลักษณะคล้ายกลุ่มครัวเรือนที่ญาติพี่น้องรวมตัวกันอยู่อาศัย ไม่มีการตั้งถิ่นฐานถาวร แต่จะเดินทางเร่ร่อน หาเลี้ยงชีพด้วยตัวเองโดยการล่าสัตว์ เก็บของป่า มีการสะสมวัตถุบ้างเล็กน้อย มีการแลกเปลี่ยนสิ่งของกับคนกลุ่มอื่น ๆ มีผู้นำแบบไม่เป็นทางการซึ่งมักจะเป็นผู้ที่แข็งแรงกล้าหาญ มีความสามารถในการต่อสู้ ไม่มีสถาบันสังคมที่ตายตัว สมาชิกของกลุ่มจะช่วยกันทำงาน ไม่มีใครที่มีความชำนาญเฉพาะเรื่อง ไม่มีการแบ่งชนชั้นหรือฐานะสูงต่ำ แต่ละคนจะมีฐานะเท่า ๆ กัน

สังคมแบบกลุ่มญาติ

Biocultural Anthropology

มานุษยวิทยาชีววัฒนธรรม เป็นการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ที่ทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับลักษณะทางชีววิทยาของมนุษย์ ซึ่งนักมานุษยวิทยากายภาพมักจะศึกษาในมิติดังกล่าว โดยเชื่อว่าเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่ต่างกันส่งผลต่อการสร้างวัฒนธรรมที่ต่างกัน

มานุษยวิทยาชีววัฒนธรรม

Built Environment

การศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมและการปรับสภาพแวดล้อมของมนุษย์ ในทางมานุษยวิทยามีเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจระบบความคิด ความเชื่อ ความหมาย ที่มนุษย์มีต่อสิ่งปลูกสร้างในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่น การสร้างที่อยู่อาศัยที่มีการแยกบิเวณส่วนของหญิงชาย พื้นที่ส่วนส่วนตัวกับสาธารณะ พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กับพื้นที่กิจวัตรประจำวัน เป็นต้น

การปรับสภาพแวดล้อมโดยมนุษย์

Cannibalism

การศึกษาทางมานุษยวิทยา Cannibalism หมายถึง พฤติกรรมการกินเนื้อหรืออวัยวะบางอย่างมนุษย์ของคนบางกลุ่ม ซึ่งเชื่อว่าพฤติกรรมนี้พบได้ในสังคมของชนเผ่าในหมู่เกาะเลสเซอร์ แอททิลเลส ในเขตมหาสมุทรแอตแลนติก และเชื่อว่ายังพบได้ในชนเผ่าในหมู่เกาะแปซิฟิก ลุ่มน้ำอะเมซอน และในพื้นที่ป่าเขตร้อนของทวีปแอฟริกา 

การกินเนื้อมนุษย์