คำศัพท์

A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z All
แสดง 121 ถึง 140 จาก 232 รายการ

Psychological Anthropology

มานุษยวิทยาจิตวิทยา เป็นคำเรียกการศึกษาที่ใช้แนวคิดทฤษฎีทางจิตวิทยามาทำความเข้าใจวัฒนธรรม ทฤษฎีทางจิตวิทยาที่นักมานุษยวิทยาใช้มีหลากหลาย ตั้งแต่ทฤษฎีสากลที่อธิบายธรรมชาติมนุษย์ และความมีเอกภาพ ไปจนถึงลักษณะเฉพาะทางเผ่าพันธุ์และเชื้อชาติ  

มานุษยวิทยาจิตวิทยา

Purity and Pollution

ในหลายวัฒนธรรมจะแยกความแตกต่างระหว่างสิ่งสะอาดและสิ่งสกปรก สิ่งที่บริสุทธิ์กับสิ่งที่มีมลทิน ไม่ว่าจะเป็นคนสัตว์หรือสิ่งของก็ตาม บางครั้งการแบ่งแยกนี้เกิดขึ้นโดยความเชื่อทางศาสนา ซึ่งความบริสุทธิ์จะถูกมองว่าเป็นสภาวะจิตใจที่สูงสุด แต่บางครั้งความบริสุทธิ์อาจเป็นเรื่องชีวิตประจำวัน เช่น เรื่องสุขภาพดีและรสนิยมดี เป็นต้น 

ความสะอาดและความสกปรก

Queer Anthropology

Queer Anthropology หมายถึง มานุษยวิทยาที่สนใจวัฒนธรรมทางเพศที่หลากหลาย ที่แตกต่างไปจากจารีตและบรรทัดฐานทางสังคม ในช่วงทศวรรษที่ 1920 นักมานุษยวิทยา เช่น โบรนิสโลว์ มาลีนอฟสกี้ และมาร์กาเร็ต มี้ด ค้นพบรูปแบบพฤติกรรมของคนรักเพศเดียวกันหลายแบบ ซึ่งแปลกไปจากการรับรู้ของชาวตะวันตก เช่น พฤติกรรมของคนแต่งตัวผิดเพศในชนเผ่าอเมริกาเหนือ ซึ่งได้รับฉายาว่า เบอร์ดาเช่ หรือคนเพศที่สาม และพฤติกรรมชายรักชายในชนเผ่าเมลานีเซีย 

มานุษยวิทยาเพศนอกกรอบ

Race

Race หมายถึง เผ่าพันธุ์ในทางกายภาพ ซึ่งชาวตะวันตกใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยอาศัยความรู้วิทยาศาสตร์มาอธิบายการกำเนิดและวิวัฒนาการของเผ่าพันธุ์มนุษย์ หรือ Homo sapiens สายพันธุ์ของมนุษย์มีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสีผิว รูปศรีษะ หรืออวัยวะทางร่างกายต่าง ๆ ฟรังซัว เบอร์เนียร์ แยกประเภทเผ่าพันธุ์เป็น 4 เผ่า ได้แก่ เผ่ายุโรป แอฟริกา เอเชีย และแลปส์  

เผ่าพันธุ์

Reciprocity

การแลกเปลี่ยนสิ่งของ หรือ Reciprocity  หมายถึง ผู้ให้และผู้รับจะมีการแลกเปลี่ยนสิ่งของกันในแบบเท่าเทียม แต่เงื่อนไขของการแลกเปลี่ยนสิ่งของยังขึ้นอยู่กับฐานะทางสังคมของบุคคล โอกาส ช่วงเวลา และความสัมพันธ์เชิงอำนาจ นักมานุษยวิทยาได้ชี้ให้เห็นว่าการแลกเปลี่ยนสิ่งของ ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางสังคม สร้างมิตรภาพ และรักษาระเบียบทางสังคม ซึ่งในสังคมชนเผ่า การแลกเปลี่ยนสิ่งของอาจมิใช่เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ แต่อาจเป็นเงื่อนไขทางศีลธรรมและวัฒนธรรม ในสังคมตะวันตก

การแลกเปลี่ยนสิ่งของ

Reincarnation

ความเชื่อเรื่องการกลับชาติมาเกิด สามารถพบได้ในหลายวัฒนธรรม และพบมากในความเชื่อทางศาสนาในประเทศอินเดียและอิหร่าน ในศาสนาพุทธเชื่อเรื่องการเกิดใหม่ของชีวิต และเรื่องกฎแห่งกรรม มนุษย์ทำอะไรไว้ในชาตินี้ก็จะส่งผลต่อการเกิดเป็นคนหรือสัตว์ในชาติหน้า การกลับมาเกิดใหม่จึงเป็นเรื่องของศีลธรรม

การกลับชาติมาเกิด

Relativism

สัมพัทธนิยม (Relativism) หมายถึงแนวคิดที่เชื่อว่าไม่มีความจริงแบบตายตัว ความจริงสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและสถานที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบความคิดความเชื่อ และโลกทัศน์ของคนแต่ละกลุ่ม ในทางมานุษยวิทยาอธิบายว่าสัมพัทธนิยมคือระเบียบวิธีที่นักมานุษยวิทยาใช้พิจารณาเพื่อทำงานภาคสนามในชุนชนของมนุษย์ที่มีวัฒนธรรมต่างไปจากตะวันตก

สัมพัทธนิยม

Religion

นักมานุษยวิทยาอธิบายว่า ศาสนา คือ กฎระเบียบที่ใช้สั่งสอน ศาสนาเปรียบเสมือนเป็นสถาบันทางสังคมที่ถ่ายทอดระบบความคิดและความเชื่อทางศีลธรรม อีมิล เดอร์ไคม์ กล่าวว่า ศาสนา คือระบบความเชื่อและการปฏิบัติที่เป็นเอกภาพซึ่งเกิดขึ้นต่อสิ่งศักสิทธิ์ทั้งหลาย นักศาสนวิทยาพยายามศึกษาความหมายและสัญลักษณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับกฎระเบียบข้อบังคับ การปฏิบัติตน และสร้างเหตุผลให้กับสิ่งที่คาดเดาไม่ได้  

ศาสนา

Rite of Passage

พิธีกรรมเปลี่ยนผ่าน (Rite of Passage) เป็นคำที่นักคติชนชาวชาวฝรั่งเศส อาร์โนลด์ แวน เก็นเน็ปใช้อธิบายการกระทำที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงจากสภาวะหนึ่งไปสู่อีกสภาวะหนึ่ง จากสถานที่หนึ่งไปอีกสถานที่หนึ่ง การหมุนเวียนของวัฎจักรในรอบปี หรือ การเปลี่ยนสถานะของบุคคล ความเข้าใจเกี่ยวกับพิธีเปลี่ยนสถานะมีความสำคัญมากในพิธีกรรม 

พิธีกรรมเปลี่ยนผ่าน

Ritual

พิธีกรรม คือ การแสดงออกทางสังคมที่ถูกจัดระเบียบอย่างมีแบบแผนและมีความหมาย มีการกำหนดกฎเกณฑ์ และขั้นตอนไว้อย่างชัดเจน เพื่อใช้แสดงออกถึงความคิด พิธีกรรมเป็นเรื่องทางสังคม มิใช่เรื่องส่วนตัวของคนใดคนหนึ่ง พิธีกรรมจะช่วยบอกเล่าว่าสังคมควรจะเป็นอย่างไร และคนในสังคมจะประพฤติตัวอย่างไร

พิธีกรรม

Sacrifice

การบูชายัญ หมายถึง การกระทำที่เกิดขึ้นในพรมแดนของความศักดิ์สิทธิ์แห่งเทพเจ้า คำว่า sacrifice มาจากภาษาลาตินว่า sacrificium ซึ่งหมายถึงการกระทำพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์  อีมิล เดอร์ไคม์ อธิบายว่า การรวมกลุ่มเพื่อบูชาเทพเจ้าคือการแสดงออกทางจิตใจของกลุ่มคน   

การบูชายัญ

Sexual Behavior

นักมานุษยวิทยาแนววิวัฒนาการในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศในยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น ลิวอิส เฮนรี มอร์แกน, เอ็ดเวิร์ด ไทเลอร์ เชื่อว่ายุคก่อนประวัติศาสตร์เป็นยุคที่มนุษย์ส่ำส่อนทางเพศ  ซัลวาทอร์ คุชเชียรี กล่าวว่ามนุษย์ยุคแรก ๆ อาศัยรวมกันแบบฝูงสัตว์ และจับคู่สมสู่กันไม่เลือกหน้า มนุษย์มีเพศสัมพันธ์ได้ทั้งหญิงและชาย  

พฤติกรรมทางเพศ

Sexual Orientation

Sexual Orientation หมายถึง ความพึงพอใจ ความสนใจ ความชอบ หรือความต้องการทางเพศของบุคคล ซึ่งคน ๆ หนึ่งความพึงพอใจกับคนเพศตรงข้าม คนเพศเดียวกัน หรือพอใจทั้งสองแบบก็ได้  

ความพึงพอใจทางเพศ

Shamanism

Shamanism หมายถึง ลัทธิบูชาผู้มีอำนาจวิเศษ เป็นระบบความเชื่อเชิงศาสนาและการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ผู้ที่มีอำนาจวิเศษจะเป็นผู้ทำการติดต่อระหว่างมนุษย์กับอำนาจวิญญาณเพื่อให้ช่วยเหลือในกรณีต่าง ๆ  

ลัทธิบูชาผู้มีอำนาจวิเศษ

Slavery

นักมานุษยวิทยาได้พยายามศึกษาวิวัฒนาการของการเป็นทาส และดูความสัมพันธ์ของการเป็นทาสกับบริบททางวัฒนธรรม ถึงแม้ว่าทฤษฎีที่นักมานุษยวิทยาใช้ในระยะแรก ๆ จะอธิบายความเป็นทาสว่าเป็นสถาบันของแรงงาน แต่นักมานุษยวิทยาก็ได้ชี้ให้เห็นความแตกต่างทางวัฒนธรรมของการเป็นทาสในลักษณะต่าง ๆ 

การเป็นทาส

Social Movements

การเคลื่อนไหวทางสังคม หมายถึง ปฏิบัติการของกลุ่มคนที่มีเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง การรวมกลุ่มของคนอาจจะเป็นทางการและไม่เป็นทางการก็ได้ สำหรับทางมานุษยวิทยามองว่าการเคลื่อนไหวทางสังคมเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเป็นเรื่องการเมือง

การเคลื่อนไหวทางสังคม

Social Structure

การศึกษาโครงสร้างสังคม สนใจเรื่องการจัดระเบียบทางสังคม สังคมจะถูกมองว่าเป็นสถาบันหนึ่งที่มีโครงสร้าง และกฎระเบียบที่แน่นอน การศึกษาในเรื่องนี้จึงเป็นการอธิบายสถาบัน และแบบแผนของพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กัน อธิบายรายละเอียดของโครงสร้างสังคมที่ปรากฏอยู่

โครงสร้างสังคม

Sorcerer

พ่อมดหรือหมอผี หมายถึงบุคคลที่มีความรู้เกี่ยวกับเวทมนต์คาถาและสามารถใช้เวทมต์คาถาเพื่อทำให้เกิดผลบางอย่างในโลกทางวัตถุ พ่อมดหมอผีมักจะเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดอันตราย หรือเป็นเรื่องที่มุ่งร้าย

พ่อมดหมอผี

State

รัฐประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ ประชาชน พรมแดน และรูปแบบการปกครอง องค์ประกอบทั้งสามส่วนนี้เป็นสิ่งสำคัญในการบ่งชี้ว่าอำนาจการเมืองแบบใดคือรัฐ นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นว่าบทบาทของรัฐบาลในรัฐคือทำหน้าที่รักษากฎหมายและระเบียบกฎเกณฑ์ และกีดกันหรือขับไล่การกระทำต่าง ๆ ให้ออกไปจากรัฐ  

รัฐ

Structuralism

Structuralism หรือโครงสร้างนิยม หมายถึง ทฤษฎีที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์ทางสังคม โดยเชื่อว่าสังคมประกอบด้วยระบบและโครงสร้างที่หน่วยต่าง ๆ ต้องพึ่งพาอาศัยกันอย่างมีกฎและระเบียบที่ชัดเจนตายตัว ทฤษฎีเกิดขึ้นพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงแนวคิดทางด้านปรัชญาและส่งผลให้เกิดปรับวิธีคิดในหลายสาขา   

โครงสร้างนิยม