แสดง 201 ถึง 220 จาก 232 รายการ
Animality
การแยกมนุษย์ออกจากสัตว์โดยอาศัยสติปัญญาเป็นตัวกำหนด ส่งผลให้มนุษย์มีอคติต่อสัตว์ ฐานคิดนี้มาจากการแยก “ร่างกาย” กับ “จิตใจ” เป็นคู่ตรงข้าม โดยที่มนุษย์จะกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสามารถทางความคิด เป็นสัญลักษณ์ของปัญญา และถูกสถาปนาให้เป็นสายพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์ที่เรียกว่า Homo sapiens ขณะที่สัตว์จะเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีแต่ร่างกายที่ปราศจากปัญญา (Morris, 2005)
Temporality
Iparraguirre (2015) อธิบายว่า “เวลา” (Time) ต่างจาก “การรับรู้ถึงเวลา” (Temporality) กล่าวคือ เวลาจะหมายถึงปรากฎการณ์ของการเปลี่ยนแปลง (phenomenon of becoming) ในขณะที่การรับรู้ถึงเวลาจะหมายถึงวิธีคิดที่มนุษย์ใช้อธิบายการมีอยู่ของเวลาที่เคลื่อนไป (apprehension of becoming)
Extraterrestrial Intelligence
นักมานุษยวิทยาที่บุกเบิกการศึกษาในประเด็นสิ่งมีชีวิตนอกโลกคือ Robert and Marcia Ascher (1962) โดยเขียนบทความเรื่อง Interstellar communication and human evolution เพื่อชี้ให้เห็นว่าการติดต่อสื่อสารกับสิ่งมีชีวิตนอกโลกอาจดูได้จากวิธีการที่มนุษย์ในอดีตใช้ติดต่อสื่อสารกัน
วิวัฒนาการทางวัฒนธรรม, วิทยาศาสตร์, สิ่งมีชีวิตนอกโลก, การติดต่อสื่อสาร
Assemblage
แนวคิดเรื่อง “สภาวะรวมตัว” (Assemblage) มาจากความคิดของนักปรัชญาฝรั่งเศส คือ Gilles Deleuze และนักจิตวิเคราะห์ Félix Guattari (1980) ซึ่งเขียนหนังสือเรื่อง A Thousand Plateaus: Capitalism and Schizophrenia โดยเสนอมุมมองเกี่ยวกับ rhizomatic thought ซึ่งอธิบายลักษณะเครือข่ายที่ไม่เป็นระเบียบแบบแผน (nonlinear network) (Mussumi, 1987) เพื่อทำความเข้าใจปรากฎการณ์สังคมที่ดำเนินไปด้วยความโยงใยเชิงสัญลักษณ์ระหว่างสถาบันที่มีการใช้อำนาจ และสถานการณ์ที่สัมพันธ์กับศิลปะ วิทยาศาสตร์ และการต่อสู้ทางสังคมโดยไม่มีระเบียบหรือความเชื่อมโยงที่ชัดเจน
Civil Society
นักมานุษยวิทยา ตั้งข้อสังเกตว่าประชาสังคมคือพื้นที่ชีวิต (associational life) ที่คนทุกคนเข้ามาร่วมรับรู้ถึงชะตากรรมและร่วมแรงร่วมใจเพื่อทำประโยชน์ต่อกัน (Schwartz and Pharr, 2003) ประชาสังคมในมิติของการอยู่ร่วมกันของคนทุกกลุ่ม ให้ความสำคัญกับพื้นที่สาธารณะที่อยู่นอกการควบคุมและกฎเกณฑ์ของรัฐและองค์กรทางเศรษฐกิจ พื้นที่สาธารณะนี้สร้างประสบการณ์ร่วมที่ประชาชนจะเข้ามาทำงานร่วมกัน
การมีส่วนร่วม, ประชาสังคม, ประชาธิปไตย, พื้นที่สาธารณะ, การเมือง
Fetishism
ในความคิดของชาวตะวันตก เครื่องรางของขลังที่ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมอื่นสะท้อนความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าและวิญญาณที่ศักดิ์สิทธิ์ที่กลุ่มชนพื้นเมืองมีเก็บไว้ในบ้านและเป็นวัตถุประจำตัว ชาวตะวันตกใช้คำว่า fetish เพื่อบ่งบอกถึงวัตถุที่เป็นของบูชาโดยมีรากศัพท์มาจากภาษาโปรตุเกส (feitiço) ซึ่งหมายถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับเวทมนตร์คาถา (magical event) โดยมิได้เกี่ยวข้องกับอำนาจของเทพเจ้าแต่อย่างใด
Pluriversality
ความหมายของ Pluriversality คือการเห็นความหลากหลายของความคิดที่มีอยู่ในสังคมต่าง ๆ และต้องการท้าทายล้มล้างวิธีคิดที่พยายามชี้นำและครอบงำสังคม กล่าวคือ ต้องการโอบอุ้มความคิดที่แตกต่างให้ดำเนินไปพร้อมกันโดยไม่ยกย่องหรือเชิดชูความคิดของใครหรือแบบใดเพียงหนึ่งเดียว
ภววิทยา, ความหลากหลาย, การอยู่ร่วมกัน, พหุจักรวาล, ปฏิสัมพันธ์, จักรวาลวิทยา
Erotic Anthropology
Valentine (2007) เสนอว่าการทำความเข้าใจอารมณ์และความต้องการทางเพศ อาจต้องแสวงหาวิธีวิทยาและวิธีศึกษาใหม่ๆที่สามารถมองเห็นผัสสะและความรู้สึกที่ปรากฎอยู่ในกิจกรรมทางเพศ เนื่องจากประสบการณ์ทางร่างกายขณะมีอารมณ์ทางเพศย่อมจะถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือไม่ได้อย่างตรงไปตรงมา
เพศวิถี, เพศภาวะ, ผัสสะ, เซ็กส์, อารมณ์ทางเพศ, การปฏิบัติทางเพศ, เรือนร่าง
Spatiality
การศึกษาพื้นที่คือการศึกษาพรมแดนของการใช้ชีวิตทางสังคมของผู้คนที่แตกต่างหลากหลาย (Aucoin, 2017) การศึกษาดังกล่าวช่วยทำให้เกิดความเข้าใจว่ามนุษย์มีความคิดและประสบการณ์กับสภาพแวดล้อมและอาณาบริเวณอย่างไร ช่วยทำให้เห็นวิธีปฏิบัติต่อพื้นที่ในช่วงเวลาต่าง ๆ และรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งสัมพันธ์กับเงื่อนไขทางความเชื่อ กิจกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจและสุนทรียะ
Foucauldian Anthropology
ในช่วงทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา นักมานุษยวิทยาในสหรัฐอเมริกาจึงเริ่มระมักระวังในการเขียนงานทางชาติพันธุ์ โดยตรวจสอบบริบททางสังคมและความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ศึกษาและผู้ถูกศึกษา ประเด็นเรื่อง “อำนาจ” ที่ซ่อนเร้นในการเขียนจึงได้รับการถกเถียงอย่างกว้างขวาง อำนาจของการเขียนจึงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายขนบการทำงานทางมานุษยวิทยา และวิธีตรวจสอบอำนาจแบบฟูโกต์จะถูกนำมาใช้อย่างเข้มข้น
Eco-Cultural Lanscapes
ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม หมายถึงการทำกิจกรรมของมนุษย์ในสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศซึ่งต่างมีผลต่อกัน มนุษย์จะคิดค้นเทคโนโลยีเพื่อใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ขณะที่ธรรมชาติจะกำหนดวิธีการที่มนุษย์จะปรับตัวอยู่กับสภาพแวดล้อม ประเด็นสำคัญคือความหมายที่มนุษย์ให้กับธรรมชาติดำรงอยู่ในโลกทัศน์ทางวัฒนธรรม
มานุษยวิทยา, นิเวศวัฒนธรรม, ธรรมชาติ, ภูมิทัศน์, มนุษย์, ชีววัฒนธรรม
Prostitution
การทำความเข้าใจชีวิตของผู้ที่ขายบริการทางเพศ จำเป็นต้องศึกษาบริบทที่เกิดขึ้นในสังคมและวัฒนธรรมที่คนเหล่านั้นเติบโตและใช้ชีวิตอยู่ ทำให้รูปแบบ ความหมายและลักษณะของการขายบริการทางเพศมีความแตกต่างกัน การนำมุมมองแบบตะวันตกไปอธิบายการขายบริการทางเพศอาจไม่ช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับการขายบริการทางเพศ
Perspectivism
ทัศนพิสัยนิยมคือการทำความเข้าใจว่าความคิด ความเชื่อ และทัศนคติของมนุษย์ ที่มีต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขสังคมผ่านการเรียนรู้ การอบรมสั่งสอนและประสบการณ์ที่คนแต่ละถูกขัดเกลามาไม่เหมือนกัน ส่งผลให้คนแต่ละคนอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นผ่านมุมมองของตัวเองเป็นสำคัญ
Entrepreneurship
หากย้อนกลับไปดูความหมายของ entrepreneur จะพบว่าเป็นคำภาษาฝรั่งเศสซึ่งปรากฏครั้งแรกในพจนานุกรม Dictionnaire de la langue français ในปี ค.ศ. 1437 ซึ่งเป็นคำนามที่ความหมายพื้นฐานที่สุดบ่ง ชี้ถึง “บุคคลผู้กระตือรือล้นและบรรลุเป้าหมายบางอย่าง” (a person who is active and achieves somethings” ส่วนคำกริยา entreprendre นั้นหมายถึง “การทำหน้าที่บางอย่าง” (to undertake something)
Gender and Sexual Diversity
ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงที่ประเทศในยุโรปมีการศึกษาวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับเพศ หรือ เพศศาสตร์ (Sexology) ทำให้เกิดการใช้ความรู้เพศสรีระและชีววิทยามาเป็นตัวพิสูจน์ความถูกผิดของเพศสภาพและเพศวิถี ส่งผลให้พฤติกรรมทางเพศในดินแดนต่าง ๆ ที่ชาวตะวันตกเข้าไปปกครองในช่วงอาณานิคมถูกตีความด้วยทฤษฎี “เบี่ยงเบนทางเพศ” เป็นการตอกย้ำความเสื่อมถอยและเผ่าพันธุ์ที่ต่ำต้อยของผู้ที่ผิดปกติทางเพศ
Aging Society
นักมานุษยวิทยาตระหนักว่าผู้สูงอายุเป็นกลุ่มคนที่มีความหวังและมีความปรารถนาที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ทำให้ปัจจุบัน มีการศึกษาเรื่องราวเชิงบวกที่ปรากฏอยู่ในผู้สูงอายุ และเพื่อมิให้เป็นการตอกย้ำสภาวะชายขอบหรือสภาพร่างกายที่ร่วงโรย นักมานุษยวิทยาจึงสนใจเรื่องการใส่ใจดูแล ความห่วงใย และความหวังที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ
Qurban
การทำกุรบาน (Qurban) หรืออุฎฮียะ (udhiyah) คือ พิธีกรรมการเชือดสัตว์พลีทานของศาสนาอิสลาม (Islamic ritual sacrifice) เพื่อแสวงหาความใกล้ชิดต่อพระเจ้า โดยจะเกิดขึ้นทุกปีในช่วงวันอีดิ้ลอัฎฮา (และถัดจากนั้นอีกสามวัน) ซึ่งเป็นวันที่ผู้แสวงบุญทั่วโลกได้เดินทางไปทำพิธีฮัจญ์ที่นครเมกกะ โดยการทำกุรบานถือเป็นสิ่งที่เน้นหนักเน้นให้มุสลิมทั่วโลกพึงกระทำหากมีความสามารถ ซึ่งสัตว์ที่จะใช้ในการทำกุรบานต้องเป็นปศุสัตว์ อันได้แก่ อูฐ วัว แพะ และแกะ และต้องเป็นสัตว์ตัวที่มีอายุถึงเกณฑ์
Cosmopolitanism
คุณลักษณะของการเป็นพลเมืองโลกวางอยู่บนความรู้สึกเห็นใจ เข้าใจ อดทนอดกลั้นและเคารพความต่างทางวัฒนธรรม เป้าหมายของการเป็นพลเมืองโลกจึงเกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงและเข้าถึงวัฒนธรรมของคนอื่นซึ่งอาศัยการสนทนาอย่างเป็นมิตร
Multispecies Care
การพัวพันและความสัมพันธ์ที่ไม่หยุดนิ่งตายตัวของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ แสดงให้ว่าความเป็นมนุษย์ ทั้งตัวตน และร่างกายเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นผ่านการยึดโยงกับสิ่งมีชีวิตอื่น การเอาตัวรอดของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งจึงขึ้นอยู่กับชีวิตอื่น (mutual dependence) ด้วยเหตุนี้ การศึกษาปฏิสัมพันธ์ภายในชุมชนหลากสายพันธุ์ในประเด็นที่ว่าด้วยการใส่ใจดูแล คำถามที่ว่า เหตุใด? เราถึงต้องใส่ใจดูแล และเราจะดูแลกันและกันอย่างไร? จึงกลายเป็นคำถามพื้นฐานที่เรียกร้องให้มนุษย์หันมาสนใจภาคปฏิบัติการ