แสดง 61 ถึง 80 จาก 232 รายการ
Gesture
การแสดงออกทางท่าทาง (Gesture) ของมนุษย์เป็นการสื่อสารความหมายชนิดหนึ่ง ซึ่งท่าทางอาจใช้เป็นสัญลักษณ์ มีการจัดระเบียบของการเคลื่อนไหวทางร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ ท่าทางการเคลื่อนไหวนี้อาจปรากฎอยู่ในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ศิลปะการป้องกันตัว การเล่นกีฬา การเต้นรำ การแสดง การประกอบพิธีกรรมและงานเฉลิมฉลองต่าง ๆ การเคลื่อนไหวร่างกายเหล่านี้ล้วนมีแบบแผนที่ชัดเจน
Gossip
การนินทา เป็นพฤติกรรมทางสังคมชนิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นเหมือนเป็นเกมส์ สมาชิกในกลุ่มจะใช้การนินทาเพื่อธำรงรักษาความแน่นแฟ้นของกลุ่ม ซึ่งเมื่อมีการนินทาใครสักคนก็จะเกิดการตัดสินและประเมินคุณค่าพฤติกรรมของคน ๆ นั้น แม็ก กลั๊กแมน(1963) กล่าวว่าการนินทาเป็นเครื่องมือในการควบคุมทางสังคมและสร้างสังคมของกลุ่ม เป็นการควบคุมพฤติกรรมที่ยอมรับไม่ได้ให้อยู่ในขอบเขต กลั๊กแมน ศึกษาการนินทาด้วยทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ ซึ่งมองว่าการนินทาจะช่วยให้สังคมดำรงอยู่ได้ การนินทาได้แยกพรมแดนระหว่างพฤติกรรมที่น่ายกย่องกับพฤติกรรมที่น่าตำหนิออกจากกัน ซึ่งทำให้สังคมกลมเกลียว และช่วยควบคุมความขัดแย้งไม่ให้ปะทุขึ้นมา
Grief and Mourning
ความเสียใจหมายถึงการตอบสนองทางอารมณ์และความคิดของบุคคลที่รู้สึกสูญเสีย การไว้ทุกข์หมายถึงพฤติกรรมหรือการกระทำในพิธีกรรม ในแต่ละวัฒนธรรมจะมีคำอธิบายเพื่อความโศกเศร้า หรือเพื่อให้ที่กำลังโศกเศร้าเนื่องจากสูญเสียคนที่รัก ความแตกต่างระหว่างความเศร้ากับการไว้ทุกข์ คือ ความเศร้าเป็นพฤติกรรมส่วนบุคคลที่วัฒนธรรมมีส่วนกำหนด แต่ความเศร้ากับการไว้ทุกข์มีความหมายที่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากเป็นเรื่องยากที่จะตั้งกฏเกณฑ์ที่แน่นอนว่าผู้ที่สูญเสียจะแสดงความเศร้าอย่างไร และเมื่อไหร่จึงจะต้องไว้ทุกข์
Hermeneutics
คำว่า Hermeneutics หมายถึงระเบียบวิธีที่ใช้ตีความข้อเขียน โดยเฉพาะการตีความข้อเขียนในคัมภีร์ไบเบิล ตีความวรรณกรรมและงานเขียนทางปรัชญา เป็นวิธีการสำรวจตรวจสอบด้วยการสังเกตอย่างละเอียด และเป็นการทำความเข้าใจเรื่องราวของมนุษย์ด้วยสติปัญญา นักวิชาการที่ใช้ระเบียบวิธีนี้ ได้แก่ นักประวัติศาสตร์ศิลป์ นักวิจารณ์วรรณคดี นักประวัติศาสตร์ศาสนา นักสังคมวิทยา เทววิทยา รวมทั้งนักมานุษยวิทยาด้วย
Historicism
ประวัติศาสตร์นิยม (Historicism) หมายถึงวิธีคิดที่มองและสนใจเหตุการณ์เฉพาะในช่วงเวลาอดีต ในพื้นที่บางแห่ง ในวัฒนธรรมและสังคมบางแห่ง ความสนใจลักษณะเฉพาะที่เกิดขึ้นนี้นำไปสู่การมองวัฒนธรรมที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ โดยมองว่าวัฒนธรรมแต่ละแห่งมีความเป็นมาไม่เหมือนกัน โจฮันน์ กอตไฟรด์ วอน เฮอร์เดอร์คือผู้ที่นำแนวคิดประวัติศาสตร์มาศึกษามนุษย์ เขากล่าวว่า ประวัติศาสตร์ไม่ใช่สิ่งสากล เหตุการณ์แต่ละยุคสมัยเกิดขึ้นและจบไปไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์อื่น
Homelessness
การไร้บ้าน หมายถึงสภาพของคนที่ไร้ที่อยู่ หรือผู้ที่ไม่สามารถหาที่อยู่เป็นของตัวเองได้ ซึ่งสาเหตุอาจจะมาจากหลายปัจจัย เช่น การถูกทอดทิ้ง การหนีออกจากบ้าน การไร้ที่พึ่ง ความยากจน เป็นต้น ผู้ที่ไร้ที่อยู่อาศัยจึงร่อนเร่พเนจรไปตามที่ต่าง ๆ ไม่มีอาชีพ ไม่มีรายได้ที่แน่นอน รูปแบบของการไม่มีบ้าน อาจมี 2 ลักษณะคือ การอยู่อาศัยตามท้องถนน และการอาศัยอยู่ในแหล่งเสื่อมโทรมในย่านอุตสาหกรรม แต่การอยู่อาศัยแบบย้ายที่อยู่ไปเรื่อย ๆ เช่น ในสังคมเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์ของชาวยิปซี จะไม่ถือว่าเป็นการไร้บ้านเพราะเป็นรูปแบบทางวัฒนธรรมของคนกลุ่มนี้
Honor and Shame
มานุษยวิทยาสนใจศึกษาเกียรติยศและความอายในช่วงทศวรรษ 1960 โดยเข้าไปศึกษาในเขตเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งเป็นสังคมที่มีการแบ่งแยกเพศโดยมีศาสนาเป็นข้อกำหนด โดยเฉพาะศาสนาคริสต์และอิสลาม เรื่องเพศจะเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจที่สัมพันธ์กับบทบาทชายหญิง ซึ่งผู้ชายจะถูกคาดหวังว่าต้องแข็งแกร่งอดทน ผู้หญิงต้องนุ่มนวลอ่อนหวาน ในวัฒนธรรมเมดิเตอร์เรเนียนมองว่าเกียรติยศคือระบบคุณค่าทางสังคม บุคคลจะต้องมีค่าในตัวเอง ส่วนความอายจะบ่งบอกถึงความล้มเหลวในคุณค่าของตัวเอง
Human Universals
ความเป็นสากลของมนุษย์ (Human Universals) หมายถึง ลักษณะที่มนุษย์มีร่วมกันไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติหรือเผ่าพันธุ์ใด ซึ่งโดนัลด์ บราวน์ (1991) นักมานุษยวิทยาอเมริกันได้แยกประเด็นความเป็นสากลของมนุษย์เป็น 67 ประเด็น ประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ การรู้จักทำอาหาร สร้างที่อยู่อาศัย สร้างชุมชน สร้างระบบการปกครอง การสื่อสารด้วยภาษา ระบบเครือญาติ คติความเชื่อ การสร้างกฎระเบียบทางสังคม การสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ และการแสดงออกทางศิลปะและดนตรี เป็นต้น
Humanistic Anthropology
มานุษยวิทยาแนวมนุษยนิยม (Humanistic Anthropology) หมายถึง การศึกษาระบบคุณค่าและความหมายที่มนุษย์สร้างขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ เช่น งานวรรณกรรม งานศิลปะ งานสร้างสรรค์ต่าง ๆ อย่างไรก็ตามแนวคิดเกี่ยวกับมนุษยนิยม (humanism) คือรากฐานของการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์ เพราะแนวคิดนี้วางประสบการณ์ของมนุษย์ไว้ตรงกลางและปฏิเสธอำนาจที่มองไม่เห็น หรืออำนาจเหนือธรรมชาติ humanism จึงเชื่อมั่นในการกระทำของมนุษย์เหนือสิ่งอื่นใด หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นความศรัทธาในตัวมนุษย์ การให้ความสำคัญกับมนุษย์นี้อาจนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาทางมานุษยวิทยา จนเกิดแนวคิดเรื่อง humanistic anthropology ขึ้น
Incest Taboo
ข้อห้ามการมีเพศสัมพันธ์กับญาติพี่น้อง (Incest Taboo) เป็นกฎสำหรับพี่น้องร่วมสายโลหิตในครอบครัวเดี่ยว และอาจรวมถึงญาติที่เกิดจากการแต่งงาน ข้อห้ามนี้พบเห็นได้ในหลายวัฒนธรรม ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ข้อห้ามการร่วมประเวณีในครอบครัวเป็นปรากฏการณ์ที่ก่อให้เกิดแนวคิดทฤษฎี ครอบครัวถูกนิยามด้วยระบบคุณค่าที่ต่างกันสองแบบ แบบแรกโดยฟอร์เตส นิยามความหมายของครอบครัวว่าเป็นหลักเกณฑ์ของการสร้างมิตร ซึ่งจำเป็นต้องมีญาติพี่น้องที่ปฏิบัติต่อกันอย่างซื่อสัตย์และเป็นเอกภาพเดียวกัน แบบที่สอง ตามความหมายของข้อห้ามการร่วมประเวณี ครอบครัวหมายถึงบุคคลที่มีพลังขับทางเพศที่ต้องการระบาย และอยู่นอกกฎเกณฑ์ข้อผูกมัดทางสังคม
Infanticide
การฆ่าทารก (Infanticide) เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นมากนักในสังคมมนุษย์ อาจพบเห็นได้ในสงครามหรือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ส่วนกรณีอื่น ๆ ไม่มีรายงานอย่างเป็นทางการ การฆ่าทารกมักจะถูกโจมตีว่าเป็นการกระทำที่ผิดศีลธรรม เช่น กรณีที่มารดาไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรแรกเกิดของตนได้ เธออาจทำแท้ง หรือฆ่าทารกตั้งแต่แรกคลอด นอกจากนั้นการตายของทารกอาจเกิดจากการถูกทิ้งให้อดตาย ขาดอาหาร ซึ่งเป็นการฆาตกรรมทางอ้อม ชาวยุโรปมักจะประณามการฆ่าทารกว่าเป็นความโหดเหี้ยม และเป็นความป่าเถื่อน
Initiation Rites
พิธีกรรมแรกรับ หรือพิธีกรรมรับเข้ากลุ่ม (Initiation Rites) หมายถึง พิธีที่เปลี่ยนสถานะและบทบาทของบุคคล ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมกับการรับเข้าไปอยู่ในกลุ่มอายุ เช่น กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มผู้ใหญ่ กลุ่มผู้ชาย กลุ่มผู้หญิง หรือการได้รับสถานะพิเศษ เช่น การเป็นพระ พ่อมดแม่มด หรือกษัตริย์ พิธีกรรมดังกล่าวนี้ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การนำบุคคลออกจากสถานะเดิม การเปลี่ยนแปลงสถานะ และการรับเข้าไปสู่สถานะใหม่
Joking
อารมณ์ขันและเรื่องตลกเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกเชื้อชาติเผ่าพันธุ์มีเหมือนกัน อารมณ์ขันอาจหมายถึงภาวะของความรื่นเริงในอารมณ์ซึ่งมักจะแสดงออกมาด้วยรอยยิ้ม หรือการหัวเราะเมื่อมีสิ่งมากระตุ้นเร้าจากภายนอก การหัวเราะและอารฒณ์ขันเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารระหว่างมนุษย์ซึ่งอาศัยองค์ประกอบทางชีววิทยา สังคมวัฒนธรรม และจิตวิวิทยา
Judicial Process
กระบวนการทางศาลในความคิดของนักกฎหมายและนักสังคมวิทยา หมายถึงการแก้ปัญหาโดยพิสูจน์ความจริง และการนำความจริงนั้นไปใช้โดยกฎหมายและผู้พิพากษา ในสังคมที่มีระบบรวมศูนย์อำนาจทางกฎหมาย กระบวนการศาลจะเป็นกลวิธีในการดำเนินงานทางกฎหมาย กระบวนการศาลจึงเป็นรูปแบบในอุดมคติ ซึ่งเกิดขึ้นในการทำงานของผู้พิพากษาที่ต้องตัดสินใจในความขัดแย้งระหว่างกลุ่มสองกลุ่ม การค้นหาความจริงและการพิสูจน์ความจริงจะเกิดขึ้นตามมา
Legal Anthropology
มานุษยวิทยากฎหมายศึกษาองค์ประกอบที่สำคัญสามส่วน คือ หนึ่ง แต่ละวัฒนธรรมจะมีวิธีแยกแยะกฎต่าง ๆ และมีกระบวนการสร้างกฎหมาย สอง ขบวนการจัดการกับความขัดแย้งจะอาศัยรูปแบบและสถาบันที่แน่นอน สังคมจะมีระบบจัดการความขัดแย้งซึ่งเป็นระบบที่ทุกคนเห็นร่วมกัน และ สาม กฎหมายจะเกิดขึ้นพร้อมกับการสร้างมาตรการควบคุมและระบบคุณค่าทางสังคม เช่น การใช้ขนบธรรมเนียม และศีลธรรม
Literary Anthropology
มานุษยวิทยาที่วิเคราะห์วรรณกรรม หมายถึง การสำรวจบทบาทของงานเขียนและวรรณกรรมที่ปรากฎอยู่ในสังคมของมนุษย์ ซึ่งจะมีการตรวจสอบวิธีการแสดงออกทางภาษาในรูปแบบต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ เกี่ยวข้องกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่หล่อหลอมและมีอิทธิพลต่อการสร้างงานเขียน
Love
นักประวัติศาสตร์อธิบายว่า “ความรักแบบเสน่หาอาวรณ์” เป็นเรื่องทางประวัติศาสตร์ที่พบเห็นได้ในสังคมตะวันตก ลอว์เรนส์ สโตนกล่าวว่า ถ้าความรักโรแมนติกเกิดนอกทวีปยุโรป มันก็เป็นเพียงความรักของชนชั้นสูงที่มีเวลาสำหรับการหาความสุนทรีย์ ความคิดเรื่องรักของชาวยุโรปนั้นวางอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าทุกๆอย่างมีความสมบูรณ์ ซึ่งเป็นไปตามคติสมัยใหม่และปัจเจกนิยม ซึ่งทำให้ความรักก่อตัวเป็นรูปร่างอย่างชัดเจน
Magic
เวทมนต์ เป็นศิลปะที่อาศัยอำนาจเหนือธรรมชาติเข้าไปควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้เกิดผลบางอย่าง โดยผู้มีเวทมนต์ต้องมีวิชาความรู้และสามารถติดต่อกับอำนาจเหนือธรรมชาติได้ การกระทำดังกล่าวนี้อาจดูเป็นเรื่องไร้สาระ หรือเชื่อถือไม่ได้ในความคิดของชาวตะวันตก ทำให้การศึกษาเรื่องเวทมนต์ถูกตีความและอธิบายด้วยทฤษฎีวิวัฒนาการทางศาสนา