แสดง 81 ถึง 100 จาก 232 รายการ
Mana
มานา หมายถึงอำนาจเหนือธรรมชาติ หรือการกระทำของวิญญาณที่มีผลต่อการกระทำของมนุษย์ เป็นความเชื่อในวัฒนธรรมโพลินีเซียนและเมลานีเซียน คำว่า “มานา” ปรากฎครั้งแรกในพจนานุกรมศัพท์ฮาวายของลอร์ริน แอนดรูว์ โดยแปลว่า อำนาจ อำนาจเหนือธรรมชาติ หรืออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์
Market
คำว่า Market อาจหมายถึงสถานที่ที่มีการจับจ่าย หมายถึงแนวคิดทางการตลาด หรือการซื้อขายสินค้าทั่วไป ในทางมานุษยวิทยาจึงเกิดปัญหาในการนิยามว่าอะไรคือ “ตลาด” นอกจากนั้นยังความหมายของตลาดในฐานะที่เป็นสถานที่ซื้อขายจะเป็นตัวแทนของระบบการซื้อขายได้หรือไม่ เมื่อเอ่ยถึง “ตลาด” สิ่งที่คิดถึงอันดับแรกก็คือการซื้อและการขายวัตถุสิ่งของระหว่างมนุษย์ ส่วนการแลกเปลี่ยนสินค้าและวัตถุโดยไม่ใช้ตัวกลางที่มีมูลค่า หรือเงินตรา การแลกเปลี่ยนนี้อาจใช้วัตถุที่มีค่าอื่น ๆ แทนเงิน
Marriage
การแต่งงานในความคิดของมานุษยวิทยามีความแตกต่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับทัศนคติของผู้ศึกษา และผู้ถูกศึกษา ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น กฎทางสังคม พฤติกรรม สิทธิ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสังคม จอร์จ ปีเตอร์ เมอร์ด็อกค์(1949) นิยามความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในการแต่งงานโดยอาศัยการยอมรับทางสังคมที่มีต่อชายและหญิง ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องเศรษฐกิจและเพศสัมพันธ์
Martial Arts
ศิลปะการต่อสู้และการสู้รบ หมายถึงเทคนิควิธีการต่อสู้ที่ใช้อาวุธและไม่ใช้อาวุธ หรือเป็นยุทธวิธีเพื่อให้ได้ชัยชนะในสงคราม ศิลปะการต่อสู้ต้องอาศัยการฝึกฝนและการฝึกร่างกาย เพื่อให้มีทักษะในการเคลื่อนไหวร่างกาย มีทักษะในการใช้อาวุธและอุปกรณ์ต่าง ๆ มนุษย์ทุกกลุ่มล้วนมีวิธีการต่อสู้ของตัวเอง บันทึกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องศิลปะการต่อสู้จะกล่าวถึงระบบการป้องกันตัวเองและการพัฒนาฝึกฝนกำลัง
Mass Media
Mass Media ในทางมานุษยวิทยา หมายถึงเทคโนโลยีทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารเพื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ และคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นนักมานุษยวิทยายังสนใจรูปแบบและวิธีการสื่อสารเพื่อใช้โฆษณาชวนเชื่อซึ่งผลิตโดยนักการเมืองและนักโฆษณา การใช้โลโก้สัญลักษณ์และโปสเตอร์ และการใช้สื่อของสถาบันต่าง ๆ
Materialism
แนวคิดเรื่องวัตถุนิยม หรือ Materialism คือปรัชญาที่เชื่อเรื่องเอกนิยมหรือความมีมาตรฐานเดียวของสรรพสิ่ง กล่าวคือ เชื่อว่าวัตถุต่าง ๆ ในธรรมชาติล้วนถูกสร้างขึ้นจากองค์ประกอบทางวัตถุที่จับต้องได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต แนวคิดวัตถุนิยมจะมองสรรพสิ่งในเชิงกายภาพ วัตถุต้องดำรงอยู่ได้ด้วยกายภาพ ซึ่งฐานคิดนี้คือตรรกะสำคัญของความรู้วิทยาศาสตร์
Migration
การอพยพของมนุษย์ หมายถึง การย้ายที่อยู่จากที่เดิมไปที่ใหม่ โดยอาจเป็นการย้ายชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ และเหตุผลของการย้ายก็มีหลายประการ เช่น ย้ายเพื่อการทำมาหากิน ย้ายเพราะสภาพแวดล้อม ย้ายเพราะสงคราม ฯลฯ นับตั้งแต่ยุคไพลสโตซีนตอนกลางที่โฮโม อิเรคตัส เคลื่อนย้ายเข้าไปยังดินแดนยูเรเซีย จนถึงยุคไพลสโตซีนตอนปลาย
Monarchy
การปกครองโดยพระมหากษัตริย์หรือราชาธิปไตย (Monarchy) หมายถึง รูปแบบการเมืองที่ให้อำนาจแก่คนๆเดียว ซึ่งทำหน้าที่เป็นประมุขและออกกฎระเบียบเพื่อควบคุมสังคม ผู้มีอำนาจดังกล่าวนี้จะสืบทอดอำนาจของตนโดยทางสายเลือด เช่น มอบอำนาจให้บุตรชายหรือบุตรสาว เมื่อกษัตริย์หรือพระราชาสละราชสมบัติหรือสิ้นพระชนม์ พระโอรสหรือพระธิดาก็จะสืบทอดอำนาจต่อไป การปกครองโดยกษัตริย์จะมีรูปแบบและรายละเอียดต่างกันในแต่ละสังคม
Multiculturalism
Multiculturalism หมายถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมในพรมแดนประเทศใดประเทศหนึ่ง ซึ่งความหลากหลายที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่รับรู้กันทั่วไปและเป็นเรื่องปกติ สังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมจะแตกต่างจากสังคมที่มีการหลอมรวมทางวัฒนธรรม กล่าวคือ สังคมที่มีการหลอมรวมวัฒนธรรมจะมีวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยที่ถูกครอบงำหรือถูกบดบังจากวัฒนธรรมที่มีอำนาจเหนือกว่า และส่งผลทำให้วัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยเลือนหายไป หรือสูญเสียความเป็นตัวเอง
Museum Anthropology
มานุษยวิทยาพิพิธภัณฑ์ หมายถึง การทำงานทางมานุษยวิทยาที่เกิดขึ้นภายในพิพิธภัณฑ์ หรือหมายถึงการศึกษาพิพิธภัณฑ์ในมิติมานุษยวิทยาก็ได้ ความหมายแต่ละด้านอาจไม่เหมือนกัน เพราะมีประวัติความเป็นมาที่ต่างกัน การศึกษามานุษยวิทยาสายวัฒนธรรม ได้รวมเอาการศึกษาพิพิธภัณฑ์เข้าไว้ด้วยซึ่งในเวลาต่อมาการศึกษาพิพิธภัณฑ์ในมิติมานุษยวิทยากลายเป็นสาขาหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ศึกษา หรือพิพิธภัณฑ์วิทยา
Myth
ตำนาน หรือ Myth เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกคำว่า mythos หมายถึง เรื่องเล่า เรื่องแต่ง คำบอกเล่า จากยุคโบราณ ตำนานถูกเข้าใจว่าเป็นเรื่องเล่าที่มีมานมนานก่อนที่จะเกิดประวัติศาสตร์ของมนุษย์ เป็นเรื่องการกระทำต่างๆของเทพเจ้า นอกจากนั้น ตำนานยังหมายถึงความรู้เฉพาะ ผู้ที่ได้รับฟังตำนานอาจคิดว่ามันเป็นเรื่องโกหก เรื่องแต่ง หรือเป็นความจริงก็ได้ การศึกษาตำนานอย่างเป็นระบบเริ่มมาตั้งแต่สมัยเรเนอซอง ซึ่งอาศัยศาสตร์หลายสาขามาอธิบาย
Naming
การตั้งชื่อให้กับสมาชิกในครัวเรือน แต่ละสังคมจะมีวิธีคิดและการปฏิบัติที่ไม่เหมือนกัน ทุก ๆ สังคมล้วนมีการตั้งชื่อให้กับสมาชิกของตัวเอง ชื่อของบุคคลจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในทุกวัฒนธรรม การตั้งชื่อมักจะมีกฎระเบียบเกิดขึ้นไม่มากก็น้อย เช่น เด็กที่เกิดใหม่จะได้รับการตั้งชื่อ แต่วิธีการตั้งชื่อเด็กในแต่ละวัฒนธรรมจะแตกต่างกัน
Nepotism
ความลำเอียงให้แก่ญาติตัวเอง (Nepotism) หมายถึงการให้ความสำคัญแก่ญาติพี่น้องมากกว่าคนอื่น หรือเป็นการให้ประโยชน์แก่ญาติพี่น้องก่อนเป็นอันดับแรก การศึกษาหลายชิ้น เช่น Chagnon and Bugos 1979, Hawkes 1983, Essock-Vitale and McGuire 1985 แสดงให้เห็นว่าการให้ความสำคัญกับญาตินั้นมักจะมาจากเรื่องสายโลหิต แต่การเป็นญาติตามสายเลือดนั้นเป็นการอธิบายจากทฤษฎีวิวัฒนาการซึ่งนำไปใช้กับสังคมของสัตว์และมนุษย์
Nomadism
ความหมายของ Nomadism หมายถึงสภาวะของมนุษย์ที่ไม่มีที่อยู่อาศัยถาวร เร่ร่อนหาอาหารและเลี้ยงสัตว์ไปในที่ต่าง ๆ ในทางมานุษยวิทยาคำว่า Nomadism หมายถึงการย้ายถิ่นตามฤดูการของกลุ่มมนุษย์ที่เลี้ยงสัตว์เพื่อการยังชีพและหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่มีสัตว์เลี้ยงเป็นแหล่งอาหาร กลุ่มคนเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์มิได้มีนิยามที่ตายตัว กลุ่มคนเหล่านี้มีเส้นทางเดินเพื่อการย้ายถิ่นหรืออพยพที่แน่นอน พวกเขารู้ว่าจะตั้งที่พักหรือแหล่งอาศัย ณ บริเวณใด ซึ่งเมื่อถึงกำหนดก็ย้ายไปตามแหล่งนั้น
Nonviolence and Violence
ตามทฤษฎีของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน อธิบายว่าสิ่งมีชีวิตมีสัญชาตญาณการแข่งขันเพื่อเอาตัวรอด แนวคิดชีววิทยาจึงเป็นบ่อเกิดของทฤษฎีความก้าวร้าวที่แพร่หลายในสังคม สังคมจึงเชื่อว่ามนุษย์มีความก้าวร้าวในสายเลือด ถึงแม้ว่านักมานุษยวิทยาหลายคนจะเห็นด้วยกับความคิดนี้ แต่บางคนก็ไม่เห็นด้วย จากการศึกษาหลายชิ้นที่ผ่านมาเริ่มมีข้อมูลที่บ่งชี้ว่าความรุนแรงนั้นเกิดขึ้นจากบริบททางวัฒนธรรม ความก้าวร้าวของมนุษย์มีความแตกต่างกันในแต่ละวัฒนธรรม
Nutritional Anthropology
มานุษยวิทยาโภชนาการ หมายถึงการศึกษาสภาพและลักษณะการกินของมนุษย์ ซึ่งสัมพันธ์กับเรื่องสังคม วัฒนธรรม และอาหาร มานุษยวิทยาโภชนาการจะศึกษาเรื่องราวของอาหาร การจัดระเบียบอาหาร และนโยบายทางด้านอาหาร
Oral Tradition
คำว่า “บอกเล่า” (oral) มีความหมายในสองลักษณะคือ การไม่ใช้ตัวหนังสือ และการใช้ภาษาพูด การบอกเล่ายังหมายถึงการแสดงออกด้วยคำพูด เช่น การร้องเพลง การเล่านิทาน การใช้คำพังเพย หรือสุภาษิต ซึ่งเป็นการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์แตกต่างจากการแสดงออกแบบอื่นที่ต้องใช้ตัวหนังสือ
Paleoethnography
ชาติพันธุ์วรรณายุคโบราณ (paleoethnography) หมายถึงการเขียนเรื่องราวมนุษย์ในอดีต ซึ่งนักโบราณคดีต้องการศึกษาชีวิตหรือเล่าเรื่องราวของมนุษย์ที่ตายไปแล้ว นักโบราณคดีต้องมีสมมุติฐานเกี่ยวกับแบบแผนทางสังคมวัฒนธรรมของมนุษย์ และต้องทำความเข้าใจว่าแบบแผนเหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร และมีสาเหตุอะไรที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
Patriarchy
คำว่า Patriarchy หมายถึงระบบสังคมซึ่งมีพ่อทำหน้าที่หลักในการดูแลควบคุมสั่งการ จัดระเบียบสิ่งต่าง ๆ ในบางวัฒนธรรม ครัวเรือนอาจมีคนที่เป็นทาสอาศัยอยู่ด้วย แนวคิดเกี่ยวกับ การปกครองโดยผู้เป็นพ่อมักจะใช้เพื่ออธิบายบทบาทของผู้ชายที่สังคมคาดหวังที่ต้องรับผิดชอบงานหรือภารกิจต่าง ๆ ของชุมชนทั้งหมด ผู้ชายที่มีบทบาทเหล่านี้ต้องเป็นตัวแทนของชาวบ้าน
Peasantry
คำว่า “ชาวนา” อาจหมายถึงผู้ที่อยู่อาศัยในเขตชนบทหรือเขตทุรกันดารไกลความเจริญ คำว่า ชาวนา หรือ peasant มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน คือ pagensis หมายถึงเขตแดนของชนบท หรือเป็นดินแดนที่ป่าเถื่อน คำนี้ถูกใช้ในภาษาอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ตอนปลาย รูปแบบการยังชีพแบบชาวนาเป็นการทำมาหากินแบบดั้งเดิม