คำศัพท์

A | B | C | D | E | F | G | H | I | J | K | L | M | N | O | P | Q | R | S | T | U | V | W | X | Y | Z | ทั้งหมด
แสดง 1-5 จากทั้งหมด 5 รายการ

แม็กซ์ เวเบอร์ อธิบายว่าอำนาจหมายถึงแนวโน้มของบุคคลที่ต้องการต่อต้านขัดขืนในสิ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่นๆในสังคม  เวเบอร์เชื่อว่าการใช้อำนาจครอบงำคือรูปแบบปกติของความสัมพันธ์เชิงอำนาจซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นความสัมพันธ์ที่ขึ้นอยู่กับคำสั่งและความแตกต่าง  ความสัมพันธ์นี้เป็นปัญหาหลักของการวิเคราะห์สังคม แหล่งที่มาของอำนาจอาจเป็นทั้งผลผลิต และวิธีการจัดการ

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: อำนาจ

ในช่วงทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา นักมานุษยวิทยาในสหรัฐอเมริกาจึงเริ่มระมักระวังในการเขียนงานทางชาติพันธุ์ โดยตรวจสอบบริบททางสังคมและความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ศึกษาและผู้ถูกศึกษา ประเด็นเรื่อง “อำนาจ” ที่ซ่อนเร้นในการเขียนจึงได้รับการถกเถียงอย่างกว้างขวาง อำนาจของการเขียนจึงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายขนบการทำงานทางมานุษยวิทยา และวิธีตรวจสอบอำนาจแบบฟูโกต์จะถูกนำมาใช้อย่างเข้มข้น

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มิเชล ฟูโกต์, อำนาจ, ปรัชญา, มานุษยวิทยา, ชีวะการเมือง

ความหมายของ “ความรุนแรงทางเพศ” ในมุมมองทางมานุษยวิทยาเป็นเรื่องที่คลุมเครือ เพราะการศึกษาที่ผ่านมา นักมานุษยวิทยามิได้สนใจเก็บข้อมูลเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงที่เกิดจากกิจกรรมทางเพศ ความสนใจในประเด็นนี้จึงเริ่มต้นอย่างจริงจังจากกลุ่มนักมานุษยวิทยาแนวสตรีนิยมที่พยายามนำประสบการณ์ของผู้หญิงที่เคยถูกกระทำทางเพศหรือถูกข่มขืน รวมทั้งประสบการณ์ของผู้ที่ใช้ความรุนแรงทางเพศมาอธิบายให้เห็นความสัมพันธ์ทางสังคมที่ซับซ้อนและเต็มไปด้วยความขัดแย้ง

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ความรุนแรงทางเพศ, การข่มขืน, เพศภาวะ, สตรีนิยม, ผู้หญิง, อำนาจ

การศึกษาคอร์รัปชั่นในทางมานุษยวิทยาเพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นาน แต่สิ่งที่ทำให้ต่างไปจากการศึกษาของนักสังคมศาสตร์ทั่วไปคือ นักมานุษยวิทยาพยายามทำความเข้าใจวิธีปฏิบัติของมนุษย์ในฐานะที่เป็นผู้กระทำการคอร์รัปชั่น ซึ่งอาศัยการเข้าไปสังเกตแบบมีส่วนร่วมเพื่อให้เห็นประสบการณ์ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: คอร์รัปชั่น, เศรษฐกิจ, อำนาจ, ความเหลื่อมล้ำ, รัฐ, ธรรมาภิบาล

นักวิชาการสายพ้นมาร์กซิสต์มิได้สนใจกลไกต่อสู้เพื่อที่จะปลดปล่อยสังคมให้เป็นอิสระจากระบบทุนนิยม ในทางตรงกันข้าม นักวิชาการพยายามศึกษามิติที่ซับซ้อนของการเคลื่อนไหวทางการเมือง การมองแค่เพียงความสัมพันธ์ทางการผลิตซึ่งมาร์กซิสต์รุ่นเก่ามักจะตอกย้ำเสมออาจเป็นสิ่งที่ผิวเผินต่อการทำความเข้าใจการดำรงอยู่ของสังคมปัจจุบัน

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มาร์กซิสต์, อุดมการณ์, อำนาจ, ทุนนิยม, ชนชั้น, ความเหลื่อมล้ำ