แนวการศึกษาภววิทยาวัตถุเป็นปรัชญาว่าด้วยความจริง พยายามชี้ว่า “วัตถุ” มีส่วนกำหนดสภาพจิตใจของมนุษย์และทำให้มนุษย์ตระหนักถึงการมีตัวตน (Bryant, 2011) วัตถุดำรงอยู่อย่างเป็นอิสระและอยู่นอกขอบเขตการรับรู้ของมนุษย์ (human cognition)
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ภววิทยา,
วัตถุ,
การดำรงอยู่,
ความจริง
การศึกษาผีและสิ่งเหนือธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องตั้งคำถามว่าสิ่งเหล่านั้นมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร แต่ควรทำความเข้าใจว่าสิ่งเหล่านั้นเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับสิ่งรอบๆตัวมันอย่างไร โดยที่มันไม่จำเป็นต้องคงรูปและมีเสถียรภาพของการดำรงอยู่ แต่ควรมองดูมันในฐานะกระบวนการทางภววิทยาที่เปลี่ยนแปรไปตามสิ่งที่มันมีปฏิสัมพันธ์
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยา,
ผี,
วิญญาณ,
ภววิทยา,
เหตุการณ์เหนือธรรมชาติ
การศึกษาแบบปรากฎการณ์วิทยาแปลกพิสดาร (alien phenomenology) พยายามทำความเข้าใจว่าวัตถุมิได้ต่างกันเพราะชื่อเรียก แต่พวกมันต่างกันเนื่องจากสิ่งที่มันเป็น ดังนั้น ไม่ควรนำเอาชื่อเรียกมาจำกัดขอบเขตของการดำรงอยู่ของวัตถุ แม้แต่วัตถุที่มีชื่อเรียกเหมือนกัน ก็ยังพบว่ามันไม่มีความเหมือนกันเลย
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ภววิทยา,
วัตถุ,
ปรากฎการณ์วิทยา,
วิธีวิทยา
ความหมายของ Pluriversality คือการเห็นความหลากหลายของความคิดที่มีอยู่ในสังคมต่างๆ และต้องการท้าทายล้มล้างวิธีคิดที่พยายามชี้นำและครอบงำสังคม กล่าวคือ ต้องการโอบอุ้มความคิดที่แตกต่างให้ดำเนินไปพร้อมกันโดยไม่ยกย่องหรือเชิดชูความคิดของใครหรือแบบใดเพียงหนึ่งเดียว
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ความหลากหลาย,
การอยู่ร่วมกัน,
พหุจักรวาล,
ปฏิสัมพันธ์,
ภววิทยา,
จักรวาลวิทยา