คำศัพท์

A | B | C | D | E | F | G | H | I | J | K | L | M | N | O | P | Q | R | S | T | U | V | W | X | Y | Z | ทั้งหมด
แสดง 11-20 จากทั้งหมด 26 รายการ

โลกิยนิยม (Secularism) หมายถึงการให้คุณค่าชีวิตที่ดำรงอยู่ในกิจกรรมทางสังคมที่จับต้องและสัมผัสได้เชิงประจักษ์ บางครั้งตอบโต้กับความเชื่อทางศาสนาที่สอนให้เชื่อในอำนาจของพระเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความสงสัยและความหมดศรัทธาต่อพระเจ้าและคำสอนทางศาสนาคือเงื่อนไขหนึ่งที่ทำให้เกิดการโต้แย้งเกี่ยวกับคุณค่าของมนุษย์ นำไปสู่การตื่นตัวของระบบเหตุผลและการใช้สติปัญญาเพื่อหาทางออกใหม่ๆที่ต่างไปจากกฎทางศาสนา

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, โลกิยนิยม, เหตุผล, ความรู้วิทยาศาสตร์, สังคม

วิธีวิทยาแบบติดตามเริ่มต้นจากการตั้งคำถามถึงการดำรงอยู่ที่ข้ามพ้นไปจากการแบ่งคู่ตรงข้ามหลักของสังคมสมัยใหม่ นั่นคือ การแบ่งแยกระหว่างธรรมชาติและวัฒนธรรม ซึ่งทำให้เห็นว่ามนุษย์ไม่ได้ดำรงอยู่ในโลกทางวัฒนธรรม ส่วนสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์อยู่ในโลกธรรมชาติอย่างแยกขาดจากกัน แต่ทั้งมนุษย์และสิ่งอื่นเชื่อมต่อกันในลักษณะเครือข่ายที่สิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ พืช สัตว์ หรือแม้สิ่งของ สามารถเป็นผู้กระทำ (actor) ที่การกระทำของพวกเขา/พวกมันสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงและส่งผลต่อการดำรงอยู่ของสิ่งอื่น

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ชัชชล อัจนากิตติ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, วิธีวิทยา, การติดตามวัตถุที่ศึกษา, ผู้กระทำการ

นักวิชาการเชื่อว่าวิวัฒนาการทางสังคมของมนุษย์เกิดขึ้นพร้อมกับการที่มนุษย์รู้จักเลี้ยงสุนัขเพื่อใช้ประโยชน์ในการทำงาน โดยเฉพาะในสังคมเก็บของป่าล่าสัตว์ที่จำเป็นต้องใช้สุนัขช่วยต้อนฝูงสัตว์และเก็บซากสัตว์ที่ถูกล่า นำไปสู่การสร้างทฤษฎีวิวัฒนาการร่วม (Co-Evolution) (Coren, 2008)

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, สุนัข, สังคม, การเรียนรู้

การศึกษาเสียงในเชิงสังคมและวัฒนธรรม คือการทำความเข้าใจปฏิบัติการของเสียงที่เกิดขึ้นในกิจกรรมต่างๆที่มนุษย์กระทำขึ้นหรืออาศัยวัตถุสิ่งของและสิ่งมีชีวิตอื่นมาประกอบสร้างเสียง ประเด็นสำคัญในการทำความเข้าใจเสียงคือการเข้าถึงการดำรงอยู่ของสิ่งต่างๆ อาจใช้เสียงและการได้ยินเป็นช่องทางสื่อสาร นอกเหนือไปจากการใช้ตา การมองเห็น การสัมผัสทางร่างกาย การลิ้มรส การดมกลิ่น การใช้โสตประสาทของมนุษย์เพื่อการรับรู้ถึงสรรพสิ่งอาจช่วยขยายความเข้าใจเกี่ยวกับตัวตนและปฏิสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ (Gershon, 2019)

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, ชาติพันธุ์นิพนธ์, เสียง, วิธีวิทยา, ผัสสะ

การศึกษาผีและสิ่งเหนือธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องตั้งคำถามว่าสิ่งเหล่านั้นมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร แต่ควรทำความเข้าใจว่าสิ่งเหล่านั้นเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับสิ่งรอบๆตัวมันอย่างไร โดยที่มันไม่จำเป็นต้องคงรูปและมีเสถียรภาพของการดำรงอยู่ แต่ควรมองดูมันในฐานะกระบวนการทางภววิทยาที่เปลี่ยนแปรไปตามสิ่งที่มันมีปฏิสัมพันธ์

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, ผี, วิญญาณ, ภววิทยา, เหตุการณ์เหนือธรรมชาติ

สังคมที่มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความไว้วางใจต่อกันนั้นจะเป็นสังคมที่มีประสิทธิภาพด้านต่าง ๆ มากกว่าสังคมที่ไม่มีความไว้วางใจ ซึ่งความไว้วางใจจะเป็นตัวบรรเทาความขัดแย้งอันหลีกเลี่ยงไม่ได้ในชีวิตทางสังคม อีกทั้ง ความไว้วางใจจะก่อให้เกิดความร่วมมือและสร้างความผ่อนคลายในปฏิสัมพันธ์ของชีวิตทางสังคม

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: สัมพันธ์ วารี

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, ความไว้างใจ, การเอาใจใส่, การพึ่งพา

Coogan (2009) อธิบายว่าคุณลักษณะสำคัญของซุปเปอร์ฮีโร่ประกอบด้วย 3 ประการ คือ (1) ต้องมีภารกิจ (2) ต้องมีพลังวิเศษ และ (3) ต้องมีอัตลักษณ์ชัดเจน ทั้งสามคุณลักษณะนี้จะต้องวางอยู่บนหลักการที่ว่าการทำงานเพื่อประโยชน์สังคมและเสียสละ

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, ซุปเปอร์ฮีโร่, comic book, วีรบุรุษ

พืชในฐานะเป็นสิ่งมีชีวิตที่เจริญเติบโตได้ มันสามารถรับรู้สิ่งต่างๆ มีปฏิสัมพันธ์ สื่อสารกับสิ่งรอบข้าง เรียนรู้ จดจำ ประเมิน ตัดสินใจและแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมที่มันดำรงอยู่ ในสถานที่ที่พืชเติบโตและดำรงอยู่ พืชจะปรับตัวและตอบสนองกับสิ่งอื่นที่อยู่แวดล้อมตัวมัน ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, พฤกษานิพนธ์, พืช, นิเวศวิทยา

Johannes Fabian (2007) ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับ “ความทรงจำ” ว่าเป็นเรื่องของ “ปฏิบัติการทางสังคม” ที่ทำให้มนุษย์ได้พบกับพรมแดนของความหมาย พรมแดนนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์กำลังพูดถึงเรื่องราวที่ถูกจดจำและการระลึกถึงสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, ความทรงจำ, ภาษา, ความหมาย

Nietzsche (2006) เคยกล่าวว่าอนาคตเป็นคุณลักษณะที่ทำให้มนุษย์แยกออกจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นบนโลก กล่าวคือ เมื่อมนุษย์มองดูตัวเองในอดีต มนุษย์จะคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและคาดคะเนถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, อนาคต, เวลา, ความเป็นไปได้