คำศัพท์

A | B | C | D | E | F | G | H | I | J | K | L | M | N | O | P | Q | R | S | T | U | V | W | X | Y | Z | ทั้งหมด
แสดง 21-26 จากทั้งหมด 26 รายการ

การแยกมนุษย์ออกจากสัตว์โดยอาศัยสติปัญญาเป็นตัวกำหนด ส่งผลให้มนุษย์มีอคติต่อสัตว์ ฐานคิดนี้มาจากการแยก “ร่างกาย” กับ “จิตใจ” เป็นคู่ตรงข้าม โดยที่มนุษย์จะกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสามารถทางความคิด เป็นสัญลักษณ์ของปัญญา และถูกสถาปนาให้เป็นสายพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์ที่เรียกว่า Homo sapiens ขณะที่สัตว์จะเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีแต่ร่างกายที่ปราศจากปัญญา (Morris, 2005)

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, สัตว์, สิ่งมีชีวิต, สายพันธุ์

Iparraguirre (2015) อธิบายว่า “เวลา” (Time) ต่างจาก “การรับรู้ถึงเวลา” (Temporality) กล่าวคือ เวลาจะหมายถึงปรากฎการณ์ของการเปลี่ยนแปลง (phenomenon of becoming) ในขณะที่การรับรู้ถึงเวลาจะหมายถึงวิธีคิดที่มนุษย์ใช้อธิบายการมีอยู่ของเวลาที่เคลื่อนไป (apprehension of becoming)

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, เวลา, สังคม, วัฒนธรรม

ในช่วงทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา นักมานุษยวิทยาในสหรัฐอเมริกาจึงเริ่มระมักระวังในการเขียนงานทางชาติพันธุ์ โดยตรวจสอบบริบททางสังคมและความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ศึกษาและผู้ถูกศึกษา ประเด็นเรื่อง “อำนาจ” ที่ซ่อนเร้นในการเขียนจึงได้รับการถกเถียงอย่างกว้างขวาง อำนาจของการเขียนจึงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายขนบการทำงานทางมานุษยวิทยา และวิธีตรวจสอบอำนาจแบบฟูโกต์จะถูกนำมาใช้อย่างเข้มข้น

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มิเชล ฟูโกต์, อำนาจ, ปรัชญา, มานุษยวิทยา, ชีวะการเมือง

ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม หมายถึงการทำกิจกรรมของมนุษย์ในสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศซึ่งต่างมีผลต่อกัน มนุษย์จะคิดค้นเทคโนโลยีเพื่อใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ขณะที่ธรรมชาติจะกำหนดวิธีการที่มนุษย์จะปรับตัวอยู่กับสภาพแวดล้อม ประเด็นสำคัญคือความหมายที่มนุษย์ให้กับธรรมชาติดำรงอยู่ในโลกทัศน์ทางวัฒนธรรม

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, นิเวศวัฒนธรรม, ธรรมชาติ, ภูมิทัศน์, มนุษย์, ชีววัฒนธรรม

บริบทสังคมและการเมืองแบบคอมมิวนิสต์ในรัสเซียมีผลต่อการทำงานของนักมานุษยวิทยา กล่าวคือ นักมานุษยวิทยารัสเซียถูกสอนให้เขียนงานวิจัยด้วยระบบเหตุผลและเน้นข้อมูลที่ตรวจสอบได้เชิงประจักษ์ งานเขียนจึงไม่ปรากฎอารมณ์และความรู้สึกของคนศึกษาและผู้ถูกศึกษา

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, รัสเซีย, เชื้อชาติ, ชาติ, คอมมิวเนิสต์, สหภาพโซเวียต

บทความเรื่อง A Cyborg Manifesto ของดอนน่า ฮาราเวย์ ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1985 เปรียบเสมือนเป็น “นิเวศวิทยาของความรู้” (Sofoulis, 2015) ซึ่งเป็นทั้งการโต้แย้ง ท้าทาย ล้มล้าง และวิพากษ์ความรู้กระแสหลักที่ถูกสถาปนาขึ้นโดยกระบวนทัศน์แบบปฏิฐานนิยมและระบบเหตุผลวิทยาศาสตร์ซึ่งครอบงำและชี้นำความจริงและความรู้ที่เป็นมาตรฐานสากล

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ไซบอร์ก, ดอนน่า ฮาราเวย์, มานุษยวิทยา, พ้นมนุษย์, ตัวตน