คำว่า Ontology แปลเป็นภาษาไทยว่า “ภววิทยา” โดยประกอบด้วยคำสองคำคือ คำบาลี “ภว” หมายถึงสภาวะแห่งการดำรงอยู่ กับคำสันสกฤต “วิทยา” หมายถึงความรู้ ซึ่งราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่าเป็นปรัชญาสาขาหนึ่งของอภิปรัชญา (metaphysics) ที่ศึกษาเรื่องสภาวะแห่งความเป็นอยู่ (being) เป็นวิธีการตั้งคำถามเกี่ยวกับการมีอยู่ของตัวตน (entity) แบบต่างๆ เพื่อค้นหาและทำความเข้าใจว่าแต่ละสันตภาพมีความเหมือนและต่างกันอย่างไร ดำรงอยู่ร่วมกันในลักษณะใด
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยา,
ปรัชญา
ในช่วงทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา นักมานุษยวิทยาในสหรัฐอเมริกาจึงเริ่มระมักระวังในการเขียนงานทางชาติพันธุ์ โดยตรวจสอบบริบททางสังคมและความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ศึกษาและผู้ถูกศึกษา ประเด็นเรื่อง “อำนาจ” ที่ซ่อนเร้นในการเขียนจึงได้รับการถกเถียงอย่างกว้างขวาง อำนาจของการเขียนจึงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายขนบการทำงานทางมานุษยวิทยา และวิธีตรวจสอบอำนาจแบบฟูโกต์จะถูกนำมาใช้อย่างเข้มข้น
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มิเชล ฟูโกต์,
อำนาจ,
ปรัชญา,
มานุษยวิทยา,
ชีวะการเมือง