มานุษยวิทยาแนวมนุษยนิยม (Humanistic Anthropology) หมายถึง การศึกษาระบบคุณค่าและความหมายที่มนุษย์สร้างขึ้นในรูปแบบต่างๆ เช่น งานวรรณกรรม งานศิลปะ งานสร้างสรรค์ต่างๆ อย่างไรก็ตามแนวคิดเกี่ยวกับมนุษยนิยม (humanism) คือรากฐานของการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์ เพราะแนวคิดนี้วางประสบการณ์ของมนุษย์ไว้ตรงกลางและปฏิเสธอำนาจที่มองไม่เห็น หรืออำนาจเหนือธรรมชาติ humanism จึงเชื่อมั่นในการกระทำของมนุษย์เหนือสิ่งอื่นใด หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นความศรัทธาในตัวมนุษย์ การให้ความสำคัญกับมนุษย์นี้อาจนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาทางมานุษยวิทยา จนเกิดแนวคิดเรื่อง humanistic anthropology ขึ้น
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษหัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยาแนวมนุษยนิยม