คำศัพท์

A | B | C | D | E | F | G | H | I | J | K | L | M | N | O | P | Q | R | S | T | U | V | W | X | Y | Z | ทั้งหมด
แสดง 91-100 จากทั้งหมด 232 รายการ

ตำนาน หรือ Myth เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกคำว่า mythos หมายถึง เรื่องเล่า เรื่องแต่ง คำบอกเล่า  จากยุคโบราณ ตำนานถูกเข้าใจว่าเป็นเรื่องเล่าที่มีมานมนานก่อนที่จะเกิดประวัติศาสตร์ของมนุษย์ เป็นเรื่องการกระทำต่างๆของเทพเจ้า  นอกจากนั้น ตำนานยังหมายถึงความรู้เฉพาะ ผู้ที่ได้รับฟังตำนานอาจคิดว่ามันเป็นเรื่องโกหก เรื่องแต่ง หรือเป็นความจริงก็ได้  การศึกษาตำนานอย่างเป็นระบบเริ่มมาตั้งแต่สมัยเรเนอซอง ซึ่งอาศัยศาสตร์หลายสาขามาอธิบาย

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ตำนาน

การตั้งชื่อให้กับสมาชิกในครัวเรือน แต่ละสังคมจะมีวิธีคิดและการปฏิบัติที่ไม่เหมือนกัน ทุกๆสังคมล้วนมีการตั้งชื่อให้กับสมาชิกของตัวเอง  ชื่อของบุคคลจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในทุกวัฒนธรรม การตั้งชื่อมักจะมีกฎระเบียบเกิดขึ้นไม่มากก็น้อย  เช่น เด็กที่เกิดใหม่จะได้รับการตั้งชื่อ แต่วิธีการตั้งชื่อเด็กในแต่ละวัฒนธรรมจะแตกต่างกัน 

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: การตั้งชื่อบุคคล

ความลำเอียงให้แก่ญาติตัวเอง (Nepotism) หมายถึงการให้ความสำคัญแก่ญาติพี่น้องมากกว่าคนอื่น หรือเป็นการให้ประโยชน์แก่ญาติพี่น้องก่อนเป็นอันดับแรก   การศึกษาหลายชิ้น เช่น Chagnon and Bugos 1979, Hawkes 1983, Essock-Vitale and McGuire 1985 แสดงให้เห็นว่าการให้ความสำคัญกับญาตินั้นมักจะมาจากเรื่องสายโลหิต แต่การเป็นญาติตามสายเลือดนั้นเป็นการอธิบายจากทฤษฎีวิวัฒนาการซึ่งนำไปใช้กับสังคมของสัตว์และมนุษย์  

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ความลำเอียงให้แก่ญาติพี่น้อง

ความหมายของ Nomadism หมายถึงสภาวะของมนุษย์ที่ไม่มีที่อยู่อาศัยถาวร เร่ร่อนหาอาหารและเลี้ยงสัตว์ไปในที่ต่างๆ  ในทางมานุษยวิทยาคำว่า Nomadism หมายถึงการย้ายถิ่นตามฤดูการของกลุ่มมนุษย์ที่เลี้ยงสัตว์เพื่อการยังชีพและหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่มีสัตว์เลี้ยงเป็นแหล่งอาหาร   กลุ่มคนเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์มิได้มีนิยามที่ตายตัว กลุ่มคนเหล่านี้มีเส้นทางเดินเพื่อการย้ายถิ่นหรืออพยพที่แน่นอน พวกเขารู้ว่าจะตั้งที่พักหรือแหล่งอาศัย ณ บริเวณใด ซึ่งเมื่อถึงกำหนดก็ย้ายไปตามแหล่งนั้น

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: สังคมเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน

ตามทฤษฎีของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน อธิบายว่าสิ่งมีชีวิตมีสัญชาตญาณการแข่งขันเพื่อเอาตัวรอด  แนวคิดชีววิทยาจึงเป็นบ่อเกิดของทฤษฎีความก้าวร้าวที่แพร่หลายในสังคม สังคมจึงเชื่อว่ามนุษย์มีความก้าวร้าวในสายเลือด ถึงแม้ว่านักมานุษยวิทยาหลายคนจะเห็นด้วยกับความคิดนี้ แต่บางคนก็ไม่เห็นด้วย  จากการศึกษาหลายชิ้นที่ผ่านมาเริ่มมีข้อมูลที่บ่งชี้ว่าความรุนแรงนั้นเกิดขึ้นจากบริบททางวัฒนธรรม  ความก้าวร้าวของมนุษย์มีความแตกต่างกันในแต่ละวัฒนธรรม 

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: การไม่ใช้ความรุนแรงและความรุนแรง

มานุษยวิทยาโภชนาการ หมายถึงการศึกษาสภาพและลักษณะการกินของมนุษย์ ซึ่งสัมพันธ์กับเรื่องสังคม วัฒนธรรม และอาหาร  มานุษยวิทยาโภชนาการจะศึกษาเรื่องราวของอาหาร การจัดระเบียบอาหาร และนโยบายทางด้านอาหาร 

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยาโภชนาการ

คำว่า “บอกเล่า” (oral) มีความหมายในสองลักษณะคือ การไม่ใช้ตัวหนังสือ และการใช้ภาษาพูด การบอกเล่ายังหมายถึงการแสดงออกด้วยคำพูด เช่น การร้องเพลง การเล่านิทาน การใช้คำพังเพย หรือสุภาษิต ซึ่งเป็นการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์แตกต่างจากการแสดงออกแบบอื่นที่ต้องใช้ตัวหนังสือ 

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ประเพณีบอกเล่า

ชาติพันธุ์วรรณายุคโบราณ (paleoethnography) หมายถึงการเขียนเรื่องราวมนุษย์ในอดีต ซึ่งนักโบราณคดีต้องการศึกษาชีวิตหรือเล่าเรื่องราวของมนุษย์ที่ตายไปแล้ว นักโบราณคดีต้องมีสมมุติฐานเกี่ยวกับแบบแผนทางสังคมวัฒนธรรมของมนุษย์ และต้องทำความเข้าใจว่าแบบแผนเหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร และมีสาเหตุอะไรที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ชาติพันธุ์วรรณายุคโบราณ

คำว่า Patriarchy หมายถึงระบบสังคมซึ่งมีพ่อทำหน้าที่หลักในการดูแลควบคุมสั่งการ จัดระเบียบสิ่งต่างๆ     ในบางวัฒนธรรม ครัวเรือนอาจมีคนที่เป็นทาสอาศัยอยู่ด้วย  แนวคิดเกี่ยวกับ การปกครองโดยผู้เป็นพ่อมักจะใช้เพื่ออธิบายบทบาทของผู้ชายที่สังคมคาดหวังที่ต้องรับผิดชอบงานหรือภารกิจต่างๆของชุมชนทั้งหมด  ผู้ชายที่มีบทบาทเหล่านี้ต้องเป็นตัวแทนของชาวบ้าน 

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: สังคมที่ปกครองโดยผู้ชาย

คำว่า “ชาวนา”  อาจหมายถึงผู้ที่อยู่อาศัยในเขตชนบทหรือเขตทุรกันดารไกลความเจริญ คำว่าชาวนา หรือ peasant มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน คือ pagensis หมายถึงเขตแดนของชนบท  หรือเป็นดินแดนที่ป่าเถื่อน   คำนี้ถูกใช้ในภาษาอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ตอนปลาย  รูปแบบการยังชีพแบบชาวนาเป็นการทำมาหากินแบบดั้งเดิม 

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: สังคมชาวนา