การข้ามพรมแดนรัฐชาติ หรือTransnationalism หมายถึง ปรากฎการณ์ทางสังคมที่คนกลุ่มต่างติดต่อเชื่อมโยงผ่านความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ซึ่งมิได้จำกัดอยู่ภายในดินแดนของรัฐชาติใด แต่ติดต่อเชื่อมโยงข้ามอาณาเขตของรัฐชาติสมัยใหม่ อาศัยเทคโนโลยีสื่อสารเข้ามาช่วยในการติดต่อสัมพันธ์ ทำให้การสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
การข้ามพรมแดนรัฐชาติ
มานุษยวิทยาเมือง หมายถึง การศึกษาของนักมานุษยวิทยาที่สนใจชีวิตของคนกลุ่มต่างๆที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง ชีวิตของคนเมืองจะสัมพันธ์กับการทำมาหากิน การประกอบอาชีพ ซึ่งมีการแข่งขันต่อสู้เพื่อเอาตัวรอด มีการแตกต่างทางชนชั้นและฐานะ นักมานุษยวิทยาสนใจชีวิตในเมืองอย่างจริงจังในช่วงทศวรรษ 1960 เป็นต้นมา
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยาเมือง
มานุษยวิทยาทัศนา หรือ Visual Anthropology เกิดขึ้นมาจากความเชื่อที่ว่าวัฒนธรรมถูกแสดงออกผ่านสัญลักษณ์ที่มองเห็นได้ มีอยู่ในกิริยาท่าทาง การเฉลิมฉลอง พิธีกรรม และวัตถุที่ถูกสร้างในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ การรับรู้วัฒนธรรมเกิดขึ้นโดยการเขียนบอกเล่าเป็นเรื่องราวที่มีตัวละคร ซึ่งมีการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์ และการจัดฉาก วัฒนธรรมจึงเสมือนภาพที่มองเห็นซึ่งบุคคลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยาทัศนา
วัฒนธรรมการเขียน หมายถึง การวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับวิธีการเขียนงานทางชาติพันธุ์ของนักมานุษยวิทยาในช่วงทศวรรษที่ 1980 ซึ่งเป็นวิธีการเขียนที่ลักษณะเฉพาะและใช้ระบบอ้างอิงทางวิชาการ การวิจารณ์เกิดขึ้นโดยนักมานุษยวิทยา นักวิชาการสายวรรณกรรม และนักประวัติศาสตร์ ซึ่งมีความสนใจเกี่ยวกับรูปแบบการเขียนที่หลากหลายเพื่ออธิบายวัฒนธรรมนอกตะวันตก โดยเฉพาะในช่วงการล่าอาณานิคม
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
วัฒนธรรมการเขียน
กระบวนการสะท้อนตัวตนในทางมานุษยวิทยา หมายถึง การทบทวนตรวจสอบและตั้งคำถามเกี่ยวกับการทำงานและการสร้างคำอธิบายเกี่ยวกับสังคมมนุษย์ของนักมานุษยวิทยา การตรวจสอบนี้นำไปสู่การเกิดขึ้นของวิชามานุษยวิทยาในตะวันตกซึ่งปรากฎขึ้นในยุคที่ความรู้วิทยาศาสตร์กำลังมีอำนาจทางสังคม
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยาสะท้อนตัวตน
สังคมที่มีช่วงชั้น หมายถึง สังคมที่มีการจัดระเบียบสถานะของบุคคลให้มีลำดับชั้นสูงต่ำไม่เท่ากัน ซึ่งเงื่อนไขในการจัดระดับฐานะของแต่ละสังคมก็อาจมีแตกต่างกัน เมื่อบุคคลถูกจัดให้อยู่ในลำดับชั้นใดแล้ว บุคคลนั้นก็จะมีบทบาทหน้าที่และสิทธิบางอย่าง คนที่อยู่ต่างลำดับชั้นกันจะมีสิทธิที่ไม่เท่ากัน
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
สังคมที่มีช่วงชั้น
วัฒนธรรมพื้นบ้าน (Folk Culture) หมายถึงการแสดงออกของวิถีชีวิตชาวบ้านและคนท้องถิ่นซึ่งยึดถือในพิธีกรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีและอยู่ห่างไกลจากสังคมเมือง เช่น ชุมชนชาวนาที่ยั่งชีพแบบเรียบง่าย แต่เดิม แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมพื้นบ้านใช้อธิบายลักษณะ คุณค่า และโครงสร้างสังคมที่มีอยู่ในชุมชนชนบท
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
วัฒนธรรมพื้นบ้าน
ประวัติศาสตร์ชีวิตเป็นการศึกษาปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม โดยการสืบประวัติและประสบการณ์ของบุคคลในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง นักมานุษยวิทยาจะสนใจประวัติศาสตร์ชีวิตของกลุ่มคนในท้องถิ่น ชนพื้นเมือง กลุ่มชาติพันธุ์ หรือกลุ่มคนที่ไม่มีอำนาจ
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ประวัติชีวิต
มานุษยวิทยาที่ศึกษาเรื่องราวทางทะเล (maritime anthropology) หมายถึงการศึกษาวิถีชีวิตและชุมชนชายฝั่งทะเล อธิบายระบบการจับปลา การทำประมงขนาดเล็ก บทบาทของมนุษย์ที่กระทำกิจกรรมต่างๆในบริเวณท้องทะเล รวมถึงระบบนิเวศน์ทางทะเลที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรือนำทฤษฎีทางมานุษยวิทยาไปอธิบายสังคมมนุษย์ที่อยู่ในเขตทะเลและชายฝั่ง เป็นต้น
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยาที่ศึกษาเรื่องราวทางทะเล
วิทยาศาสตร์ชาติพันธุ์ (Ethnoscience) คือการศึกษาความคิดที่มนุษย์ในวัฒนธรรมต่างๆนำไปจัดระเบียบประสบการณ์ต่างๆ การศึกษานี้พัฒนาขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยอาศัยการวิเคราะห์การจัดระเบียบประสบการณ์ของชนพื้นเมือง เช่น เรื่องระบบเครือญาติ ประเภทสี ชนิดของพืช และโรคภัยไข้เจ็บ เป็นต้น
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
วิทยาศาสตร์ชาติพันธุ์