คำศัพท์

A | B | C | D | E | F | G | H | I | J | K | L | M | N | O | P | Q | R | S | T | U | V | W | X | Y | Z | ทั้งหมด
แสดง 161-170 จากทั้งหมด 232 รายการ

วัฒนธรรมศึกษา ได้รับการพัฒนาขึ้นจากความคิดของนักสังคมวิทยาชาวอังกฤษ คือริชาร์ด ฮ็อคการ์ด, อี พี ทอมป์สัน, สจ๊วต ฮอลล์ และเรย์มอนด์ วิลเลียมส์   ซึ่งอธิบายว่าวัฒนธรรมหมายถึงสินค้าเพื่อการบริโภคและตอบสนองการใช้เวลาว่าง เช่น การดูหนังฟังเพลง ทำงานศิลปะ เล่นดนตรี กีฬา สันทนาการ แต่งตัวตามแฟชั่น การรับประทานอาหารนอกบ้าน เป็นต้น 

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: วัฒนธรรมศึกษา

คำว่า taboo เป็นคำพื้นเมืองของชาวเกาะโพลินีเซีย  ซึ่งนักเดินทางในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 นำมาใช้   ความหมายของคำว่า taboo จึงเป็นคำที่ใช้ในภาษาของชาวบ้านและเป็นคำอธิบายในเชิงมานุษยวิทยา  เรื่องเล่าเกี่ยวกับการเดินทางของกัปตันคุ้กซึ่งพูดถึงการเดินทางไปยังเกาะโพลินีเซียนทำให้ชาวยุโรปสนใจดินแดนแถบนี้   ในเรื่องเล่าได้อธิบายเกี่ยวกับดินแดนที่เต็มไปด้วยทุ่งมันฝรั่ง และหมอผีคอยขับไล่ชนพื้นเมืองที่ย่างกรายเข้ามา  

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ข้อห้าม

คำว่า Ontology แปลเป็นภาษาไทยว่า “ภววิทยา” โดยประกอบด้วยคำสองคำคือ คำบาลี “ภว” หมายถึงสภาวะแห่งการดำรงอยู่ กับคำสันสกฤต “วิทยา” หมายถึงความรู้ ซึ่งราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่าเป็นปรัชญาสาขาหนึ่งของอภิปรัชญา (metaphysics) ที่ศึกษาเรื่องสภาวะแห่งความเป็นอยู่ (being) เป็นวิธีการตั้งคำถามเกี่ยวกับการมีอยู่ของตัวตน (entity) แบบต่างๆ เพื่อค้นหาและทำความเข้าใจว่าแต่ละสันตภาพมีความเหมือนและต่างกันอย่างไร ดำรงอยู่ร่วมกันในลักษณะใด

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, ปรัชญา

หลากสายพันธุ์นิพนธ์คือความพยายามที่จะนำสิ่งมีชีวิตอื่นมาอยู่หน้าฉาก และทำให้ชีวิตของพวกมันปรากฏเคียงข้างมนุษย์ เพราะการมีชีวิตหรือการสิ้นชีวิตของพวกมันก็มีความสำคัญและเกี่ยวพันกับการดำรงอยู่ของมนุษย์และสังคม

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ชัชชล อัจนากิตติ

หัวเรื่องอิสระ: ชาติพันธุ์นิพนธ์, หลากสายพันธุ์, มานุษยวิทยา

“แอนโทรพอซีน” (Anthropocene) เป็นศัพท์ทางวิชาการ ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงานด้านวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์ หมายถึง สมัยที่กิจกรรมของมนุษย์รบกวนสภาวะตามธรรมชาติของโลก โดยสอดคล้องกับปรากฏการณ์การเติบโตของประชากรแบบก้าวกระโดด ผลกระทบของกิจกรรมเหล่านี้ ได้ทิ้งร่องรอยไว้ในอากาศ น้ำ และตะกอนดินทับถม ซึ่งสามารถตรวจวัดได้ด้วยวิธีทางธรณีวิทยา และวิทยาศาสตร์แขนงอื่น

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.ตรงใจ หุตางกูร และนัทกฤษ ยอดราช

หัวเรื่องอิสระ: แอนโทรพอซีน, วิทยาศาสตร์, สังคมศาสตร์

ความเกลียดคนต่างชาติ (Xenophobia) หมายถึงความกลัวคนแปลกหน้าหรือคนที่มิใช่พวกเดียวกัน แต่ความรู้สึกนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องเชื้อชาติและวัฒนธรรมซึ่งนำไปสู่การแบ่งแยกกีดกันคนอื่นและพยายามยกย่องชาติของตนเองให้เหนือกว่าชาติอื่น

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: อคติ, การเหยียดเชื้อชาติ, การกีดกันทางสังคม

ทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ที่เริ่มต้นจากฐานคิดที่ถือว่าสิ่ง ต่าง ๆ ไม่ว่าจะดำรงอยู่ในโลกทางสังคมวัฒนธรรมหรือโลกธรรมชาติต่างก็เกาะเกี่ยวกันอยู่ภายใน “ข่ายใยความสัมพันธ์” (web of relations) และความสัมพันธ์ดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิด “ความจริง” (reality) หรือ “รูปร่าง” (form) ของสิ่งนั้น ๆ ก

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ชัชชล อัจนากิตติ

หัวเรื่องอิสระ: ทฤษฎ๊, มานุษยวิทยา, เครือข่ายผู้กระทำ

“อิสลาโมโฟเบีย” (Islamophobia) หรือ ความหวาดกลัวอิสลาม หรือบ้างก็เรียกว่า โรคหวาดกลัวอิสลาม อันเป็นปรากฏการณ์ของความรู้สึกหวาดกลัว รังเกียจเดียดฉันท์ และมีอคติต่อศาสนาอิสลาม (Islam) และชาวมุสลิม (Muslims) อย่างรุนแรง

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: สุนิติ จุฑามาศ

หัวเรื่องอิสระ: อิสลาม, อคติทางวัฒนธรรม, มุสลิม, ความเกลียดกลัว

การศึกษาของ McAlister (2017) พบว่าเรื่องราวของซอมบี้ในภาพยนตร์สะท้อนตัวละคร “อสูรกาย” ในยุคสมัยใหม่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับลัทธิอาณานิคมในประเทศเฮติ ความเชื่อเกี่ยวกับเวทมนต์คาถาของชาวเฮติขัดแย้งกับความรู้วิทยาศาสตร์ของชาวตะวันตก

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ซอมบี้, ลัทธิอาณานิคม, ลัทธิวูดู, ชาวเฮติ

จุดท้าทายเริ่มแรกของการก้าวข้ามความเป็นมนุษย์ คือการรื้อทำลายมายาคติความเป็นมนุษย์ที่อยู่เหนือสรรพสิ่ง Kopnina (2012a, 2012b) เสนอว่าการศึกษาทางมานุษยวิทยาจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์โดยมองไปที่สิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ที่มีส่วนทำให้โลกเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น กระบวนทัศน์การพ้นมนุษย์จึงเป็นการล้มล้างและท้าทายความคิดตะวันตกที่เอามนุษย์เป็นศูนย์กลาง (anthropocentrism)

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, การพ้นมนุษย์, สิ่งที่มิใช่มนุษย์