คำศัพท์

A | B | C | D | E | F | G | H | I | J | K | L | M | N | O | P | Q | R | S | T | U | V | W | X | Y | Z | ทั้งหมด
แสดง 171-180 จากทั้งหมด 232 รายการ

ในแวดวงมานุษยวิทยาซึ่งใช้วิธีการศึกษาแบบการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและเข้าไปคลุกคลีกับกลุ่มคนที่ถูกศึกษาเป็นเวลานานนำไปสู่ความสนใจเรื่องความรู้สึกที่นักมานุษยวิทยามีต่อสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในพื้นที่ศึกษา สิ่งนี้นำไปสู่ระเบียบวิธีวิจัยที่เรียกว่า วิธีวิทยาแห่งผัสสะ (sensory methodology) ซึ่งใช้ความรู้สึกเป็นเครื่องมือเพื่อแสวงหาความรู้

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, ผัสสะ, ความรู้สึก, ประสบการณ์

วัตถุภาวะ คือ แนวคิดที่พยายามทำความเข้าใจมิติทางสังคมและวัฒนธรรมที่พัวพันอยู่กับสรรพสิ่ง ซึ่งไม่จำเป็นต้องปรากฏเป็นรูปเป็นร่างที่จับต้องได้เสมอไป การทำความเข้าใจวัตถุภาวะยังมาพร้อมกับคำถามต่อสิ่งที่เป็น “วัตถุ” เช่น มนุษย์รับรู้ความเป็นวัตถุได้อย่างไร การดำรงอยู่ของวัตถุเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับความรู้และอำนาจอย่างไร วัตถุเป็นสื่อของความหมายต่างๆได้อย่างไร เป็นต้น

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, วัตถุ, วัตถุภาวะ, วัฒนธรรมทางวัตถุ

Borofsky and Lauri (2019) อธิบายว่ามานุษยวิทยาสาธารณะบ่งชี้ถึงความสามารถของความรู้มานุษยวิทยาและนักมานุษยวิทยาในการแก้ไขปัญหาสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ และให้ความกระจ่างในประเด็นทางสังคมที่กว้างขวางในโลกปัจจุบัน ตลอดจนสนับสนุนการสนทนากับสาธารณะเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, สาธารณะ, ปัญหาสังคม, การมีส่วนร่วม

คำว่า Cyborg Anthropology เป็นการนำคำว่า Cyborg ซึ่งหมายถึงเครื่องจักรมาไว้รวมกับคำว่า Anthropology ที่เป็นการศึกษามนุษย์ ทำให้เกิดความหมายใหม่ที่บ่งชี้ถึงแนวการศึกษาที่สนใจชีวิตมนุษย์ที่ดำรงอยู่ร่วมกับสิ่งที่มิใช่มนุษย์ ในยุคที่ความรู้มานุษยวิทยาก้าวข้าวมนุษย์ไป การศึกษาการดำรงอยู่ของสิ่งที่มิใช่มนุษย์คือโจทย์ที่ท้าทายกระบวนทัศน์และวิธีวิทยา

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, ไซบอร์ก, เครื่องจักร, สิ่งที่มิใช่มนุษย์

“ความจริง” ที่มนุษย์อธิบายผ่านความหมายต่างๆ จึงเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินแบบตรงไปตรงมา (Clifford, 1986) ในการอธิบายและสร้างความหมายให้กับสรรพสิ่งต่างๆด้วยคำและภาษา มนุษย์จึงเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใช้ภาษาเพื่อสร้างความจริง ในแง่นี้ทักษะและความสามารถเชิงภาษาจึงใกล้ชิดกับข้อถกเถียงของ Jacques Lacan ซึ่งสนใจ “ปฏิบัติการของคำพูด” (act of speech) ที่ทำให้มนุษย์สร้างตัวตนและการดำรงอยู่ ในขณะที่นักมานุษยวิทยาภาษามองว่า “การพูด” คือกิจกรรมเชิงสังคมและเกี่ยวข้องกับบริบท (contextualised activity) (Hoye, 2006) ในแง่นี้ จึงกล่าวได้ว่าความสนใจของมานุษยวิทยาและจิตวิทยาเข้ามาใกล้กันมากเมื่อทั้งสองศาสตร์สนใจทักษะและบทบาทของ “ภาษา” ที่มนุษย์ใช้เพื่อสร้างความหมาย

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, จิตวิทยา, ฌาคส์ ลากอง, ตัวตน, ภาษา, ความหมาย

ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง หมายถึง สังคมที่มีกลไกที่หลบซ่อนที่ทำให้คนบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงสิทธิและโอกาสที่จะทำให้ชีวิตมีคุณภาพได้เท่าเทียมกับคนกลุ่มอื่น กลไกเหล่านี้จะเกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งในกฎระเบียบทางกฎหมาย มาตรการ บรรทัดฐาน นโยบาย วิธีปฏิบัติที่ดำรงอยู่ในสถาบันทางการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ สาธารณสุข สวัสดิการ ศาสนา ขนบธรรมเนียมและแบบแผนทางวัฒนธรรม ซึ่งเอื้อให้คนบางกลุ่มได้เปรียบและได้ประโยชน์มากกว่าคนบางกลุ่ม

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ความรุนแรง, โครงสร้าง, สังคม, ความเหลื่อมล้ำ

เอียน วิลคินสัน (Iian Wilkinson) และอาร์เธอร์ ไคลน์แมน (Arthur Kleinman) เสนอว่าการหันมาให้ความสนใจกับปฏิบัติการของการใส่ใจดูแลเป็นส่วนหนึ่งของการตอบสนองและแก้ไขความทุกข์ทนทางสังคม และการพัฒนาความรู้ในประเด็นนี้ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน โดยเฉพาะการนำความรู้เรื่องนี้ไปประยุกต์ใช้ในโลกแห่งความเป็นจริงอย่างกระตือรือร้น

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ชัชชล อัจนากิตติ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, การใส่ใจ, การดูแล, ความห่วงใย

คำว่า Otakuology หมายถึงการศึกษาคนที่คลั่งไคล้และชื่นชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมากล้น เสมือนเป็นสาวกที่เกาะติดและเฝ้าติดตามสิ่งนั้นอย่างไม่ห่างหาย บางครั้งอาจมีอาการหมกหมุ่น ใจจดใจจ่อต่อสิ่งนั้นตลอดเวลา โดยเฉพาะกลุ่มคนที่นิยมชมชอบการ์ตูนแอนิเมะมังงะของญี่ปุ่น ในวัฒนธรรมญี่ปุ่นคำว่า “โอตาคุ” (Otaku) ถูกใช้อย่างอย่างแพร่หลายในแวดวงการศึกษาวัฒนธรรมป๊อปเพื่ออธิบายปรากฎการณ์ที่บุคคลหรือผู้บริโภคยอมเสียเงิน เสียเวลาเพื่อติดตามสินค้าที่ตนเองคลั่งไคล้

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: โอตาคุ, ญี่ปุ่น, แอนิเมะมังงะ, ความคลั่งไคล้

ปฏิญญาไฟร์บูร์กว่าด้วยสิทธิทางวัฒนธรรม (Fribourg Declaration on Cultural Rights) ที่สนับสนุนโดย UNESCO (ประกาศในปี 2007) ได้กำหนดประเด็นเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมภายใต้ปฏิญญาสากลด้านสิทธิมนุษยชน โดยให้ความหมายของวัฒนธรรมว่าครอบคลุมทั้งค่านิยม ความเชื่อ ความศรัทธา ภาษา ความรู้ ศิลปะ ประเพณี ความเป็นสถาบันและวิถีชีวิตที่บุคคลหรือกลุ่มคนได้แสดงออกถึงการดำรงอยู่และการพัฒนาของพวกเขา

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: สัมพันธ์ วารี

หัวเรื่องอิสระ: วัฒนธรรม, สิทธิ, ชาติพันธุ์, ชุมชนท้องถิ่น

Hauntology เป็นแนวคิดปรัชญาของประวัติศาสตร์ที่เสนอโดย Jacques Derrida ในหนังสือเรื่อง Specters of Marx ซึ่งอธิบายว่าแนวคิดของมาร์กซ์เกี่ยวกับลัทธิและอุดมการณ์คอมมิวนิสต์กำลังหลอกหลอนสังคมยุโรป Derrida วิจารณ์ว่าหลังการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินและการเผชิญหน้ากับความทุกข์ยากของมนุษย์ แนวคิดของมาร์กซ์กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ปรัชญาประวัติศาสตร์, ภาพในอดีตที่หลอกหลอน, ความทรงจำ, ความพ้อฝัน, ความไร้ระเบียบ