แนวการศึกษาภววิทยาวัตถุเป็นปรัชญาว่าด้วยความจริง พยายามชี้ว่า “วัตถุ” มีส่วนกำหนดสภาพจิตใจของมนุษย์และทำให้มนุษย์ตระหนักถึงการมีตัวตน (Bryant, 2011) วัตถุดำรงอยู่อย่างเป็นอิสระและอยู่นอกขอบเขตการรับรู้ของมนุษย์ (human cognition)
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ภววิทยา,
วัตถุ,
การดำรงอยู่,
ความจริง
สมรรถนะทางวัฒนธรรมในทางการแพทย์ (the clinical cultural competence) หมายถึงการมีชุดของพฤติกรรม (behaviors) ทัศนคติ (attitudes) และแนวทาง/นโยบาย (policies) อันมีความสอดคล้องกันซึ่งรวมกันอยู่ภายในระบบ หน่วยงาน หรือในหมู่ผู้เชี่ยวชาญ โดยการมีสมรรถนะทางวัฒนธรรมจะช่วยให้การทำหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วยในสถานการณ์ข้ามวัฒนธรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้เขียน:
สัมพันธ์ วารี
หัวเรื่องอิสระ:
สมรรถนะทางวัฒนธรรม,
มานุษยวิทยาการแพทย์,
แพทย์พื้นบ้าน
แนวคิดสภาวะอันตราย (Precarity หรือ Precariousness) เกิดขึ้นในวงวิชาการตะวันตกช่วงทศวรรษ 1980 ถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 เพื่อตอบโต้กับปัญหาการแบ่งแยกกีดกันและสภาพสังคมที่เต็มไปด้วยคนจนที่ขาดรายได้และไร้ที่พึ่ง (Han, 2018; Kasmir, 2018) ความหมายของคำว่า precarity หมายถึงสภาพที่ประชากรของโลกกำลังตกงาน ส่งผลให้ชีวิตขาดความมั่นคง ล่อแหลมต่อความล้มเหลวในทางเศรษฐกิจและสังคม
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
สภาวะอันตราย,
การไร้ที่พึ่ง,
ทุนนิยม,
คนด้อยโอกาส
โลกิยนิยม (Secularism) หมายถึงการให้คุณค่าชีวิตที่ดำรงอยู่ในกิจกรรมทางสังคมที่จับต้องและสัมผัสได้เชิงประจักษ์ บางครั้งตอบโต้กับความเชื่อทางศาสนาที่สอนให้เชื่อในอำนาจของพระเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความสงสัยและความหมดศรัทธาต่อพระเจ้าและคำสอนทางศาสนาคือเงื่อนไขหนึ่งที่ทำให้เกิดการโต้แย้งเกี่ยวกับคุณค่าของมนุษย์ นำไปสู่การตื่นตัวของระบบเหตุผลและการใช้สติปัญญาเพื่อหาทางออกใหม่ๆที่ต่างไปจากกฎทางศาสนา
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยา,
โลกิยนิยม,
เหตุผล,
ความรู้วิทยาศาสตร์,
สังคม
วิธีวิทยาแบบติดตามเริ่มต้นจากการตั้งคำถามถึงการดำรงอยู่ที่ข้ามพ้นไปจากการแบ่งคู่ตรงข้ามหลักของสังคมสมัยใหม่ นั่นคือ การแบ่งแยกระหว่างธรรมชาติและวัฒนธรรม ซึ่งทำให้เห็นว่ามนุษย์ไม่ได้ดำรงอยู่ในโลกทางวัฒนธรรม ส่วนสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์อยู่ในโลกธรรมชาติอย่างแยกขาดจากกัน แต่ทั้งมนุษย์และสิ่งอื่นเชื่อมต่อกันในลักษณะเครือข่ายที่สิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ พืช สัตว์ หรือแม้สิ่งของ สามารถเป็นผู้กระทำ (actor) ที่การกระทำของพวกเขา/พวกมันสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงและส่งผลต่อการดำรงอยู่ของสิ่งอื่น
ผู้เขียน:
ชัชชล อัจนากิตติ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยา,
วิธีวิทยา,
การติดตามวัตถุที่ศึกษา,
ผู้กระทำการ
โฮโลซีน (Holocene) คือชื่อสมัย (epoch) ทางธรณีวิทยา เริ่มตั้งแต่ 11,700 ปีมาแล้วจนถึงปัจจุบัน โดยโฮโลซีนเป็นสมัยต่อเนื่องมาจากสมัยไพลสโตซีน (Pleistocene) ทั้งสองสมัยอยู่ในยุคควอเทอร์นารี (Quaternary Period; 2.58 ล้านปีมาแล้ว - ปัจจุบัน) ของมหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic Era; 66 ล้านปีมาแล้ว - ปัจจุบัน) (Walker et al. 2018; Cohen et al. 2020)
ผู้เขียน:
ตรงใจ หุตางกูร และนัทกฤษ ยอดราช
หัวเรื่องอิสระ:
ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ถือเป็นความขัดแย้งทางสังคม (social conflict) รูปแบบหนึ่งที่แสดงให้เห็นการมีอคติ (prejudices) และการขาดการสื่อสารระหว่างกันอย่างเหมาะสมเพียงพอ เป็นผลให้เกิดการขัดกันหรือเข้ากันไม่ได้ทางวัฒนธรรมระหว่างกลุ่ม (cultural incompatibility) ซึ่งอาจจะลุกลามไปสู่สภาวะของความหวาดกลัว/เกลียดชัง (homophobia) ทั้งที่ซ่อนเร้นและที่เปิดเผยสู่การแสดงออกต่าง ๆ
ผู้เขียน:
สัมพันธ์ วารี
หัวเรื่องอิสระ:
นักวิชาการเชื่อว่าวิวัฒนาการทางสังคมของมนุษย์เกิดขึ้นพร้อมกับการที่มนุษย์รู้จักเลี้ยงสุนัขเพื่อใช้ประโยชน์ในการทำงาน โดยเฉพาะในสังคมเก็บของป่าล่าสัตว์ที่จำเป็นต้องใช้สุนัขช่วยต้อนฝูงสัตว์และเก็บซากสัตว์ที่ถูกล่า นำไปสู่การสร้างทฤษฎีวิวัฒนาการร่วม (Co-Evolution) (Coren, 2008)
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยา,
สุนัข,
สังคม,
การเรียนรู้
นักมานุษยวิทยาอาจพบว่าในสนามที่ตนศึกษาวิจัยอยู่นั้นอาจเป็นพื้นที่ที่มีประเด็นของความขัดแย้งหรือความรุนแรงเกิดขึ้นอยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้ง/รุนแรงภายในกลุ่มหรือระหว่างกลุ่ม ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการทำงานใน ‘สนามของความขัดแย้ง/รุนแรง หรือ สนามที่อันตราย’ อันเป็นสนามที่นักมานุษยวิทยาต้องเผชิญกับความยากลำบากและข้อท้าทายต่าง ๆ ทั้งในแง่ของระเบียบวิธีวิจัยหรือทฤษฎี จริยธรรมการวิจัยหรือเชิงศีลธรรม และในแง่ของความรับผิดชอบหรือบทบาทของนักมานุษยวิทยาในสนามของความขัดแย้ง/รุนแรง (ชยันต์, 2001; Barcott et al., 2008)
ผู้เขียน:
สัมพันธ์ วารี
หัวเรื่องอิสระ:
ชาติพันธุ์นิพนธ์,
อันตราย,
ความรุนแรง,
ความขัดแย้ง
การศึกษาเสียงในเชิงสังคมและวัฒนธรรม คือการทำความเข้าใจปฏิบัติการของเสียงที่เกิดขึ้นในกิจกรรมต่างๆที่มนุษย์กระทำขึ้นหรืออาศัยวัตถุสิ่งของและสิ่งมีชีวิตอื่นมาประกอบสร้างเสียง ประเด็นสำคัญในการทำความเข้าใจเสียงคือการเข้าถึงการดำรงอยู่ของสิ่งต่างๆ อาจใช้เสียงและการได้ยินเป็นช่องทางสื่อสาร นอกเหนือไปจากการใช้ตา การมองเห็น การสัมผัสทางร่างกาย การลิ้มรส การดมกลิ่น การใช้โสตประสาทของมนุษย์เพื่อการรับรู้ถึงสรรพสิ่งอาจช่วยขยายความเข้าใจเกี่ยวกับตัวตนและปฏิสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ (Gershon, 2019)
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยา,
ชาติพันธุ์นิพนธ์,
เสียง,
วิธีวิทยา,
ผัสสะ