การศึกษาดนตรีในทางมานุษยวิทยา เป็นการศึกษาวัฒนธรรมดนตรีที่อยู่นอกสังคมตะวันตก เพื่อสำรวจและทำความเข้าใจประสบการณ์ของการใช้อุปกรณ์สร้างเสียงชนิดต่างๆที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน นักมานุษยวิทยาก็หันมาศึกษาวัฒนธรรมดนตรีในสังคมตะวันตกด้วย เพราะเชื่อว่าในแต่ละวัฒนธรรม มนุษย์จะมีกิจกรรมทางดนตรีในแบบของตัวเอง
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยาดนตรี
วิทยาศาสตร์ในมุมมองทางมานุษยวิทยา คือชุดของความรู้อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมตะวันตกในยุคสมัยใหม่ และมีอิทธิพลต่อการอธิบายความจริงต่างๆของสังคมและชีวิตมนุษย์ นักมานุษยวิทยาที่วิพากษ์ความรู้วิทยาศาสตร์ ตั้งคำถามเกี่ยวกับญาณวิทยาและกระบวนทัศน์ที่นักวิทยาศาสตร์ใช้สร้างทฤษฎีเกี่ยวกับมนุษย์และสังคม ซึ่งครอบงำแวดวงวิชาการ แม้แต่มานุษยวิทยาในระยะแรกๆ ก็นำเอากระบวนทัศน์แบบวิทยาศาสตร์มาใช้ศึกษาวัฒนธรรมของมนุษย์ด้วย
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยาว่าด้วยวิทยาศาสตร์
การท่องเที่ยวในมิติมานุษยวิทยา สนใจรูปแบบและผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีต่อมนุษย์และชุมชนท้องถิ่น ในแง่ของรูปแบบ จะเป็นการศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยว การจัดการท่องเที่ยว และกิจกรรมต่างๆที่สัมพันธ์กับการท่องเที่ยว ในแง่ของผลกระทบ จะเป็นการศึกษาสิ่งที่เปลี่ยนแปลงในชุมชนท้องถิ่นในมิติต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ การทำมาหากิน วัฒนธรรม วิถีชีวิต และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยาการท่องเที่ยว
Anthrozoology คือวิชาที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ หรือเป็นการศึกษาชีวิตทางสังคมของสัตว์ในวัฒนธรรมของมนุษย์ การศึกษาดังกล่าวนี้เพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นานและเป็นศาสตร์ที่อาสัยความรู้จากหลายสาขาวิชา ทั้งมานุษยวิทยา สังคมวิทยา สัตววิทยา ชาติพันธุ์วิทยา จิตวิทยา สัตวแพทยศาสตร์ ชีววิทยา ประวัติศาสตร์ และปรัชญา เป็นต้น
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์
มานุษยวิทยาประยุกต์ หมายถึง การนำเอาแนวคิดทฤษฎีและระเบียบวิธีวิจัยทางมานุษยวิทยาไปประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์และการแก้ปัญหาทางสังคม นอกจากนั้น นักมานุษยวิทยาที่ทำงานดังกล่าวยังต้องร่วมมือกับนักวิชาการสาขาอื่นๆในการแสวงหาแนวคิดและแนวทางแก้ปัญหาในประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งอาจช่วยสร้างแนวนโยบายให้กับองค์กรของรัฐและเอกชนในการพัฒนาสังคมและช่วยเหลือมนุษย์
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยาประยุกต์
Avunculate หรือ Avunculism คือลักษณะของสังคมที่ผู้ชายที่เป็นญาติข้างแม่จะมีบทบาทหน้าที่พิเศษภายใต้ความสัมพันธ์กับหลานที่เป็นลูกของพี่สาวหรือน้องสาว โดยทั่วไป พี่ชายคนโตของแม่มักจะมีความสำคัญและจะทำหน้าที่เป็นหัวหน้าครัวเรือน ส่วนสามีของแม่ที่มาจากคนต่างตระกูลจะมีบทบาทน้อยกว่า
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ความสัมพันธ์ระหว่างลุงกับหลาน
ในการศึกษาทางมานุษยวิทยา สังคมที่มีขนาดเล็กที่สุดคือสังคมแบบกลุ่มญาติ (Band) ซึ่งหมายถึงกลุ่มสังคมขนาดเล็กที่มีประชากรประมาณ 20-100 คน สมาชิกของกลุ่มจะเป็นญาติพี่น้องกัน (small kin group) หรือมีลักษณะคล้ายกลุ่มครัวเรือนที่ญาติพี่น้องรวมตัวกันอยู่อาศัย ไม่มีการตั้งถิ่นฐานถาวร แต่จะเดินทางเร่ร่อน หาเลี้ยงชีพด้วยตัวเองโดยการล่าสัตว์ เก็บของป่า มีการสะสมวัตถุบ้างเล็กน้อย มีการแลกเปลี่ยนสิ่งของกับคนกลุ่มอื่นๆ มีผู้นำแบบไม่เป็นทางการซึ่งมักจะเป็นผู้ที่แข็งแรงกล้าหาญ มีความสามารถในการต่อสู้ ไม่มีสถาบันสังคมที่ตายตัว สมาชิกของกลุ่มจะช่วยกันทำงาน ไม่มีใครที่มีความชำนาญเฉพาะเรื่อง ไม่มีการแบ่งชนชั้นหรือฐานะสูงต่ำ แต่ละคนจะมีฐานะเท่าๆกัน
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
สังคมแบบกลุ่มญาติ
มานุษยวิทยาชีววัฒนธรรม เป็นการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ที่ทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับลักษณะทางชีววิทยาของมนุษย์ ซึ่งนักมานุษยวิทยากายภาพมักจะศึกษาในมิติดังกล่าว โดยเชื่อว่าเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่ต่างกันส่งผลต่อการสร้างวัฒนธรรมที่ต่างกัน
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยาชีววัฒนธรรม
การศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมและการปรับสภาพแวดล้อมของมนุษย์ ในทางมานุษยวิทยามีเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจระบบความคิด ความเชื่อ ความหมาย ที่มนุษย์มีต่อสิ่งปลูกสร้างในสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น การสร้างที่อยู่อาศัยที่มีการแยกบิเวณส่วนของหญิงชาย พื้นที่ส่วนส่วนตัวกับสาธารณะ พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กับพื้นที่กิจวัตรประจำวัน เป็นต้น
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
การปรับสภาพแวดล้อมโดยมนุษย์
การศึกษาทางมานุษยวิทยา Cannibalism หมายถึง พฤติกรรมการกินเนื้อหรืออวัยวะบางอย่างมนุษย์ของคนบางกลุ่ม ซึ่งเชื่อว่าพฤติกรรมนี้พบได้ในสังคมของชนเผ่าในหมู่เกาะเลสเซอร์ แอททิลเลส ในเขตมหาสมุทรแอตแลนติก และเชื่อว่ายังพบได้ในชนเผ่าในหมู่เกาะแปซิฟิก ลุ่มน้ำอะเมซอน และในพื้นที่ป่าเขตร้อนของทวีปแอฟริกา
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
การกินเนื้อมนุษย์