ความหมายของ “วัฒนธรรม” ในทางมานุษยวิทยา คือความสามารถของมนุษย์ในการจัดระเบียบและให้ความหมายต่อประสบการณ์ในเรื่องต่างๆ และสื่อสารประสบการณ์เหล่านั้นออกไปในเชิงสัญลักษณ์เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ รวมถึงการแสดงออกทางสังคม ความคิด ความเชื่อ โลกทัศน์ สุนทรียะของมนุษย์ที่ปรากฎอยู่ในวัตถุสิ่งของ พิธีกรรม ประเพณี กฎระเบียบ ธรรมเนียมและการปฏิบัติต่างๆ
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
วัฒนธรรม
คำว่า “วิวัฒนาการ” หมายถึงการเปลี่ยนรูปแบบ เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างซึ่งยังคงมีบางส่วนที่เหมือนเดิม แนวคิดวิวัฒนาการจะเกี่ยวข้องกับชีววิทยา แต่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์สาขาอื่นๆที่ต้องการศึกษาประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ทฤษฎีมาร์กซิสต์ที่เกี่ยวกับวัตถุนิยมแห่งความจริง และ ยุคแสวงหาความรู้แจ้งที่ต้องการสร้างประวัติศาสตร์สากลล้วนอาศัยทฤษฎีวิวัฒนาการมาอธิบาย อาจกล่าวได้ว่าการศึกษาทางมานุษยวิทยาที่มีทฤษฎีครั้งแรกมาจากแนวคิดวิวัฒนาการในคริสต์ศตวรรษที่ 19
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
วิวัฒนาการทางวัฒนธรรม
วัฒนธรรมศึกษา ได้รับการพัฒนาขึ้นจากความคิดของนักสังคมวิทยาชาวอังกฤษ คือริชาร์ด ฮ็อคการ์ด, อี พี ทอมป์สัน, สจ๊วต ฮอลล์ และเรย์มอนด์ วิลเลียมส์ ซึ่งอธิบายว่าวัฒนธรรมหมายถึงสินค้าเพื่อการบริโภคและตอบสนองการใช้เวลาว่าง เช่น การดูหนังฟังเพลง ทำงานศิลปะ เล่นดนตรี กีฬา สันทนาการ แต่งตัวตามแฟชั่น การรับประทานอาหารนอกบ้าน เป็นต้น
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
วัฒนธรรมศึกษา
คำว่า Cyborg Anthropology เป็นการนำคำว่า Cyborg ซึ่งหมายถึงเครื่องจักรมาไว้รวมกับคำว่า Anthropology ที่เป็นการศึกษามนุษย์ ทำให้เกิดความหมายใหม่ที่บ่งชี้ถึงแนวการศึกษาที่สนใจชีวิตมนุษย์ที่ดำรงอยู่ร่วมกับสิ่งที่มิใช่มนุษย์ ในยุคที่ความรู้มานุษยวิทยาก้าวข้าวมนุษย์ไป การศึกษาการดำรงอยู่ของสิ่งที่มิใช่มนุษย์คือโจทย์ที่ท้าทายกระบวนทัศน์และวิธีวิทยา
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยา,
ไซบอร์ก,
เครื่องจักร,
สิ่งที่มิใช่มนุษย์
ปฏิญญาไฟร์บูร์กว่าด้วยสิทธิทางวัฒนธรรม (Fribourg Declaration on Cultural Rights) ที่สนับสนุนโดย UNESCO (ประกาศในปี 2007) ได้กำหนดประเด็นเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมภายใต้ปฏิญญาสากลด้านสิทธิมนุษยชน โดยให้ความหมายของวัฒนธรรมว่าครอบคลุมทั้งค่านิยม ความเชื่อ ความศรัทธา ภาษา ความรู้ ศิลปะ ประเพณี ความเป็นสถาบันและวิถีชีวิตที่บุคคลหรือกลุ่มคนได้แสดงออกถึงการดำรงอยู่และการพัฒนาของพวกเขา
ผู้เขียน:
สัมพันธ์ วารี
หัวเรื่องอิสระ:
วัฒนธรรม,
สิทธิ,
ชาติพันธุ์,
ชุมชนท้องถิ่น
สมรรถนะทางวัฒนธรรมในทางการแพทย์ (the clinical cultural competence) หมายถึงการมีชุดของพฤติกรรม (behaviors) ทัศนคติ (attitudes) และแนวทาง/นโยบาย (policies) อันมีความสอดคล้องกันซึ่งรวมกันอยู่ภายในระบบ หน่วยงาน หรือในหมู่ผู้เชี่ยวชาญ โดยการมีสมรรถนะทางวัฒนธรรมจะช่วยให้การทำหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วยในสถานการณ์ข้ามวัฒนธรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้เขียน:
สัมพันธ์ วารี
หัวเรื่องอิสระ:
สมรรถนะทางวัฒนธรรม,
มานุษยวิทยาการแพทย์,
แพทย์พื้นบ้าน
นักมานุษยวิทยา ตั้งข้อสังเกตว่าประชาสังคมคือพื้นที่ชีวิต (associational life) ที่คนทุกคนเข้ามาร่วมรับรู้ถึงชะตากรรมและร่วมแรงร่วมใจเพื่อทำประโยชน์ต่อกัน (Schwartz and Pharr, 2003) ประชาสังคมในมิติของการอยู่ร่วมกันของคนทุกกลุ่ม ให้ความสำคัญกับพื้นที่สาธารณะที่อยู่นอกการควบคุมและกฎเกณฑ์ของรัฐและองค์กรทางเศรษฐกิจ พื้นที่สาธารณะนี้สร้างประสบการณ์ร่วมที่ประชาชนจะเข้ามาทำงานร่วมกัน
ผู้เขียน:
ดร.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และ ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ประชาสังคม,
ประชาธิปไตย,
พื้นที่สาธารณะ,
การเมือง,
การมีส่วนร่วม
คุณลักษณะของการเป็นพลเมืองโลกวางอยู่บนความรู้สึกเห็นใจ เข้าใจ อดทนอดกลั้นและเคารพความต่างทางวัฒนธรรม เป้าหมายของการเป็นพลเมืองโลกจึงเกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงและเข้าถึงวัฒนธรรมของคนอื่นซึ่งอาศัยการสนทนาอย่างเป็นมิตร
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
การเป็นพลเมืองโลก,
เมือง,
การยอมรับความต่างทางวัฒนธรรม
การศึกษาคอร์รัปชั่นในทางมานุษยวิทยาเพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นาน แต่สิ่งที่ทำให้ต่างไปจากการศึกษาของนักสังคมศาสตร์ทั่วไปคือ นักมานุษยวิทยาพยายามทำความเข้าใจวิธีปฏิบัติของมนุษย์ในฐานะที่เป็นผู้กระทำการคอร์รัปชั่น ซึ่งอาศัยการเข้าไปสังเกตแบบมีส่วนร่วมเพื่อให้เห็นประสบการณ์ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
คอร์รัปชั่น,
เศรษฐกิจ,
อำนาจ,
ความเหลื่อมล้ำ,
รัฐ,
ธรรมาภิบาล