คำศัพท์

A | B | C | D | E | F | G | H | I | J | K | L | M | N | O | P | Q | R | S | T | U | V | W | X | Y | Z | ทั้งหมด
แสดง 11-16 จากทั้งหมด 16 รายการ

มานุษยวิทยาพิพิธภัณฑ์ หมายถึง การทำงานทางมานุษยวิทยาที่เกิดขึ้นภายในพิพิธภัณฑ์ หรือหมายถึงการศึกษาพิพิธภัณฑ์ในมิติมานุษยวิทยาก็ได้  ความหมายแต่ละด้านอาจไม่เหมือนกัน เพราะมีประวัติความเป็นมาที่ต่างกัน  การศึกษามานุษยวิทยาสายวัฒนธรรม ได้รวมเอาการศึกษาพิพิธภัณฑ์เข้าไว้ด้วยซึ่งในเวลาต่อมาการศึกษาพิพิธภัณฑ์ในมิติมานุษยวิทยากลายเป็นสาขาหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ศึกษา หรือพิพิธภัณฑ์วิทยา

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยาพิพิธภัณฑ์

ตำนาน หรือ Myth เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกคำว่า mythos หมายถึง เรื่องเล่า เรื่องแต่ง คำบอกเล่า  จากยุคโบราณ ตำนานถูกเข้าใจว่าเป็นเรื่องเล่าที่มีมานมนานก่อนที่จะเกิดประวัติศาสตร์ของมนุษย์ เป็นเรื่องการกระทำต่างๆของเทพเจ้า  นอกจากนั้น ตำนานยังหมายถึงความรู้เฉพาะ ผู้ที่ได้รับฟังตำนานอาจคิดว่ามันเป็นเรื่องโกหก เรื่องแต่ง หรือเป็นความจริงก็ได้  การศึกษาตำนานอย่างเป็นระบบเริ่มมาตั้งแต่สมัยเรเนอซอง ซึ่งอาศัยศาสตร์หลายสาขามาอธิบาย

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ตำนาน

มานุษยวิทยาที่ศึกษาเรื่องราวทางทะเล (maritime anthropology) หมายถึงการศึกษาวิถีชีวิตและชุมชนชายฝั่งทะเล อธิบายระบบการจับปลา การทำประมงขนาดเล็ก   บทบาทของมนุษย์ที่กระทำกิจกรรมต่างๆในบริเวณท้องทะเล รวมถึงระบบนิเวศน์ทางทะเลที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์   หรือนำทฤษฎีทางมานุษยวิทยาไปอธิบายสังคมมนุษย์ที่อยู่ในเขตทะเลและชายฝั่ง เป็นต้น 

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยาที่ศึกษาเรื่องราวทางทะเล

หลากสายพันธุ์นิพนธ์คือความพยายามที่จะนำสิ่งมีชีวิตอื่นมาอยู่หน้าฉาก และทำให้ชีวิตของพวกมันปรากฏเคียงข้างมนุษย์ เพราะการมีชีวิตหรือการสิ้นชีวิตของพวกมันก็มีความสำคัญและเกี่ยวพันกับการดำรงอยู่ของมนุษย์และสังคม

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ชัชชล อัจนากิตติ

หัวเรื่องอิสระ: ชาติพันธุ์นิพนธ์, หลากสายพันธุ์, มานุษยวิทยา

วัตถุภาวะ คือ แนวคิดที่พยายามทำความเข้าใจมิติทางสังคมและวัฒนธรรมที่พัวพันอยู่กับสรรพสิ่ง ซึ่งไม่จำเป็นต้องปรากฏเป็นรูปเป็นร่างที่จับต้องได้เสมอไป การทำความเข้าใจวัตถุภาวะยังมาพร้อมกับคำถามต่อสิ่งที่เป็น “วัตถุ” เช่น มนุษย์รับรู้ความเป็นวัตถุได้อย่างไร การดำรงอยู่ของวัตถุเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับความรู้และอำนาจอย่างไร วัตถุเป็นสื่อของความหมายต่างๆได้อย่างไร เป็นต้น

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยา, วัตถุ, วัตถุภาวะ, วัฒนธรรมทางวัตถุ

การพัวพันและความสัมพันธ์ที่ไม่หยุดนิ่งตายตัวของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ แสดงให้ว่าความเป็นมนุษย์ ทั้งตัวตน และร่างกายเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นผ่านการยึดโยงกับสิ่งมีชีวิตอื่น การเอาตัวรอดของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งจึงขึ้นอยู่กับชีวิตอื่น (mutual dependence) ด้วยเหตุนี้ การศึกษาปฏิสัมพันธ์ภายในชุมชนหลากสายพันธุ์ในประเด็นที่ว่าด้วยการใส่ใจดูแล คำถามที่ว่า เหตุใด? เราถึงต้องใส่ใจดูแล และเราจะดูแลกันและกันอย่างไร? จึงกลายเป็นคำถามพื้นฐานที่เรียกร้องให้มนุษย์หันมาสนใจภาคปฏิบัติการ

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ชัชชล อัจนากิตติ

หัวเรื่องอิสระ: มนุษย์, สิ่งมีชีวิต, หลากสายพันธุ์, การดูแล