แนวคิด superorganic หมายถึงแบบแผนโครงสร้างสังคมที่ยึดโยงให้องค์ประกอบหรือหน่วยย่อยๆทางสังคมดำรงอยู่ได้ คำว่า superorganic เป็นคำที่เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์บัญญัติขึ้นมา เพื่อที่จะอธิบายวิวัฒนาการของสังคม โดยแยกประเภทสังคมเป็น 3 ระดับ คือ ระดับที่หนึ่งเรียกว่า inorganic ระดับที่สองเรียกว่า organic และระดับที่สามคือ superorganic สังคมระดับที่สามคือสังคมที่สมบูรณ์แบบเต็มไปด้วยปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งจะมีทั้งการกระทำของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
โครงสร้างของปฏิสัมพันธ์
เกษตรกรรมแบบเลี้ยงตัวเอง หมายถึง การเพาะปลูกที่ลงทุนต่ำ และเป็นการผลิตเพื่อเลี้ยงคนในครัวเรือน หรือชุมชน การเลี้ยงตัวเองคือการให้ความสนใจต่อสังคม ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติ
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
เกษตรกรรมแบบเลี้ยงตัวเอง
Swidden Agriculture หมายถึง เกษตรกรรมแบบถางโค่นและเผาป่า หรือบางครั้งเรียกว่า Slash-and-burn เกษตรกรรมแบบนี้ใช้เครื่องมือง่ายๆในการโค่นและเผาป่า เช่น ขวาน และจอบ เกษตรกรรมแบบโค่นป่าจำเป็นต้องใช้ไฟในการเตรียมพื้นที่เพาะปลูก
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
เกษตรกรรมแบบโค่นและเผาป่า
แนวคิดเกี่ยวกับระบบสัญลักษณ์ เป็นประเด็นที่สำคัญในทางมานุษยวิทยา เนื่องจากมีส่วนในการอธิบายทฤษฎีเกี่ยวกับวัฒนธรรม สัญลักษณ์เป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ในการที่จะสร้างระบบความหมายต่างๆให้กับโลกและธรรมชาติ
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยาสัญลักษณ์
ในแวดวงมานุษยวิทยาซึ่งใช้วิธีการศึกษาแบบการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและเข้าไปคลุกคลีกับกลุ่มคนที่ถูกศึกษาเป็นเวลานานนำไปสู่ความสนใจเรื่องความรู้สึกที่นักมานุษยวิทยามีต่อสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในพื้นที่ศึกษา สิ่งนี้นำไปสู่ระเบียบวิธีวิจัยที่เรียกว่า วิธีวิทยาแห่งผัสสะ (sensory methodology) ซึ่งใช้ความรู้สึกเป็นเครื่องมือเพื่อแสวงหาความรู้
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยา,
ผัสสะ,
ความรู้สึก,
ประสบการณ์
ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง หมายถึง สังคมที่มีกลไกที่หลบซ่อนที่ทำให้คนบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงสิทธิและโอกาสที่จะทำให้ชีวิตมีคุณภาพได้เท่าเทียมกับคนกลุ่มอื่น กลไกเหล่านี้จะเกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งในกฎระเบียบทางกฎหมาย มาตรการ บรรทัดฐาน นโยบาย วิธีปฏิบัติที่ดำรงอยู่ในสถาบันทางการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ สาธารณสุข สวัสดิการ ศาสนา ขนบธรรมเนียมและแบบแผนทางวัฒนธรรม ซึ่งเอื้อให้คนบางกลุ่มได้เปรียบและได้ประโยชน์มากกว่าคนบางกลุ่ม
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ความรุนแรง,
โครงสร้าง,
สังคม,
ความเหลื่อมล้ำ
การศึกษาเสียงในเชิงสังคมและวัฒนธรรม คือการทำความเข้าใจปฏิบัติการของเสียงที่เกิดขึ้นในกิจกรรมต่างๆที่มนุษย์กระทำขึ้นหรืออาศัยวัตถุสิ่งของและสิ่งมีชีวิตอื่นมาประกอบสร้างเสียง ประเด็นสำคัญในการทำความเข้าใจเสียงคือการเข้าถึงการดำรงอยู่ของสิ่งต่างๆ อาจใช้เสียงและการได้ยินเป็นช่องทางสื่อสาร นอกเหนือไปจากการใช้ตา การมองเห็น การสัมผัสทางร่างกาย การลิ้มรส การดมกลิ่น การใช้โสตประสาทของมนุษย์เพื่อการรับรู้ถึงสรรพสิ่งอาจช่วยขยายความเข้าใจเกี่ยวกับตัวตนและปฏิสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ (Gershon, 2019)
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยา,
ชาติพันธุ์นิพนธ์,
เสียง,
วิธีวิทยา,
ผัสสะ
Coogan (2009) อธิบายว่าคุณลักษณะสำคัญของซุปเปอร์ฮีโร่ประกอบด้วย 3 ประการ คือ (1) ต้องมีภารกิจ (2) ต้องมีพลังวิเศษ และ (3) ต้องมีอัตลักษณ์ชัดเจน ทั้งสามคุณลักษณะนี้จะต้องวางอยู่บนหลักการที่ว่าการทำงานเพื่อประโยชน์สังคมและเสียสละ
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยา,
ซุปเปอร์ฮีโร่,
comic book,
วีรบุรุษ
Nietzsche (2006) เคยกล่าวว่าอนาคตเป็นคุณลักษณะที่ทำให้มนุษย์แยกออกจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นบนโลก กล่าวคือ เมื่อมนุษย์มองดูตัวเองในอดีต มนุษย์จะคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและคาดคะเนถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยา,
อนาคต,
เวลา,
ความเป็นไปได้
การเข้าทรงเพื่อเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์และวิญญาณของเทพเจ้าต่างๆให้เข้ามาประทับร่างของมนุษย์ เป็นปรากฎการณ์ทางวัฒนธรรมที่พบได้ทั่วโลก และเป็นความสัมพันธ์ที่เชื่อมโลกของมนุษย์เข้ากับโลกของอำนาจเหนือธรรมชาติ ซึ่งมีร่างกายของร่างทรงในฐานะเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การเชื่อมโลกสองโลกเข้าด้วยกันนี้สะท้อนให้เห็นความซับซ้อนของการดำรงอยู่ในเชิงวัตถุภาวะและเชิงอัตวิสัย
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ร่างทรง,
สิ่งศักดิ์สิทธิ์,
วิญญาณ,
อำนาจเหนือธรรมชาติ,
พิธีกรรม