การศึกษาผีและสิ่งเหนือธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องตั้งคำถามว่าสิ่งเหล่านั้นมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร แต่ควรทำความเข้าใจว่าสิ่งเหล่านั้นเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับสิ่งรอบๆตัวมันอย่างไร โดยที่มันไม่จำเป็นต้องคงรูปและมีเสถียรภาพของการดำรงอยู่ แต่ควรมองดูมันในฐานะกระบวนการทางภววิทยาที่เปลี่ยนแปรไปตามสิ่งที่มันมีปฏิสัมพันธ์
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยา,
ผี,
วิญญาณ,
ภววิทยา,
เหตุการณ์เหนือธรรมชาติ
สังคมที่มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความไว้วางใจต่อกันนั้นจะเป็นสังคมที่มีประสิทธิภาพด้านต่าง ๆ มากกว่าสังคมที่ไม่มีความไว้วางใจ ซึ่งความไว้วางใจจะเป็นตัวบรรเทาความขัดแย้งอันหลีกเลี่ยงไม่ได้ในชีวิตทางสังคม อีกทั้ง ความไว้วางใจจะก่อให้เกิดความร่วมมือและสร้างความผ่อนคลายในปฏิสัมพันธ์ของชีวิตทางสังคม
ผู้เขียน:
สัมพันธ์ วารี
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยา,
ความไว้างใจ,
การเอาใจใส่,
การพึ่งพา
Malinowski (1927) ตั้งข้อสังเกตว่ากฎการแต่งงานกับคนนนอกกลุ่มทำให้การร่วมประเวณีระหว่างญาติพี่น้องเป็นสิ่งต้องห้าม นำไปสู่บรรทัดฐานของครอบครัวที่ไม่ต้องการให้สมาชิกมีความสัมพันธ์ทางเพศ สมาชิกชายหญิงในเครือญาติเดียวกันจำเป็นต้องไปหาคู่ครองกับคนต่างสายเลือด
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ความรักร่วมสายเลือด,
ประเวณีของญาติพี่น้อง,
ความรัก,
การแต่งงาน,
ครอบครัว
Coogan (2009) อธิบายว่าคุณลักษณะสำคัญของซุปเปอร์ฮีโร่ประกอบด้วย 3 ประการ คือ (1) ต้องมีภารกิจ (2) ต้องมีพลังวิเศษ และ (3) ต้องมีอัตลักษณ์ชัดเจน ทั้งสามคุณลักษณะนี้จะต้องวางอยู่บนหลักการที่ว่าการทำงานเพื่อประโยชน์สังคมและเสียสละ
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยา,
ซุปเปอร์ฮีโร่,
comic book,
วีรบุรุษ
พืชในฐานะเป็นสิ่งมีชีวิตที่เจริญเติบโตได้ มันสามารถรับรู้สิ่งต่างๆ มีปฏิสัมพันธ์ สื่อสารกับสิ่งรอบข้าง เรียนรู้ จดจำ ประเมิน ตัดสินใจและแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมที่มันดำรงอยู่ ในสถานที่ที่พืชเติบโตและดำรงอยู่ พืชจะปรับตัวและตอบสนองกับสิ่งอื่นที่อยู่แวดล้อมตัวมัน ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยา,
พฤกษานิพนธ์,
พืช,
นิเวศวิทยา
การศึกษาแบบปรากฎการณ์วิทยาแปลกพิสดาร (alien phenomenology) พยายามทำความเข้าใจว่าวัตถุมิได้ต่างกันเพราะชื่อเรียก แต่พวกมันต่างกันเนื่องจากสิ่งที่มันเป็น ดังนั้น ไม่ควรนำเอาชื่อเรียกมาจำกัดขอบเขตของการดำรงอยู่ของวัตถุ แม้แต่วัตถุที่มีชื่อเรียกเหมือนกัน ก็ยังพบว่ามันไม่มีความเหมือนกันเลย
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ภววิทยา,
วัตถุ,
ปรากฎการณ์วิทยา,
วิธีวิทยา
Johannes Fabian (2007) ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับ “ความทรงจำ” ว่าเป็นเรื่องของ “ปฏิบัติการทางสังคม” ที่ทำให้มนุษย์ได้พบกับพรมแดนของความหมาย พรมแดนนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์กำลังพูดถึงเรื่องราวที่ถูกจดจำและการระลึกถึงสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีต
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยา,
ความทรงจำ,
ภาษา,
ความหมาย
Nietzsche (2006) เคยกล่าวว่าอนาคตเป็นคุณลักษณะที่ทำให้มนุษย์แยกออกจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นบนโลก กล่าวคือ เมื่อมนุษย์มองดูตัวเองในอดีต มนุษย์จะคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและคาดคะเนถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยา,
อนาคต,
เวลา,
ความเป็นไปได้
การเข้าทรงเพื่อเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์และวิญญาณของเทพเจ้าต่างๆให้เข้ามาประทับร่างของมนุษย์ เป็นปรากฎการณ์ทางวัฒนธรรมที่พบได้ทั่วโลก และเป็นความสัมพันธ์ที่เชื่อมโลกของมนุษย์เข้ากับโลกของอำนาจเหนือธรรมชาติ ซึ่งมีร่างกายของร่างทรงในฐานะเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การเชื่อมโลกสองโลกเข้าด้วยกันนี้สะท้อนให้เห็นความซับซ้อนของการดำรงอยู่ในเชิงวัตถุภาวะและเชิงอัตวิสัย
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ร่างทรง,
สิ่งศักดิ์สิทธิ์,
วิญญาณ,
อำนาจเหนือธรรมชาติ,
พิธีกรรม
ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 แนวคิดเรื่อง “สัมพันธบท” (Intertexuality) ได้รับความสนใจในแวดวงวิชาการอย่างกว้างขวาง ขอบเขตและเป้าหมายของแนวคิดนี้ให้ความสนใจเรื่องคำ ภาษาและเรื่องเขียนที่ปรากฎอยู่ในเรื่องเล่าต่างๆ การถกเถียงเรื่องสัมพันธบทเกิดขึ้นจากข้อสงสัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างภาษาที่มีต่อโลกภายนอกหรือการดำรงอยู่ของสิ่งต่างๆ ทั้งนี้ภาษาที่ถูกใช้เป็นตัวแทนอาจมิใช่ความหมายที่เกิดขึ้นจริง
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ตัวบท,
ภาษา,
สื่อ,
เรื่องแต่ง,
ข้อเขียน