การแยกมนุษย์ออกจากสัตว์โดยอาศัยสติปัญญาเป็นตัวกำหนด ส่งผลให้มนุษย์มีอคติต่อสัตว์ ฐานคิดนี้มาจากการแยก “ร่างกาย” กับ “จิตใจ” เป็นคู่ตรงข้าม โดยที่มนุษย์จะกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสามารถทางความคิด เป็นสัญลักษณ์ของปัญญา และถูกสถาปนาให้เป็นสายพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์ที่เรียกว่า Homo sapiens ขณะที่สัตว์จะเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีแต่ร่างกายที่ปราศจากปัญญา (Morris, 2005)
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยา,
สัตว์,
สิ่งมีชีวิต,
สายพันธุ์
Iparraguirre (2015) อธิบายว่า “เวลา” (Time) ต่างจาก “การรับรู้ถึงเวลา” (Temporality) กล่าวคือ เวลาจะหมายถึงปรากฎการณ์ของการเปลี่ยนแปลง (phenomenon of becoming) ในขณะที่การรับรู้ถึงเวลาจะหมายถึงวิธีคิดที่มนุษย์ใช้อธิบายการมีอยู่ของเวลาที่เคลื่อนไป (apprehension of becoming)
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มานุษยวิทยา,
เวลา,
สังคม,
วัฒนธรรม
นักมานุษยวิทยาที่บุกเบิกการศึกษาในประเด็นสิ่งมีชีวิตนอกโลกคือ Robert and Marcia Ascher (1962) โดยเขียนบทความเรื่อง Interstellar communication and human evolution เพื่อชี้ให้เห็นว่าการติดต่อสื่อสารกับสิ่งมีชีวิตนอกโลกอาจดูได้จากวิธีการที่มนุษย์ในอดีตใช้ติดต่อสื่อสารกัน
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
สิ่งมีชีวิตนอกโลก,
วิทยาศาสตร์,
วิวัฒนาการทางวัฒนธรรม,
การติดต่อสื่อสาร
แนวคิดเรื่อง “สภาวะรวมตัว” (Assemblage) มาจากความคิดของนักปรัชญาฝรั่งเศส คือ Gilles Deleuze และนักจิตวิเคราะห์ Félix Guattari (1980) ซึ่งเขียนหนังสือเรื่อง A Thousand Plateaus: Capitalism and Schizophrenia โดยเสนอมุมมองเกี่ยวกับ rhizomatic thought ซึ่งอธิบายลักษณะเครือข่ายที่ไม่เป็นระเบียบแบบแผน (nonlinear network) (Mussumi, 1987) เพื่อทำความเข้าใจปรากฎการณ์สังคมที่ดำเนินไปด้วยความโยงใยเชิงสัญลักษณ์ระหว่างสถาบันที่มีการใช้อำนาจ และสถานการณ์ที่สัมพันธ์กับศิลปะ วิทยาศาสตร์ และการต่อสู้ทางสังคมโดยไม่มีระเบียบหรือความเชื่อมโยงที่ชัดเจน
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
การรวมตัว,
ความไร้ระเบียบ,
การโยงใย,
เครือข่าย
นักมานุษยวิทยา ตั้งข้อสังเกตว่าประชาสังคมคือพื้นที่ชีวิต (associational life) ที่คนทุกคนเข้ามาร่วมรับรู้ถึงชะตากรรมและร่วมแรงร่วมใจเพื่อทำประโยชน์ต่อกัน (Schwartz and Pharr, 2003) ประชาสังคมในมิติของการอยู่ร่วมกันของคนทุกกลุ่ม ให้ความสำคัญกับพื้นที่สาธารณะที่อยู่นอกการควบคุมและกฎเกณฑ์ของรัฐและองค์กรทางเศรษฐกิจ พื้นที่สาธารณะนี้สร้างประสบการณ์ร่วมที่ประชาชนจะเข้ามาทำงานร่วมกัน
ผู้เขียน:
ดร.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และ ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ประชาสังคม,
ประชาธิปไตย,
พื้นที่สาธารณะ,
การเมือง,
การมีส่วนร่วม
ในความคิดของชาวตะวันตก เครื่องรางของขลังที่ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมอื่นสะท้อนความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าและวิญญาณที่ศักดิ์สิทธิ์ที่กลุ่มชนพื้นเมืองมีเก็บไว้ในบ้านและเป็นวัตถุประจำตัว ชาวตะวันตกใช้คำว่า fetish เพื่อบ่งบอกถึงวัตถุที่เป็นของบูชาโดยมีรากศัพท์มาจากภาษาโปรตุเกส (feitiço) ซึ่งหมายถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับเวทมนตร์คาถา (magical event) โดยมิได้เกี่ยวข้องกับอำนาจของเทพเจ้าแต่อย่างใด
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
เครื่องของขลัง,
ความเชื่อ,
สิ่งศักดิ์สิทธิ์,
โชคลาภ
ความหมายของ Pluriversality คือการเห็นความหลากหลายของความคิดที่มีอยู่ในสังคมต่างๆ และต้องการท้าทายล้มล้างวิธีคิดที่พยายามชี้นำและครอบงำสังคม กล่าวคือ ต้องการโอบอุ้มความคิดที่แตกต่างให้ดำเนินไปพร้อมกันโดยไม่ยกย่องหรือเชิดชูความคิดของใครหรือแบบใดเพียงหนึ่งเดียว
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
ความหลากหลาย,
การอยู่ร่วมกัน,
พหุจักรวาล,
ปฏิสัมพันธ์,
ภววิทยา,
จักรวาลวิทยา
Valentine (2007) เสนอว่าการทำความเข้าใจอารมณ์และความต้องการทางเพศ อาจต้องแสวงหาวิธีวิทยาและวิธีศึกษาใหม่ๆที่สามารถมองเห็นผัสสะและความรู้สึกที่ปรากฎอยู่ในกิจกรรมทางเพศ เนื่องจากประสบการณ์ทางร่างกายขณะมีอารมณ์ทางเพศย่อมจะถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือไม่ได้อย่างตรงไปตรงมา
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
เพศภาวะ,
เพศวิถี,
เซ็กส์,
อารมณ์ทางเพศ,
การปฏิบัติทางเพศ,
ผัสสะ,
เรือนร่าง
การศึกษาพื้นที่คือการศึกษาพรมแดนของการใช้ชีวิตทางสังคมของผู้คนที่แตกต่างหลากหลาย (Aucoin, 2017) การศึกษาดังกล่าวช่วยทำให้เกิดความเข้าใจว่ามนุษย์มีความคิดและประสบการณ์กับสภาพแวดล้อมและอาณาบริเวณอย่างไร ช่วยทำให้เห็นวิธีปฏิบัติต่อพื้นที่ในช่วงเวลาต่างๆและรูปแบบต่างๆ ซึ่งสัมพันธ์กับเงื่อนไขทางความเชื่อ กิจกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจและสุนทรียะ
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
พื้นที่,
สังคม,
สถานที่,
ภูมิประเทศ,
ปฏิบัติการทางสังคม
ในช่วงทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา นักมานุษยวิทยาในสหรัฐอเมริกาจึงเริ่มระมักระวังในการเขียนงานทางชาติพันธุ์ โดยตรวจสอบบริบททางสังคมและความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ศึกษาและผู้ถูกศึกษา ประเด็นเรื่อง “อำนาจ” ที่ซ่อนเร้นในการเขียนจึงได้รับการถกเถียงอย่างกว้างขวาง อำนาจของการเขียนจึงเป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายขนบการทำงานทางมานุษยวิทยา และวิธีตรวจสอบอำนาจแบบฟูโกต์จะถูกนำมาใช้อย่างเข้มข้น
ผู้เขียน:
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
หัวเรื่องอิสระ:
มิเชล ฟูโกต์,
อำนาจ,
ปรัชญา,
มานุษยวิทยา,
ชีวะการเมือง