คำศัพท์

A | B | C | D | E | F | G | H | I | J | K | L | M | N | O | P | Q | R | S | T | U | V | W | X | Y | Z | ทั้งหมด
แสดง 21-30 จากทั้งหมด 232 รายการ

Caste หมายถึงรูปแบบของการจัดช่วงชั้นสูงต่ำทางสังคม ซึ่งกำหนดสถานะและตำแหน่งของบุคคลตามสายเลือดและเครือญาติ ซึ่งคนในชนชั้นเดียวกันเท่านั้นที่จะแต่งงกันกันได้ รวมทั้ง แต่ละชนชั้นหรือวรรณะจะมีสถานภาพ การประกอบอาชีพ วิถีการดำเนินชีวิตในแบบของตัวเอง มีกฎระเบียบในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม โดยทั่วไปจะรู้จักกันในนาม “ชนชั้นวรรณะ”

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: ชนชั้นวรรณะ

Chiefdom หมายถึงรูปแบบการจัดระบบสังคมและการเมือง โดยมีผู้นำที่มีอำนาจเพียงคนเดียวที่ทำหน้าที่ควบคุมสั่งการคนอื่นๆที่อยู่ใต้การปกครอง ผู้นำจะมีอำนาจเบ็ดเสร็จในทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม การปกครองแบบผู้นำคนเดียวพบได้ในสังคมชนเผ่าที่มิใช่สังคมสมัยใหม่แบบตะวันตก และส่วนใหญ่จะมีการสืบทอดตำแหน่งผู้นำผ่านระบบเครือญาติ โดยผู้ที่อยู่ในตระกูลผู้นำและมีอาวุโสที่สุดจะเป็นผู้สืบทอดอำนาจ

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: การปกครองแบบผู้นำ

วัยเด็กในมุมมองทางมานุษยวิทยา คือ บุคคลที่ถูกควบคุมดูแลโดยพ่อแม่ เครือญาติ และสถาบันทางสังคมซึ่งทำให้เด็กซึมซับรับเอาความคิดความเชื่อต่างๆไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน นักมานุษยวิทยาเชื่อว่าแต่ละสังคมจะมีวิธีการเลี้ยงเด็กแตกต่างกัน รวมทั้งการนิยามความหมายเกี่ยวกับเด็กก็สัมพันธ์กับวัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณี ระบบการเมืองและเศรษฐกิจ 

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: พัฒนาการของวัยเด็ก

มานุษยวิทยาคลีนิค คือการศึกษาระบบการรักษาพยาบาลคนป่วยในวัฒนธรรมต่างๆ และดูผลกระทบทางอารมณ์ ความคิด พฤติกรรม สังคมของผู้ป่วย มีการประยุต์ใช้ความรู้ทางมานุษยวิทยาเพื่อช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยที่ต้องการคำแนะนำทางการแพทย์  

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยาคลีนิค

การศึกษามานุษยวิทยาของระบบความคิดและความรู้ที่ปรากฎอยู่ในภาษาพูด ภาษาเขียน และวัตถุทางวัฒนธรรม เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษา ความหมาย และความคิดของมนุษย์ที่แสดงออกในสังคม โดยภาษาจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารและสร้างความหมาย มนุษย์ในแต่ละวัฒนธรรมจะมีภาษาเพื่อการสื่อสาร

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยาศึกษาระบบความคิด

มานุษยวิทยาเชิงวิพากษ์ คือการวิเคราะห์ฐานความคิดและกระบวนทัศน์ที่ใช้สร้างความรู้และความจริงในวิชามานุษยวิทยา เป็นการตรวจสอบองค์ความรู้ที่นักมานุษยวิทยาสร้างขึ้น และระเบียบวิธีวิจัยที่นักมานุษยวิทยาใช้ศึกษาวัฒนธรรมต่างๆ ซึ่งนักมานุษยวิทยาที่เคยทำงานวิจัยภาคสนาม อยากจะเข้าใจสังคมของตนเองโดยอาศัยข้อมูลจากสังคมอื่น 

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: มานุษยวิทยาเชิงวิพากษ์

ในแต่ละวัฒนธรรมจะมีการให้ความหมายต่ออาการป่วยทางจิตใจและร่างกายในแบบที่แตกต่างกัน แต่ถ้าอาการป่วยเหล่านี้เกิดจากเงื่อนไขทางสังคมและวัฒนธรรม นักมานุษยวิทยาจะเรียกอาการเหล่านี้ว่า “อาการป่วยทางวัฒนธรรม”  (Cultural-Bound Syndromes หรือ culture-specific syndrome หรือ folk illness) 

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: อาการป่วยทางวัฒนธรรม

นิเวศวิทยาวัฒนธรรม คือการศึกษาการปรับตัวของมนุษย์ต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคม การปรับตัวของมนุษย์ในที่นี้หมายถึงกระบวนการที่มนุษย์ปรับสภาพร่างกาย การดำรงชีวิตและสังคมวัฒนธรรมเพื่อที่จะให้มีชีวิตรอดภายใต้สภาพแวดล้อมอย่างใดอย่างหนึ่ง 

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: นิเวศวิทยาวัฒนธรรม

การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม หมายถึง วิธีบริหารจัดการดูแลรักษาทรัพยากรหรือวัตถุทางวัฒนธรรมที่เป็นมรดกตกทอดมายาวนานของมนุษย์ เช่น ศิลปกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม โบราณสถาน รวมถึงวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เช่น คติชน  และปัจจุบันยังครอบคลุมถึงวัฒนธรรมร่วมสมัยที่เป็นผลงานสร้างสรรค์ใหม่ 

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม

ความหมายของ “วัฒนธรรม” ในทางมานุษยวิทยา คือความสามารถของมนุษย์ในการจัดระเบียบและให้ความหมายต่อประสบการณ์ในเรื่องต่างๆ และสื่อสารประสบการณ์เหล่านั้นออกไปในเชิงสัญลักษณ์เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ รวมถึงการแสดงออกทางสังคม ความคิด ความเชื่อ โลกทัศน์ สุนทรียะของมนุษย์ที่ปรากฎอยู่ในวัตถุสิ่งของ พิธีกรรม ประเพณี กฎระเบียบ ธรรมเนียมและการปฏิบัติต่างๆ 

อ่านต่อ..
ผู้เขียน: ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หัวเรื่องอิสระ: วัฒนธรรม